ซะรีบะฮ์ลุล
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
โบราณวัตถุที่ได้จากขุดค้นทางโบราณคดีที่ซะรีบะฮ์ลุลในปี 1911-1912 | |
ที่ตั้ง | อำเภอมารตัณฑ์ แคว้นไคเบอร์ ประเทศปากีสถาน |
บางส่วน | ซากพุทธศาสนสถานที่ทัขทีบะฮี และซากนครซะรีบะฮ์ลุลซึ่งอยู่เคียงกัน |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (iv) |
อ้างอิง | 140-002 |
ขึ้นทะเบียน | 1980 (สมัยที่ 4th) |
พิกัด | 34°15′19.71″N 71°57′02.48″E / 34.2554750°N 71.9506889°E |
ซะรีบะฮ์ลุล (อูรดู: سری بہلول, อักษรโรมัน: Seri Bahlol, Sahr-i Bahlol หรือ Sahri Bahlol) เป็นแหล่งโบราณคดีและเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งโบราณคดีทัขทีบะฮี อำเภอมารตัณฑ์ ประเทศปากีสถาน ห่างไป 70 กิโลเมตรจากเปศวาร์ เมืองหลวงของแคว้น
ประวัติศาสตร์
[แก้]ซะรีบะฮ์ลุลเป็นเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี 1980[1] ซากในซะรีบะฮ์ลุลเป็นซากของเมืองในป้อมปราการขนาดเล็กที่สร้างขึ้นในยุคกุษาณ[1][2] การอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่นี่เริ่มต้นโดยจอห์น มาร์แชล[3]
โบราณวัตถุที่พบในซะรีบะฮ์ลุล เช่น พระพุทธรูป ตลอดจนโบราณวัตถุอื่น ๆ เช่น รูปสลัก เหรียญกษาปณ์ เครื่องมือเครื่องใข้ และอัญมณี สามารถพบๆด้ทั่วไป[4] คนในพื้นที่ได้ทำการลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุต่าง ๆ และสร้างความเสียหายให้กับแหล่งโบราณสถานในเมือง รวมถึงยังมีพ่อค้าโบราณวัตถุคนท้องถิ่นที่หลอกลวงให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการขุดค้นอย่างผิดกฏหมาย การอนุรักษ์ต่าง ๆ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาลทั้งระดับประเทศและจากนานาชาติ[1]
ชื่อ "Seri Bahlol" มีผู้บรรยายไว้อยู่หลายรูปแบบ คนท้องถิ่นระบุว่สมาจากคำภาษาฮินดีสองคำ คือ "Sheri" (ศรี) ซึ่งเป็นคำนำหน้านามบุคคลที่ให้ความเคารพ และ "Bahlol" เป็นชื่อของผู้นำการเมืองและศาสนาในพื้นที่นี้ในอดีต หมู่บ้านซะรีบะฮ์ลุลล้อมรอบด้วยซากของกำแพงที่สร้างขึ้นในสมัยปกครองของกุษาณ[1] กำแพงดังกล่าวถูกทำลายไปหลายจุด กระนั้นยังคงสามารถเห็นได้ในหลายจุดเช่นกัน คนท้องถิ่นส่วนมากในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เกษตรกรในหมู่บ้านซะรีบะฮ์ลุลในปัจจุบัน
-
หมู่บ้านซะรีบะฮ์ลุลในปัจจุบัน
-
พระโพธิสัตว์ปางสมาธิ สลักจากหิน ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปัฏณะ
-
หินแกะสลักแสดงภาพพิธีอุปสมบทของพระนันทเถระ ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย โกลกาตา
-
พระพุทธรูปปางแสดงเทศนา ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย โกลกาตา
-
เศียรพระโพธิสัตว์ ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแซนดีเอโก
-
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เดอะเม็ต นครนิวยอร์ก
-
พระโพธิสัตว์ประทับยืน ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย โกลกาตา
-
พระพุทธรูปที่ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล
-
พระพุทธรูปประทับนั่ง ขนาบด้วยศาสนบุคคลสองคน (Buddha Triads) ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เปศวาร์[5][6][7]
-
พระพุทธรูปปางประทับนั่ง ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุลในการขุดค้นปี 1911-1912
-
“พระใหญ่” ที่ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ในการขุดค้นปี 1909
-
พระพุทธรูปที่ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เปศวาร์
-
พระพุทธรูปโลหะสัมฤทธิ์ ค้นพบที่ซะรีบะฮ์ลุล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Buddhist Ruins of Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol". Unesco. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
- ↑ Katariya, Adesh (2012). The Glorious History of Kushana Empire: Kushana Gurjar History. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ Conserving Fortified Heritage: The Proceedings of the 1st International Conference on Fortifications and World Heritage. Cambridge Scholars Publishing. 2016. ISBN 9781443896375. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ Hassan Dani, Dr: The Peshawar
- ↑ Fussman, Gérard (1974). "Documents Epigraphiques Kouchans". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 61: 54–57. doi:10.3406/befeo.1974.5193. ISSN 0336-1519. JSTOR 43732476.
- ↑ Rhi, Juhyung. Identifying Several Visual Types of Gandharan Buddha Images. Archives of Asian Art 58 (2008) (ภาษาอังกฤษ). pp. 53–56.
- ↑ The Classical Art Research Centre, University of Oxford (2018). Problems of Chronology in Gandhāran Art: Proceedings of the First International Workshop of the Gandhāra Connections Project, University of Oxford, 23rd-24th March, 2017. Archaeopress. p. 45, notes 28, 29.