จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน พระพันปีหลวง
เซี่ยวฉุนหวงไท่โฮ่ว | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระพันปีหลวง | |||||||||
หวงไท่โฮ่วแห่งจักรวรรดิหมิง (大明皇太后) | |||||||||
สถาปนา | ค.ศ. 1627 | ||||||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 1588 จังหวัดไห่ (海州) | ||||||||
สวรรคต | ค.ศ. 1615 (27 พรรษา) | ||||||||
ฝังพระบรมศพ | สุสานหลวงหมิงชิง (明庆陵) | ||||||||
คู่อภิเษก | จักรพรรดิไท่ชาง | ||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิฉงเจิน | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิงโดยการอภิเษกสมรส | ||||||||
พระบิดา | หลิว อิงหยวน (劉應元) | ||||||||
พระมารดา | อิ๋งกั๋วไท่ฟูเหรินตระกูลซวี (瀛国太夫人徐氏) |
เซี่ยวฉุนหวงไท่โฮ่ว (จีน: 孝純皇太后; พินอิน: Xiàochún huáng tàihòu, ค.ศ. 1588–1615) จากตระกูลหลิว เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิไท่ชางแห่งราชวงศ์หมิง และเป็นพระราชชนนีในจักรพรรดิฉงเจิ้น
พระราชประวัติ
[แก้]หลิวฮองไทเฮาได้เข้ารับคัดเลือกเป็นนางสนมระดับล่าง หลิวซูหนี่ว์ ( จีน :劉淑女; พินอิน : Liú shūnǚ ) ของ จู ฉางลั่ว เมื่อครั้งยังเป็นหวงไท่จื่อ
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1611 หลิวฮองไทเฮาทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสนามว่า จู โหยวเจี้ยน และในปี ค.ศ. 1615 หวงไท่จื่อจูฉางลั่วโกรธเคืองกับหลิวฮองไทเฮา จึงทรงมีพระราชบัณฑูร ให้ลงพระอาญาหลิวฮองไทเฮาซึ่งถึงจุดนั้นหลิวฮองไทเฮาก็ถูกประหาร เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าหวงไท่จื่อจูฉางลั่วมีพระบัณฑูรให้ประหารหลิวฮองไทเฮาหรือเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยในขณะที่พระนางถูกลงพระอาญาทางวินัย
หวงไท่จื่อจูฉางลั่วเกรงกลัวต่อการตำหนิของสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่พระบรมชนกนาถ เพราะพระองค์เป็นต้นเหตุการสิ้นชีพของ"หลิวซูหนี่ว์" สมเด็จเจ้าฟ้าชายจู ฉางหลัวมกุฎราชกุมาร จึงห้ามไม่ให้นางกำนัลขันทีในพระราชวังกล่าวถึงเรื่องนี้อีก และได้นำพระศพของ"หลิวซูหนี่ว์"ไปฝังไว้ที่ จินซาน(จีน: 金山; พินอิน: Jīnshān)เนินเขาทางตะวันตกด้วยความเร่งรีบ
เมื่อ จักรพรรดิเทียนฉี่ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระชนกนาถในปี ค.ศ. 1620 จู โหยวเจี้ยน ได้ทูลขอให้พระบรมเชษฐาได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าสถาปนา หลิวซูหนี่ว์ ให้มีพระอิสริยยศที่พระมเหสีเซียนเฟย ( จีน :賢妃)
จู โหยวเจี้ยน เติบโตขึ้นได้อาศัยอยู่ในวังชวีฉิน (จีน: 勗勤宮; พินอิน: Xù qín gōng) ในวันหนึ่งพระองค์ได้ตรัสถามบ่าวรับใช้ว่า: "มีสุสานของ เซินหยีหวาง (จีน: 申懿王; พินอิน: Shēn yìwáng) ในซีอานหรือไม่" บ่าวรับใช้ตอบว่า: "มี" พระองค์ตรัสถามอีกว่า: "มีหลุมฝังพระศพของพระนางหลิวพระชนนีของข้าอยู่ใกล้ ๆ หรือไม่" บ่าวรับใช้ตอบว่า: "มี" ดังนั้น จู โหยวเจี้ยน จึงได้แอบให้เงินแก่บ่าวรับใช้ของเขาและขอให้เขาไปสักการะและทำความสะอาดสุสานฝังพระศพของ"หลิวซูหนี่ว์"ผู้เป็นพระชนนี
เมื่อจู โหยวเจี้ยน ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ ในปี ค.ศ. 1627 พระองค์ได้สถาปนาพระบรมชนนีเป็น 皇太后
ที่มาของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์
[แก้]เนื่องจากจักรพรรดิฉงเจิ้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาในขณะที่พระราชชนนีสวรรคต เมื่อพระองค์เสด็จครองราชย์จึงมีความปรารถนาที่อยากจะทรงทอดพระเนตรพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระราชชนนี พระองค์จึงทรงมีพระราชบัญชาให้ค้นหาแต่ก็ล้มเหลว ต่อมาเมื่อ"ฟู่ อี้เฟย"(จีน: 傅懿妃; พินอิน: Fùyìfēi)พระมเหสีผู้ทรงเคยเป็นพระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิไทชางร่วมกับหลิวไท่โฮ่ว เมื่อตอนที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารและเคยอาศัยอยู่ในพระตำหนักใกล้กันกับหลิวไท่โฮ่ว พระมเหสีฟู่อี้ได้มีพระเสาวนีย์ให้ค้นหานางกำนัลในวังที่มีลักษณะดูคล้ายกับหลิวไท่โฮ่วเพื่อเป็นต้นแบบภาพ และได้มอบให้นางสวี่พระชนนีของหลิวไท่โฮ่ว เป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำในการจัดทำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ภาพเสมือนก็ถูกนำผ่านเข้ามาในพระราชวังทางประตูเจิ้งหยาง(จีน: 正陽門; พินอิน: Zhèngyáng mén)สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจิ้นทรงคุกเข่าสักการะพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว และได้นำไปแขวนไว้ในพระราชวัง พระองค์ได้เรียกนางกำนัลอาวุโสมาตรัสถามว่าพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์นี้เหมือนหลิวไท่โฮ่วหรือไม่ เมื่อนางกำนัลอาวุโสเห็นก็ได้ร้องไห้ออกมา สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจินเห็นดังนั่นก็ทรงพระกรรแสงยิ่งถึงหลิวไท่โฮ่วพระราชชนนีผู้ล่วงลับ
พระราชอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน พระพันปีหลวง | |
---|---|
การทูล | หวงไท่โฮ่วเหนียงเหนียง (皇太后娘娘) |
การขานรับ | ซื่อหวงไท่โฮ่ว (是皇太后) |
- ในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่(ค.ศ. 1572–1620):
- ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิเทียนฉี
- ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิฉงเจิน
อ้างอิง
[แก้]จาง ติงหยู เอ็ด (1739) "《明史》卷一百十四 列传第二" [ประวัติศาสตร์หมิง เล่มที่ 114 ชีวประวัติประวัติศาสตร์ 2] ลี่ซี่ชุนชิวเน็ต (ภาษาจีน) ลี่ซี ชุนชิว. สืบค้นเมื่อ22 มิถุนายน 2560 .