ซะรีบะฮ์ลุล

พิกัด: 34°15′19.71″N 71°57′02.48″E / 34.2554750°N 71.9506889°E / 34.2554750; 71.9506889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซะรีบะฮ์ลุล
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
โบราณวัตถุที่ได้จากขุดค้นทางโบราณคดีที่ซะรีบะฮ์ลุลในปี 1911-1912
ที่ตั้งอำเภอมารตัณฑ์ แคว้นไคเบอร์ ประเทศปากีสถาน
บางส่วนซากพุทธศาสนสถานที่ทัขทีบะฮี และซากนครซะรีบะฮ์ลุลซึ่งอยู่เคียงกัน
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (iv)
อ้างอิง140-002
ขึ้นทะเบียน1980 (สมัยที่ 4)
พิกัด34°15′19.71″N 71°57′02.48″E / 34.2554750°N 71.9506889°E / 34.2554750; 71.9506889
ซะรีบะฮ์ลุลตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
ซะรีบะฮ์ลุล
ที่ตั้งซะรีบะฮ์ลุล ในประเทศปากีสถาน
ซะรีบะฮ์ลุลตั้งอยู่ในคันธาระ
ซะรีบะฮ์ลุล
ซะรีบะฮ์ลุล (คันธาระ)
ซะรีบะฮ์ลุลตั้งอยู่ในเอเชียใต้
ซะรีบะฮ์ลุล
ซะรีบะฮ์ลุล (เอเชียใต้)

ซะรีบะฮ์ลุล (อูรดู: سری بہلول, อักษรโรมัน: Seri Bahlol, Sahr-i Bahlol หรือ Sahri Bahlol) เป็นแหล่งโบราณคดีและเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งโบราณคดีทัขทีบะฮี อำเภอมารตัณฑ์ ประเทศปากีสถาน ห่างไป 70 กิโลเมตรจากเปศวาร์ เมืองหลวงของแคว้น

ประวัติศาสตร์[แก้]

ซะรีบะฮ์ลุลเป็นเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี 1980[1] ซากในซะรีบะฮ์ลุลเป็นซากของเมืองในป้อมปราการขนาดเล็กที่สร้างขึ้นในยุคกุษาณ[1][2] การอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่นี่เริ่มต้นโดยจอห์น มาร์แชล[3]

โบราณวัตถุที่พบในซะรีบะฮ์ลุล เช่น พระพุทธรูป ตลอดจนโบราณวัตถุอื่น ๆ เช่น รูปสลัก เหรียญกษาปณ์ เครื่องมือเครื่องใข้ และอัญมณี สามารถพบๆด้ทั่วไป[4] คนในพื้นที่ได้ทำการลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุต่าง ๆ และสร้างความเสียหายให้กับแหล่งโบราณสถานในเมือง รวมถึงยังมีพ่อค้าโบราณวัตถุคนท้องถิ่นที่หลอกลวงให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการขุดค้นอย่างผิดกฏหมาย การอนุรักษ์ต่าง ๆ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาลทั้งระดับประเทศและจากนานาชาติ[1]

ชื่อ "Seri Bahlol" มีผู้บรรยายไว้อยู่หลายรูปแบบ คนท้องถิ่นระบุว่สมาจากคำภาษาฮินดีสองคำ คือ "Sheri" (ศรี) ซึ่งเป็นคำนำหน้านามบุคคลที่ให้ความเคารพ และ "Bahlol" เป็นชื่อของผู้นำการเมืองและศาสนาในพื้นที่นี้ในอดีต หมู่บ้านซะรีบะฮ์ลุลล้อมรอบด้วยซากของกำแพงที่สร้างขึ้นในสมัยปกครองของกุษาณ[1] กำแพงดังกล่าวถูกทำลายไปหลายจุด กระนั้นยังคงสามารถเห็นได้ในหลายจุดเช่นกัน คนท้องถิ่นส่วนมากในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Buddhist Ruins of Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol". Unesco. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
  2. Katariya, Adesh (2012). The Glorious History of Kushana Empire: Kushana Gurjar History. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  3. Conserving Fortified Heritage: The Proceedings of the 1st International Conference on Fortifications and World Heritage. Cambridge Scholars Publishing. 2016. ISBN 9781443896375. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  4. Hassan Dani, Dr: The Peshawar
  5. Fussman, Gérard (1974). "Documents Epigraphiques Kouchans". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 61: 54–57. doi:10.3406/befeo.1974.5193. ISSN 0336-1519. JSTOR 43732476.
  6. Rhi, Juhyung. Identifying Several Visual Types of Gandharan Buddha Images. Archives of Asian Art 58 (2008) (ภาษาอังกฤษ). pp. 53–56.
  7. The Classical Art Research Centre, University of Oxford (2018). Problems of Chronology in Gandhāran Art: Proceedings of the First International Workshop of the Gandhāra Connections Project, University of Oxford, 23rd-24th March, 2017. Archaeopress. p. 45, notes 28, 29.