ข้ามไปเนื้อหา

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูปิเตอร์
เทพแห่งท้องฟ้า และสายฟ้า
เทวรูปจูปิเตอร์ที่สลักกับหินอ่อน ป.ค.ศ.100
ชื่ออื่นโจฟ
เป็นที่บูชาใน
ที่ประทับโรม
สัญลักษณ์สายฟ้า, อินทรี, ต้นโอ๊ก
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองจูโน
บุตร - ธิดามาร์ส, วัลเคน, เบลโลนา, จูเวนตัส
บิดา-มารดาแซตเทิร์นกับโอปส์[ต้องการอ้างอิง]
พี่น้องวัฒนธรรมโรมัน: จูโน, เซเรส, เวสตา
กรีก-โรมัน: พลูโต และเนปจูน
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกซูส
“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811

จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ

ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก

ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญลักษณ์รูปของเฮอร์มีสมาภายใต้พระนาม Jupiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็น อิทรัสคัน

อ้างอิง

[แก้]