ชูเช
ชูเช (เกาหลี: 주체; ฮันจา: 主體) ปกติแปลว่า "การพึ่งตนเอง" เป็นถ้อยแถลงทางการเมืองโดย คิม อิล-ซ็อง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งกล่าวว่า มวลชนชาวเกาหลีเป็นนายแห่งการพัฒนาประเทศ นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 คิมและนักทฤษฎีอื่นของพรรค เช่น ฮวัง จัง-ย็อบ เสริมแต่งความคิดชูเชเป็นชุดหลักการซึ่งรัฐบาลใช้อ้างเหตุผลการตัดสินใจนโยบาย ในบรรดานโยบายเหล่านั้น ได้แก่ ทัศนคติทหารเข้มแข็งและการพึ่งพาทรัพยากรของชาติเกาหลี ชูเชถูกกล่าวหาว่าเป็นศาสนาการเมืองแม้เกาหลีเหนือเป็นอเทวนิยมโดยรัฐ (state atheism) อย่างเป็นทางการ
ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนัก ส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีเหนือถดถอยลง รัฐบาลก็ประกาศให้ใช้ชูเชแบบเข้มข้นขึ้น
ประวัติ
[แก้]ต้นกำเนิด
[แก้]ชูเช | |
โชซ็อนกึล | 주체사상 |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Juche sasang |
เอ็มอาร์ | Chuch'e sasang |
ชูเช เป็นคำศัพท์จีน-เกาหลีที่ยากจะแปล ตามตัวอักษรมันหมายถึง "อัตวิสัย" หรือ "ตัวแทน" และในวาทกรรมทางการเมืองมีความหมายโดยนัยของ "การพึ่งพาตัวเอง" และ "ความเป็นอิสระ"[1][2] การอ้างอิงแรกที่เป็นที่รู้จักของชูเชในฐานะอุดมการของเกาหลีเหนือคือคำปราศรัยกล่าวโดยคิม อิล-ซ็องเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม คริสศักราช 1955 หัวข้อว่า "บนการกำจัดลัทธิและความเป็นพิธีและการสถาปนา "ชูเช" ในงานทางอุดมการณ์" ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการกวาดล้างทางการเมืองซึ่งคล้ายกับขบวนการสัตยาบันหยานอันที่มามาก่อนในจีน[3]
ฮวัง จัง-ย็อบ ผู้เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของคิมในด้านอุดมการณ์ ได้ค้นพบถ้อยแถลงของคิมเมื่อคริสต์ศักราช 1955 ในเวลาที่คิมได้สถาปนาลัทธิบูชาบุคคล[4]ได้ค้นหาเพื่อจะพัฒนาลัทธิมากซ์–เลนินแบบของเขาเองให้เขากับหลักความเชื่อของเกาหลีเหนือ[5][6] เหมือนกับลัทธิมากซ์–เลนิน อุดมการณ์ ชูเช นำเอาอเทวนิยมโดยรัฐมาใช้ด้วย[7] แหล่งข่าวชาวเกาหลีเหนือเสนอว่าต้นกำเนินของ "ชูเช" เป็นผลจากคำแถลงของคิม อิล-ซ็องในวันที่ 30 มิถุนายน คริสต์ศักราช 1930[8]
พัฒนาการ
[แก้]ในการปราศรัย ค.ศ. 1955 ของเขา ชูเช ถูกอ้างถึงเป็นครั้งแรก คิม อิล-ซ็องได้แถลงว่า [9]: 421 : 422
เพื่อที่จะปฏิวัติเกาหลี เราต้องรู้ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของเกาหลี รวมทั้งจารีตประเพณีของประชาชนเกาหลี เมื่อนั้นการให้การศึกษาประชาชนในทางที่เหมาะสมกับพวกเขาและเพื่อสร้างบันดาลใจให้ความรักในบ้านเกิดของพวกเขาและแผ่นดินแม่ของพวกเขาในหมู่พวกเขาได้ลุกโชนขึ้นก็จะเป็นไปได้
ถ้อยแถลงมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลี ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ของประชาชนเกาหลีจะ"กระตุ้นควาามภูมิใจในชาติและและกระตุ้นมวลชนในวงกว้างที่จะต่อสู้เพื่อการปฏิวัติ" เน้นที่เหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมาและวิธีป้องกันผลลัพธ์บางประการ การต่อสู้ได้รับการจดจำ การไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่ผ่านมาของพวก หรือปฏิเสธมันจะหมายถึง "ว่าประชาชนไม่ได้ทำอะไร"
ในถ้อยแถลง "ว่าด้วยการก่อสร้างแบบสังคมนิยมและการปฏิวัติเกาหลีในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" กล่าวเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1965 คิม อิล-ซ็องได้วางโครงร่างหลักการพื้นฐานของชูเชดังนี้:
- ความเป็นอิสระทางการเมือง (เกาหลี: 자주; ฮันจา: 自主; อาร์อาร์: jaju; เอ็มอาร์: chaju)
- การเลี้ยงดูตนเองทางเศรษฐกิจ (เกาหลี: 자립; ฮันจา: 自立; อาร์อาร์: jarip; เอ็มอาร์: charip)
- การพึ่งพาตนเองในการป้องกันประเทศ (เกาหลี: 자위; ฮันจา: 自衛; อาร์อาร์: jawi; เอ็มอาร์: chawi)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cumings 1997, pp. 207, 403–404.
- ↑ Abt 2014, pp. 73–74.
- ↑ 高麗大學校亞細亞問題硏究所 (1970). Journal of Asiatic Studies. 13 (3–4): 63.
{{cite journal}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Choe, Yong-ho., Lee, Peter H., and de Barry, Wm. Theodore., eds. Sources of Korean Tradition, Chichester, NY: Columbia University Press, p. 419, 2000.
- ↑ Becker, Jasper (2005). Rogue Regime: Kim Jong Il and the Looming Threat of North Korea. New York City: Oxford University Press. ISBN 0-19-517044-X.
- ↑ French, Paul. North Korea: The Paranoid Peninsula – A Modern History.2nd ed. New York: Zed Books, 2007. 30. Print.
- ↑ Williamson, Kevin. The Politically Incorrect Guide to Socialism. Regnery Publishing. 2010. p128.
- ↑ Hyung-chan Kim and Tong-gyu Kim. Human Remolding in North Korea: A Social History of Education. Lanham, MD: University Press of America. 2005. p. 10.
- ↑ Cumings, Bruce (2005). Korea's Place in the Sun: a Modern History. New York: W.W. Norton.