คารีน่า เคร้าเซอ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
คารีน่า เคร้าเซอ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||
ชื่อเต็ม | คารีน่า เคร้าเซอ | ||||
ชื่อเล่น | น่า[1] | ||||
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 จังหวัดยโสธร ประเทศไทย | ||||
ส่วนสูง | 1.8 m (5 ft 11 in)[2] | ||||
น้ำหนัก | 66 กก. (146 lb) | ||||
กระโดดตบ | 295 ซม. | ||||
บล็อก | 285 ซม. | ||||
ข้อมูล | |||||
ตำแหน่ง | ตัวบล็อก[2] | ||||
สโมสรปัจจุบัน | สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมาคิวมินซี (QminC) วีซี | ||||
หมายเลข | 12 | ||||
อาชีพ | |||||
|
คารีน่า เคร้าเซอ (เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532; ชื่อเล่น: น่า) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชาวไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญร่วมกับทีมซัยโจเด็นกิ-นครนนทบุรี ในการครองแชมป์วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2011-12[3] ตลอดจนได้รับการทาบทามจากเกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร หรือโค้ชอ๊อต ให้เข้าร่วมทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย[4]
เธอเป็นที่รู้จักของผู้ติดตามวงการวอลเลย์บอลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และได้รับการเรียกตัวเข้าร่วมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในการแข่งวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2021 ที่รีมีนี ประเทศอิตาลี[5]
ประวัติ
[แก้]คารีน่า เคร้าเซอ ทำหน้าที่ในตำแหน่งบอลเร็ว และเป็นผู้นำทีมสู่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยชิงแชมป์อาเซียน ที่จัดขึ้น ณ ประเทศลาว นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญ เมื่อครั้งที่เล่นให้แก่สโมสรวอลเลย์บอล ซัยโจเด็นกิ-นครนนทบุรี ในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2013 ซึ่งทีมของเธอได้เป็นที่ 1 ของตาราง โดยลงสนาม 6 นัด ชนะ 5 แพ้ 1[3][6] รวมถึงเธอยังได้รับการจัดให้เป็นนักวอลเลย์บอลที่มีผู้ติดตาม และได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดของการแข่งวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก[7]
ใน พ.ศ. 2556 คารีน่าได้รับการทาบทามจากสโมสรโปปซิโว โปลวาน ซึ่งเป็นทีมในลีกอาชีพของประเทศอินโดนีเซีย ด้วยค่าจ้างเดือนละ 1 แสนบาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน[8]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เกียรติประวัติและผลงาน
[แก้]- 2011–12 ไทยแลนด์ลีก - แชมป์ กับ นครนนทบุรี
- แชมป์ - วอลเลย์บอลถ้วย ก. ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ (สังกัดสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยสวมเสื้อหมายเลข 11) พ.ศ. 2555
- 2011–2012 ไทยแลนด์ลีก - แชมป์ กับ นครนนทบุรี
- 2014–2015 ไทยแลนด์ลีก - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
- 2015 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
- 2015 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
- 2019 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก- เหรียญทองแดง กับ ไทย-เดนมาร์ค ขอนแก่นสตาร์
สโมสร
[แก้]- นครนนทบุรี (2010–2014)
- บางกอกกล๊าส (2014–2018)
- ไทย-เดนมาร์ค ขอนแก่นสตาร์ (2018–2019)
- นครราชสีมา เดอะมอลล์ วีซี (2020-ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คารีน่า เคราเซอร์ แง้มอยากติดลูกยางทีมชาติ - SportGURU[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "Player No 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-26.
- ↑ 3.0 3.1 "ดาวรุ่งนักตบ คารีน่า เคราเซอร์ นางฟ้าแห่งวงการวอลเล่ย์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
- ↑ ประมวลภาพ “คารีน่า เคร้าเซอ” นางฟ้าวอลเลย์ลูกครึ่งไทย-เยอรมนี
- ↑ ถึงเวลาของเธอ! "คารีน่า" นักตบสาวกับโอกาสแรกในนามทีมชาติลุยศึก VNL
- ↑ ""คารีน่า เคร้าเซอร์" สาวสวย ตบหนัก ดาวรุ่งลูกยางสาวไทย : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
- ↑ "วอลเลย์บอลไทย: สะดุดตานักตบไทยลีก...เก่ง สวย หล่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-22.
- ↑ ตบลีกอินโดทาบคาริน่า จ่ายเดือนละแสนเจ้าตัวยังไม่สรุป - SportGURU[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2532
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย
- ชาวไทยเชื้อสายเยอรมัน
- บุคคลจากจังหวัดยโสธร
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลนครนนท์
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลขอนแก่นสตาร์
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงนครราชสีมา