งบดุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งบดุล เป็นงบการเงินแสดงฐานะของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (วันสิ้นงวดบัญชี) โดยจัดทำขึ้นทุกๆ รอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี งบดุลแสดงความสัมพันธ์ของทรัพย์สิน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ สมการบัญชี (Accounting Equation) สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

ปัจจุบัน กรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดให้บริษัทจัดทะเบียนใช้ "งบแสดงฐานะการเงิน" (statement of financial position) แทนการใช้งบดุล รวมถึงหน่วยงานราชการด้วย

โครงสร้างของงบดุล[แก้]

โครงสร้างของงบดุลโดยทั่วไปจะแยกแสดงรายการต่างๆ ดังนี้

  • สินทรัพย์ จะแสดงรายการเรียงลำดับจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดไปยังสภาพคล่องต่ำสุด
  • หนี้สิน จะแสดงรายการเรียงลำดับจากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระคืนก่อนไปยังหนี้สินระยะยาว
  • ส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดงรายการเรียงลำดับจากทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และ กำไรสะสม

ตัวอย่างงบดุลของบริษัทมหาชนโดยทั่วไป

บริษัท กขค จำกัด (มหาชน)
งบดุล (หรือแสดงฐานะการเงิน)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25XX

สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ
ค่าความนิยม
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ๆ

รวมสินทรัพย์


หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน
เจ้าหนี้การค้า
ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
หนี้สินหมุนเวียนอื่น ๆ
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิ
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ๆ
รวมหนี้สิน
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
กำไรสะสม
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

ตัวอย่างวิธีการสร้างงบดุล[แก้]

1.1 นายนัท ลงทุนเปิดบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ซื่อตรง จำกัด เพื่อทำธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ โดยนำเงินสด 2,000,000 บาท ไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้เป็นเงินทุนเริ่มแรก รายการนี้มีผลกระทบกับงบดุลดังนี้

สินทรัพย์
เงินในบัญชีธนาคาร                          2,000,000

ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000

1.2 จากนั้นได้ซื้ออาคารพาณิชย์ราคา 1,000,000 บาท โดยวางเงินดาวน์ 20% ที่เหลือผ่อนกับธนาคารเป็นเวลา 10 ปี

สินทรัพย์
เงินในบัญชีธนาคาร                          1,800,000
อาคาร                                         1,000,000

หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000

1.3 ซื้อเครื่องต้มกาแฟ เครื่องอบขนมปัง และอุปกรณ์ตกแต่งร้าน เป็นเงิน 500,000 บาท

สินทรัพย์
เงินในบัญชีธนาคาร                          1,300,000
อาคาร                                          1,000,000
อุปกรณ์                                            500,000

หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000

1.4 ซื้อวัตถุดิบ เช่น เมล็ดกาแฟ นมสด แป้งขนมปัง น้ำตาล เป็นเงิน 100,000 บาท โดยได้รับเครดิต 30 วัน

สินทรัพย์
เงินในบัญชีธนาคาร                          1,300,000
อาคาร                                          1,000,000
อุปกรณ์                                            500,000
สินค้าคงเหลือ                                     100,000

หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000 เจ้าหนี้การค้า 100,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000

1.5 นำรายการทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่จะได้งบดุลดังนี้

บริษัท ซื่อตรง จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ .....

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินในบัญชีธนาคาร 1,300,000 สินค้าคงเหลือ 100,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,500,000 ----------------------------------- รวมสินทรัพย์ 2,900,000 ===================================
หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 100,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000 ----------------------------------- รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 2,900,000 ===================================

ดูเพิ่ม[แก้]