ข้ามไปเนื้อหา

คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายประกาศในสถานีรถไฟใต้ดินนิวยอร์กซิตีแห่งหนึ่ง มีข้อความเตือนไม่ให้แสดงออกซึ่งการเหยียดชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย อันเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโรคโควิด-19

คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ (อังกฤษ: Racism in the United States) มีมาแต่สมัยอาณานิคม เมื่ออเมริกันผิวขาวได้รับเอกสิทธิ์และสิทธิ์ทางกฎหมายหรือสังคม แต่ปฏิเสธให้สิทธิเดียวกันนั้นแก่เชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยอื่น ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสเตียนโปรเตสแตนต์แองโกล-แซ็กซอนผิวขาวที่มั่งมี ได้รับเอกสิทธิ์สิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวในด้านการศึกษา การเข้าเมือง สิทธิเลือกตั้ง ความเป็นพลเมือง การซื้อที่ดิน และวิธีดำเนินการทางอาญาตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐ ผู้เข้าเมืองที่มิใช่โปรเตสแตนต์จากทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไอริช โปแลนด์และอิตาลี มักถูกกีดกันด้ยวยความเกลียดกลัวต่างชาติและการเลือกปฏิบัติที่ยึดชาติพันธุ์รูปแบบอื่นในสังคมสหรัฐจนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ กลุ่มอย่างยิวและอาหรับเผชิญกับการเลือกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในสหรัฐ ผลทำให้บางคนในกลุ่มนี้ไม่ถูกระบุว่าเป็นผิวขาว ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาถูกจำกัดเสรีภาพทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐส่วนใหญ่ ในอดีต ฮิสแอฟนิกก็เผชิญคตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ นอกจากนี้ ชาวเอเชียตะวันออก ใต้และตะวันออกเฉียงใต้ก็รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติด้วยเช่นกัน

สถาบันและที่มีการจัดโครงสร้างแบบเชื้อชาติและชาติพันธุ์ที่สำคัญและการแสดงคตินิยมเชื้อชาติ ได้แก่ พันธูฆาต การจับเป็นทาส การแบ่งแยก เขตสงวนอเมริกันพื้นเมือง โรงเรียนกินนอนอเมริกันพื้นเมือง กฎหมายเข้าเมืองและการแปลงสัญชาติ และค่ายกักกัน การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่ถูกห้ามในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เพราะประชาชนรับรู้ว่ายอมรับไม่ได้ทางสังคมและศีลธรรม การเมืองเรื่องเชื้อชาติยังเป็นปรากฏการณ์สำคัญ และคตินิยมเชื้อชาติยังสะท้อนออกมาในรูปความไม่เสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่[1] การจัดช่วงชั้นด้วยเชื้อชาติยังเกิดในการจ้างงาน การเคหะ การศึกษา การให้กู้และการปกครอง

ในทัศนะของสหประชาชาติและเครือข่ายสิทธิมนุษยชนสหรัฐ "การเลือกปฏิบัติในสหรัฐแทรกซึมอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิตและขยายรวมถึงชุมชนผิวสีทั้งหมด"[2] แม้สภาพของทัศนะซึ่งชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยยึดถือได้เปลี่ยนแปลงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลสำรวจที่องค์การอย่างเอบีซีนิวส์รวบรวมพบว่าแม้ในอเมริกาสมัยใหม่ อเมริกันจำนวนมากยังยอมรับว่ามีมุมมองที่เลือกปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น บทความปี 2550 โดยเอบีซีระบุว่า อเมริกันหนึ่งในสิบยอมรับว่ามีความเดียดฉันท์ต่ออเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิกและละติน และประมาณหนึ่งในสี่ยอมรับว่ามีความเดียดฉันท์ต่ออเมริกันเชื้อสายอาหรับ[3] การสำรวจของยูกอฟ/อีโคโนมิสต์ปี 2561 พบว่าอมเริกัน 17% ค้านการสมรสระหว่างเชื้อชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ "อื่น" 19% คัดค้าน รวมทั้งผิวดำ 18% ผิวขาว 17% และฮิสแปนิก 15%[4]

อเมริกันบางส่วนมองว่าการเลือกตั้งบารัก โอบามาเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของสหรัฐ (ดำรงตำแหน่ง 2552 ถึง 2560) เป็นสัญญาณว่าประเทศได้เข้าสู่ยุคหลังเชื้อชาติแล้ว[5][6] อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ในปี 2559 มีนักวิจารณ์บางคนมองว่าเป็นปฏิกิริยาสะท้อนแบบคตินิยมเชื้อชาติต่อการเลือกตั้งโอบามา[7] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 2010 สังคมอเมริกันยังเผชิญกับคตินิยมเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติระดับสูง ปรากฏการณ์ใหม่อย่างหนึ่งได้แก่การเติบโตของบวนการ "ขวาทางเลือก" (alt-right) ซึ่งเป็นแนวร่วมชาตินิยมผิวขาวที่มุ่งขับชนกลุ่มน้อยทางเพศและเชื้อชาติออกจากสหรัฐ[8] หลังจากกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา กระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิและสำนักงานสอบสวนกลางถือว่าความรุนแรงจากพวกความสูงสุดของคนขาวเป็นภัยคุกคามการก่อการร้ายในประเทศอันดับต้น ๆ ในสหรัฐ[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Henry, P. J., David O. Sears. Race and Politics: The Theory of Symbolic Racism. University of California, Los Angeles. 2002.
  2. U.S. Human Rights Network (August 2010). "The United States of America: Summary Submission to the UN Universal Periodic Review". Universal Periodic Review Joint Reports: United States of America. p. 8.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ abc
  4. "The Economist/YouGov Poll" (PDF). YouGov. March 10–13, 2018. สืบค้นเมื่อ June 29, 2018.
  5. "A New, 'Post-Racial' Political Era in America". NPR.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.
  6. Dawson, Michael C.; Bobo, Lawrence D. (2009). "One Year Later and the Myth of a Post-Racial Society". Du Bois Review. 6 (2): 247. doi:10.1017/S1742058X09990282. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
  7. Coates, Ta-Nehisi (October 2017). "The First White President". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ June 29, 2018. It is often said that Trump has no real ideology, which is not true—his ideology is white supremacy, in all its truculent and sanctimonious power.
  8. Lozada, Carlos (November 3, 2017). "Where the alt-right wants to take America — with or without Trump". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ April 3, 2018.
  9. Winter, Jana (August 14, 2017). "FBI and DHS Warned of Growing Threat From White Supremacists Months Ago". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ April 19, 2018.
  10. "White Supremacist Extremism Poses Persistent Threat of Lethal Violence". FBI Intelligence Bulletin. May 10, 2017. สืบค้นเมื่อ April 19, 2018.