จักรพรรดิออรังเซพ
จักรพรรดิออรังเซพ | |
---|---|
จักรพรรดิเเห่งจักรวรรดิโมกุล | |
รัชสมัย | 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1658 - 3 มีนาคม ค.ศ. 1707 |
ราชาภิเษก | 15 มิถุนายน ค.ศ. 1659, ป้อมแดง, เมืองเดลี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระจักรพรรดิบาฮาดูร์ชาห์ |
พระราชสมภพ | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1618 เมืองดาฮอด |
สวรรคต | 3 มีนาคม ค.ศ. 1707 เมืองอัดเมดาการ์ |
พระอัครมเหสี | ดิลราส บานู เบกุม นะวาบ บัย ออรังกาบาดี มาฮาล |
พระราชบุตร | เซบ อุน นิสซา ศินัต อุน นิสซา มูฮัมมัด อาซัม ชาห์ เมห์ อุน นิสซา สุลต่าน มูฮัมมัด อักบัร มูฮัมมัด สุลต่าน บาฮาดูร์ ชาห์ บาดห์ อุร นิสซา ซุบดัท อุน นิสซา มูฮัมมัด คัม บักช์ |
อาบุล มูซัฟฟาร์ มูฮี-อุด-ดิน โมฮัมมัด ออรังเซพ | |
ราชวงศ์ | ตีมูร์ |
พระราชบิดา | สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน |
พระราชมารดา | มุมตาซ มหัล |
อาบุล มูซัฟฟาร์ มูฮี-อุด-ดิน โมฮัมมัด ออรังเซพ หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิออรังเซพ (เปอร์เซีย: اورنگ زیب عالمگیر, อักษรโรมัน: Auraŋg-Zēb ʿĀlamgīr; อูรดู: اورنگزیب عالمگیر, Auraŋgzēb ʿĀlamgīr, เสียงอ่านภาษาอูรดู: [ɔːrəŋgzeːb ɑːləmgiːr], ราชสมภพ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1618 - สวรรคต 3 มีนาคม ค.ศ. 1707) ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปีค.ศ. 1658 เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียเกือบทั้งหมด รัชสมัยของพระองค์นั้นกินเวลายาวนานถึง 49 ปีตั้งแต่ปีค.ศ. 1658 จนสวรรคตในปีค.ศ. 1707 ทรงเป็นจักรพรรดิผู้บุกเบิกและขยายอาณาจักร และยังเป็นจักรพรรดิที่มั่งคั่งที่สุดในรางวงศ์โมกุลด้วยบรรณาการรวมมูลค่า £38,624,680 ต่อปี (ในปีค.ศ. 1690) นอกจากนี้ยังมีชัยเหนืออาณาจักรทางตอนใต้ทำให้จักรวรรดิโมกุลนั้นมีขนาดถึง 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร และประชากรในปกครองประมาณ 100-150 ล้านคน[1]
พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ซึ่งนโยบายให้เสรีทางการนับถือศาสนาของจักรพรรดิองค์ก่อนได้ถูกยกเลิกไป พระองค์ยังทรงเป็นผู้มีปรีชาสามารถในการปกครองอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาภายหลังจากการสวรรคตของพระองค์เป็นจุดตกต่ำของจักรวรรดิโมกุล ซึ่งต่อมาได้ลดบทบาทความยิ่งใหญ่ลงในทวีปแห่งนี้อย่างรวดเร็ว[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bayly, C. A. (1987). Indian society and the making of the British Empire. Cambridge [Cambridgeshire]: Cambridge University Press. ISBN 9780521386500.
- ↑ Schimmel, Annemarie (2004). The empire of the great Mughals : history, art and culture. London. ISBN 978-1-86189-185-3.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992). Architecture of Mughal India. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26728-1.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Hansen, Waldemar (1986) [1972 (Holt, Rinehart, Winston)]. The Peacock Throne: The Drama of Mogul India (Second ed.). Motilal Banarsidass. ISBN 9788120802254.
- Eraly, Abraham (2007). The Mughal world. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 9780297852094.
- A Short History of Pakistan, Dr. Ishtiaque Hussain Qureshi, University of Karachi Press.
- Delhi, Khushwant Singh, Penguin USA, Open Market Ed edition, 5 February 2000. (ISBN 0-14-012619-8)
- Muḥammad Bakhtāvar Khān. Mir'at al-'Alam: History of Emperor Awangzeb Alamgir. Trans. Sajida Alvi. Lahore: Idārah-ʾi Taḥqīqāt-i Pākistan, 1979.
- Khan, Khafi (2006) [1718]. Hashim, Muhammad (บ.ก.). Muntakhab-ul Lubab. Pakistan: Sang-e-Meel Publications.
- Kruijtzer, Gijs (2009). Xenophobia in Seventeenth-century India (PDF). Leiden University Press. ISBN 9789087280680.