ข้ามไปเนื้อหา

งูอนาคอนดาเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูอนาคอนดาเหลือง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Boidae
วงศ์ย่อย: Boinae
สกุล: Eunectes
สปีชีส์: E.  notaeus
ชื่อทวินาม
Eunectes notaeus
Cope, 1862
ชื่อพ้อง
  • Eunectes notaeus Cope, 1862
  • Eunectes notaeus Boulenger, 1896
  • Epicrates wieningeri
    Steindachner, 1903
  • Eunectes notaeus – Henderson, Micucci, Puorto & Bourgeois, 1995[1]

งูอนาคอนดาเหลือง (อังกฤษ: Yellow anaconda; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eunectes notaeus) เป็นงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกงูอนาคอนดา จัดอยู่ในวงศ์งูโบอา (Boidae)

มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร นับว่าน้อยกว่างูอนาคอนดาเขียว (E. murinus) มาก แต่ก็มีตัวเมียที่ใหญ่ได้ถึง 6.3 เมตร พบในอาร์เจนตินา[2] น้ำหนักโดยเฉลี่ย 25-35 กิโลกรัม (55-77 ปอนด์) ตัวใหญ่อาจมีน้ำหนักได้ถึง 40-55 กิโลกรัม (88-120 ปอนด์) หรือมากกว่านั้น มีลวดลายบนลำตัวเป็นจุดวงกลมสีดำ และมีลายด้านข้างเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายปนไปบนพื้นสีเหลือง[3][4]

พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดและพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ของทวีปอเมริกาใต้ ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก งูอนาคอนดาเหลืองเมื่อจะผสมพันธุ์ ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกตัวผู้ โดยการปล่อยฟีโรโมนออกมาดึงดูดตัวผู้ การผสมพันธุ์ของงูอนาคอนดาเหลือง จะเริ่มด้วยตัวผู้คลานไต่ตามลำตัวของตัวเมีย และจะปล่อยเดือยแหลมจากเกล็ดใต้ท้องเป็นการสะกิดเตือนตัวเมีย ก่อนที่อวัยวะเพศของตัวผู้ที่มีปลายเป็นแฉกจะยื่นออกมาเพียงเวลาเพียงไม่นานเพื่อปล่้อยสเปิร์ม แต่การผสมพันธุ์อาจใช้เวลานานถึง 9 ชั่วโมง[2]

ตัวเมียตั้งท้องนาน 5 เดือน และออกลูกเป็นตัว โดยครั้งหนึ่งจะได้ลูกมากถึง 40 ตัว โดยในไข่จะมีน้ำคร่ำช่วยพยุงตัวลูกงูให้อยู่ได้ และไข่ที่ไม่ฟักเป็นตัวจะถูกปล่อยออกมาด้วย รวมถึงลูกงูตัวที่ตายตั้งแต่อยู่ในท้อง ลูกงูในระยะแรกจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้พลังงานจากถุงไข่แดงที่ติดตัวออกมา จากนั้นจะกินอาหารด้วยการเริ่มจากสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ก่อน เช่น แมลง โดยที่แม่งูจะไม่เลี้ยงดู ซึ่งลูกงูอนาคอนดาเหลืองในวัยอ่อนมีโอกาสอย่างมากที่จะตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น นกกินปลาต่าง ๆ รวมถึงจระเข้ไคแมน เป็นต้น[2]

ปัจจุบัน งูอนาคอนดาเหลืองสามารถที่จะแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยงแล้ว[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. 2.0 2.1 2.2 Animal Planet Showcase. สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต, ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 5 มกราคม 2556
  3. What Is a Yellow Anaconda? Wisegeek.com. Retrieved on 2012-08-22.
  4. Mendez M, Waller T, Micucci P, Alvarenga E, and Morales JC (2007). Genetic population structure of the yellow anaconda (Eunectes notaeus) in Northern Argentina: management implications[ลิงก์เสีย]. In: Biology of the Boas and Pythons, Robert W. Henderson and Robert Powell (eds) pp. 405–415. Eagle Mountain Publishing, LC ISBN 0972015434.
  5. Mehrtens JM. 1987. Living Snakes of the World in Color. New York: Sterling Publishers. ISBN 0-8069-6460-X.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Eunectes notaeus ที่วิกิสปีชีส์