ค่าความรู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าความรู้ (อังกฤษ: The Cost of Knowledge) เป็นการประท้วงโดยนักวิชาการต่อหลักปฏิบัติทางธุรกิจของสำนักพิมพ์วารสารวิชาการชื่อว่าแอ็ลเซอเฟียร์ ด้วยหลายเหตุผล โดยหลักแล้วเน้นไปที่การเรียกร้องให้วารสารปรับลดราคาลง รวมไปถึงรณรงค์ให้เพิ่มการเข้าถึงแบบข้อมูลเปิด งานหลักของโปรเจกต์นี้คือการขอให้นักวิจัยเซ็นคำแถลงว่าจะไม่สนับสนุนวารสารจากแอ็ลเซอเฟียร์ ไม่ว่าจะเป็นการตีพิมพ์ ทำการตรวจสอบแบบเสรี หรือให้บริการทางบรรณาธิการแก่วารสารเหล่านี้

ประวัติ[แก้]

ก่อนการเกิดของอินเทอร์เน็ต การกระจายบทความซึ่งรายงานผลของงานวิจัยนั้นมีความลำบาก[1] ในอดีต สำนักพิมพ์ให้การบริการหลายอย่าง เช่น การพิสูจน์อักษร การเรียงพิมพ์ การปรับปรุงต้นฉบับ การพิมพ์ และการแจกจ่ายทั่วโลก[1] ในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยทุกคนถูกคาดหวังให้ส่งสำเนาดิจิทัลของผลงานที่ผ่านการดำเนินการโดยสมบูรณ์แล้วแก่สำนักพิมพ์ เรียกได้ว่านักวิชาการสมัยนี้ถูกคาดหวังให้ทำงานที่เคยเป็นงานและค่าใช้จ่ายของสำนักพิมพ์ โดยไม่มีค่าตอบแทน[1] สำหรับการแผยแพร่แบบดิจิทัลนั้น การพิมพ์นั้นไม่จำเป็น การทำสำเนานั้นไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแจกจ่ายทั่วโลกออนไลน์ได้ทันที[1] เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมกับต้นทุนต่อหัวที่ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์หลักทั้ง 4 สำนักพิมพ์อย่าง แอ็ลเซอเฟียร์ สปริงเกอร์ วิลลีย์ และอินฟอร์มา มีโอกาสลดต้นทุนและสร้างกำไรสนธิอย่างต่อเนื่อง[1]

การเปลี่ยนแปลงจากสถานะเดิม[แก้]

ในวันที่ 21 มกราคม 2555 นักคณิตศาสตร์ ทิโมธี โกเวอส์ เรียกร้องให้คว่ำบาตรแอ็ลเซอเฟียร์ โดยการเผยแพร่ข้อความบนบล็อกส่วนตัวของเขา[2] ข้อความนี้ได้รับความสนใจมากพอที่จะดึงดูดให้สื่อเรียกว่าเป็นการริเริ่มของขบวนการ[3][4] สามเหตุผลที่ทำให้เค้าขอร้องให้มีการคว่ำบาตรได้แก่ ราคาสมาชิกที่สูงของแต่ละวารสาร การรวมชุดวารสารที่มีมูลค่าและความสำคัญต่างกัน และการที่แอ็ลเซอเฟียร์สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี รวมไปถึงร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย[5][6][7]

แอ็ลเซอเฟียร์ได้โต้เถียงกับคำกล่าวอ้าง และบอกว่าราคาของพวกเขานั้นต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในอุตสาหกรรมด้วยซ้ำไป และยังบอกอีกว่าการรวมชุดวารสารนั้นเป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือกในการสั่งซื้อวารสารของแอ็ลเซอเฟียร์เท่านั้น[6] บริษัทยังอ้างว่ากำไรของบริษัทนั้นเป็น "ผลลัพธ์จากการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ"[5] ผู้วิจารณ์ของแอ็ลเซอเฟียร์อ้างว่าในปี ในปี 2553 นั้น 36% ของรายได้ทั้งหมดของแอ็ลเซอเฟียร์ซึ่งมีมูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นคือกำไร[8] ขณะที่แอ็ลเซอเฟียร์อ้างว่ามี อัตรากำไรจากการดำเนินงานจำนวน 25.7% ในปี 2553[9]

ผลกระทบและการยอมรับ[แก้]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 นักวิเคราะห์ของแบงค์  Exane Paribas ได้รายงานผลกระทบทางการเงินของแอ็ลเซอเฟียร์ด้วยราคาหุ้นที่ตกลงหลังจากการคว่ำบาตร[10] เดนนิส สโนเวอร์ วิจารณ์ระบบผูกขาดของสำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ ทว่าในขณะเดียวกันได้บอกว่าเขาไม่สนับสนุนการคว่ำบาตรแม้ว่าเขาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารของวารสารที่เข้าถึงได้แบบเสรีในด้านเศรษฐศาสตร์ก็ตาม เขาคิดว่าควรส่งเสริมการแข่งขันระหว่างวารสารแทนที่จะทำการคว่ำบาตร[11] [12]

เว็บไซต์[แก้]

เว็บไซต์ "เดอะคอสต์ออฟนอลิจ" ถูกสร้างขึ้น และเชิญชวนนักวิจัยและนักวิชาการให้ลงนามประกาศความตั้งใจที่จะไม่ส่งงานพิมพ์ให้กับวารสารของแอ็ลเซอเฟียร์ ไม่ช่วยตัดสินบทความสำหรับวารสารของแอ็ลเซอเฟียร์ และไม่เข้าร่วมกองบรรณาธิการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ประกาศได้มีผู้เข้าร่วมถึง 1,000 คน[13] จากนั้นในภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นักวิจัยกว่า 16,000 คนได้เซ็นชื่อลงนามในประกาศนี้[14] ผู้ลงนามในสัญญาหลายๆคนมาจากสาขาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และชีววิทยา[15] ใน พ.ศ. 2557 แอ็ลเซอเฟียร์ได้รับบทความจากผู้เขียน 1.8 ล้านคน

ปฏิกิริยาจากแอ็ลเซอเฟียร์[แก้]

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปี 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ได้ประกาศข้อความบนเว็บไซต์ว่าได้เพิกถอนการสนับสนุนต่อร่างรัฐบัญญัติงานวิจัยเป็นที่เรียบร้อย[16] แม้ว่าขบวนการค่าความรู้ไม่ได้ถูกเอ่ยถึง ข้อความชี้ถึงความหวังที่ขบวนการจะ "ช่วยลดบรรยากาศที่คุกรุ่น และสร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดผลมากขึ้น" สำหรับการสนทนากับนายทุนงานวิจัย[17]

ขณะที่ผู้ร่วมลงชื่อได้ทำการฉลองกับการที่แอ็ลเซอเฟียร์ได้เพิกถอนการสนับสนุนต่อร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย แอ็ลเซอเฟียร์ได้ปฏิเสธและอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ได้ส่งผลมาจากการคว่ำบาตร แต่กลับบอกว่าพวกเขาเพิกถอนเนื่องมากจากคำขอของนักวิจัยที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อคว่ำบาตร[18]

ในวันเดียวกันแอ็ลเซอเฟียร์ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกให้สมาคมคณิตศาสตร์เพื่อแจ้งเกี่ยวกับเป้าหมายที่จะลดราคาของบทความให้อยู่ที่บทความละ 11 ดอลลาร์สหรัฐ หรือน้อยกว่านั้น[19] หลายชั่วมองต่อมาผู้แทน ดาร์เรลล์ อิสสา และคาร์โรไลน์ มาโลนีย์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติได้เผยแพร่ข้อความว่าพวกเขาจะไม่กระตุ้นการออกกฎหมายจากร่างรัฐบัญญัตินี้อีกต่อไป การคว่ำบาตรยังถูกดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน [20][19] ก่อนหน้านั้น ไมก์ เทย์เลอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลได้กล่าวหาว่าแรงบันดาลใจของอิสสาและมาโลนีย์อาจถูกขับเคลื่อนโดยเงินบริจาคก้อนใหญ่จากแอ็ลเซอเฟียร์ในปี 2554 [21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Taylor, Mike (21 February 2012). "It's Not Academic: How Publishers Are Squelching Science Communication". Discover. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-12. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  2. See Sir William Timothy Gowers (January 21, 2012).
  3. Grant, Bob (7 February 2012). "Occupy Elsevier?". The Scientist. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  4. Worstall, Tim (28 January 2012). "Elsevier's Publishing Model Might be About to Go Up in Smoke". forbes.com. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  5. 5.0 5.1 "Scientific publishing: The price of information". The Economist. 4 February 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  6. 6.0 6.1 Flood, Alison (2 February 2012). "Scientists sign petition to boycott academic publisher Elsevier". The Guardian. London: GMG. ISSN 0261-3077. OCLC 60623878. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  7. Fischman, Josh (30 January 2012). "Elsevier Publishing Boycott Gathers Steam Among Academics". The Chronicle of Higher Education. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  8. Cook, Garret (12 February 2012). "Why scientists are boycotting a publisher – Opinion – The Boston Globe". bostonglobe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-02. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  9. "2010 highlights". reports.reedelsevier.com. 2012. สืบค้นเมื่อ 17 February 2012. operating margin
  10. Storbeck, Olaf (14 February 2012). "Teure Wissenschaft: Forscher boykottieren Fachverlag". Handelsblatt (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  11. Storbeck, Olaf (13 February 2012). "Dennis Snower: 'Herausgeber können Gott spielen'". Handelsblatt (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  12. Hyland, Andy (7 February 2012). "Heard on the Hill: University Senate considering boycotting publisher Elsevier..." Lawrence Journal-World. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  13. Slind-Flor, Victoria (28 September 2012). "Bard, Motorola, Medicaid, Bullfrog: Intellectual Property". bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
  14. "The Cost of Knowledge". สืบค้นเมื่อ 25 November 2016.
  15. Peek, Robin (13 February 2012). "The Cost of Knowledge Versus Elsevier: 5,600 Signatures and Growing". Information Today, Inc. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
  16. "Elsevier Backs Down as Boycott Grows". สืบค้นเมื่อ 29 February 2012.
  17. Taylor, Mike (16 January 2012). "Academic publishers have become the enemies of science". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 29 February 2012.
  18. Howard, Jennifer (27 February 2012). "Legislation to Bar Public-Access Requirement on Federal Research Is Dead". The Chronicle of Higher Education. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  19. 19.0 19.1 Aron, Jacob. "Elsevier vows to keep price of mathematics journals low". New Scientist.
  20. "Sponsors and Supporters Back Away from Research Works Act". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ 29 February 2012.
  21. Taylor, Mike (16 January 2012). "Academic publishers have become the enemies of science". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 29 February 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]