ข้ามไปเนื้อหา

ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551 หรือเรียกชื่อจีนว่า การจลาจล 3•14 เป็นชุดการจลาจล ประท้วงและเดินขบวนที่เริ่มในกรุงลาซา เมืองหลวงของภูมิภาคทิเบต[1] และลามไปพื้นที่อื่นของทิเบตและอารามจำนวนหนึ่งซึ่งรวมนอกเขตปกครองตนเองทิเบต แรกเริ่มเป็นการจัดวันการก่อการกำเริบทิเบตประจำปีแล้วลงเอยด้วยการประท้วงตามถนนโดยพระสงฆ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นการจลาจล การเผา การปล้นสะดมและการฆ่าชาติพันธุ์ในวันที่ 14 มีนาคม[2] ชาวทิเบตที่เข้าร่วมความไม่สงบมุ่งความรุนแรงส่วนใหญ่ไปยังพลเรือนฮั่นและหุย[3] ตำรวจแทรกแซงโดยป้องกันมิให้ความขัดแย้งบานปลายอีก ขณะเดียวกันและเพื่อเป็นการสนอง การประท้วงที่ส่วนใหญ่สนับสนุนชาวทิเบตอุบัติในนครในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป มีการโจมตีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลจีน 18 แห่ง[4]

จากข้อมูลของฝ่ายปกครองจีนที่ปกครองทิเบต ความไม่สงบนี้มีเหตุจูงใจจากคตินิยมการแยกตัวออกและทะไลลามะเป็นผู้สั่งการ[5] ทะไลลามะปฏิเสธข้อกล่าวหาและกล่าวว่าสถานการ์เกิดจากความไม่พอใจอย่างกว้างขวางในทิเบต[6] รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะไลลามะจัดการเจรจาเรื่องการจลาจลในวันที่ 4 พฤษภาคมและ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[7]

ระหว่างการจลาจล ทางการจีนไม่อนุญาตให้สื่อต่างชาติและฮ่องกงเข้าภูมิภาค[8] สื่อในประเทศลดทอนความสำคัญของการจลาจล มีเพียงเจมส์ ไมลส์ ผู้สื่อข่าวจากดิอีโคโนมิสต์ ได้รับอนุมัติให้เดินทางหนึ่งสัปดาห์ซึ่งปรากฏว่าสอดคลองกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นพอดี[9] จากข้อมูลของไมลส์ การสนองของตำรวจปราบจลาจลนั้นสงบ แต่กลุ่มผู้พลัดถิ่นทิเบตอ้างว่ามีการปราบปรามอย่างโหดร้าย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "China's Forbidden Zones". pp. 32–33. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2010. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
  2. "Tibetan riots spread outside region". New York Times. March 16, 2008. สืบค้นเมื่อ January 7, 2011.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ refeco
  4. "Tibetan separatists attack Chinese embassy in Washington(04/02/08)". Chinese Embassy in the United States. April 2, 2008. สืบค้นเมื่อ September 19, 2010.
  5. "Top officials in Tibet's government accuse exiled Tibetan spiritual leader, the Dalai Lama, of plotting the violence as part of what they describe as "separatist sabotage."": 15, 2008-voa2.cfm?CFID=199999648&CFTOKEN=35561911&jsessionid=6630e127af734d19bbbf2713642cf323f6d4 Voice of America: China Accuses Tibetan Protesters of Killing Innocent People. Accessed May 18, 2009. Archived June 1, 2009.
  6. Dalai Lama Calls Again For Crackdown Probe
  7. "China, Dalai Lama's envoys resume talks". Reuters. July 1, 2008. สืบค้นเมื่อ July 1, 2008.
  8. "HK journalists thrown out of Tibet". The Standard. March 18, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2008. สืบค้นเมื่อ March 19, 2008.
  9. "Monks on the march". The Economist. March 13, 2008. สืบค้นเมื่อ March 19, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]