ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน
ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน Sunflower Student Movement 太陽花學運 | |||
---|---|---|---|
วันที่ | 18 มีนาคม – 10 เมษายน ค.ศ. 2014 | (23 วัน)||
สถานที่ | ที่ทำการสภานิติบัญญัติ อำเภอจงเจิ้ง กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน 25°2′39.8832″N 121°31′10.02″E / 25.044412000°N 121.5194500°E | ||
สาเหตุ |
| ||
เป้าหมาย |
| ||
วิธีการ | |||
สถานะ | ยังดำเนินอยู่ | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
จำนวน | |||
|
ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน (จีน: 太陽花學運; พินอิน: Tàiyánghuā Xué Yùn; อังกฤษ: Sunflower Student Movement) เป็นชื่อเรียกกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศไต้หวัน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และประชาชนซึ่งรวมกำลังกันยึดสถานที่ราชการตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2014 โดยเริ่มเข้าควบคุมที่ทำการสภานิติบัญญัติ และต่อมาจึงลุกลามไปยังสำนักงานสภาบริหาร (คณะรัฐมนตรี)[2][3][4] ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านการที่สภานิติบัญญัติ ซึ่งพรรคชาตินิยม (國民黨; Guómíndǎng; Kuomintang) ครองเสียงข้างมาก จะให้สัตยาบันแก่ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ (海峽兩岸服務貿易協議; Hǎixiá Liǎng'àn Fúwù Màoyì Xiéyì; Cross-Strait Service Trade Agreement) ที่สภาบริหารได้ทำไว้กับประเทศจีน โดยไม่พิจารณาเป็นรายข้อ
ผู้ประท้วงเชื่อว่า ความตกลงนี้จะกระทบเศรษฐกิจไต้หวัน เพราะจะเปิดให้จีนใช้อำนาจทางการเมืองบีบคั้นเศรษฐกิจไต้หวันจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ส่วนผู้สนับสนุนความตกลงเห็นว่า ความตกลงจะช่วยให้ทั้งจีนและไต้หวันลงทุนในตลาดของแต่ละฝ่ายได้อย่างเสรีมากขึ้น[5][6][7] เดิมที ผู้ประท้วงเรียกให้พิจารณาความตกลงอีกครั้งโดยทำเป็นรายข้อ[8] แต่ภายหลังเปลี่ยนไปเรียกให้เลิกทำความตกลงนั้นเสีย แล้วตรากฎหมายควบคุมการทำความตกลงกับจีน[9] พรรคชาตินิยมยินดีให้พิจารณาความตกลงเป็นรายข้อในวาระที่ 2[10][11] แต่ไม่เห็นด้วยที่จะส่งความตกลงกลับไปให้คณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติพิจารณาอีกครั้ง[12] ต่อมา พรรคชาตินิยมยินยอมตามข้อเสนอที่ให้พิจารณาซ้ำเป็นรายข้อ แต่กล่าวว่า ต้องให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (主進步黨; Mínzhǔ Jìnbù Dǎng; Democratic Progressive Party) เลิกคว่ำบาตรกระบวนพิจารณา พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ตกลงด้วย และแถลงว่า ควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับจีนมาพิจารณาความตกลง เพราะเป็น "มติมหาชนกระแสหลัก"[13] อย่างไรก็ดี พรรคชาตินิยมบอกปัดข้อเสนอดังกล่าว[14][15]
ความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นคราวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไต้หวันที่สภานิติบัญญัติถูกประชาชนบุกยึด[16][17] และสำนักข่าวบีบีซีเห็นว่า เป็นการชี้ชะตาไต้หวัน เพราะจะช่วยให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งจะทวีการพิทักษ์ประโยชน์ประชาชน มิใช่ประโยชน์ของพรรคการเมือง[18]
ชื่อ
[แก้]ผู้ประท้วงเรียกตนเองว่า "ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน" เพราะเห็นว่า ดอกทานตะวันเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง[19] โดยเริ่มนิยมใช้คำนี้ตั้งแต่ร้านดอกไม้ร้าน 1 ส่งดอกทานตะวัน 100 ต้นมาเป็นกำลังใจให้เหล่านักศึกษา ณ ที่ทำการสภานิติบัญญัติ[20]
ชื่อ "ทานตะวัน" ยังเป็นการอ้างถึงขบวนการนักศึกษาลิลลีป่า (野百合學運; Yě Bǎihé Xué Yùn; Wild Lily Student Movement) เมื่อปี 1990 ซึ่งเป็นหมุดหมายแห่งการเปลี่ยนไต้หวันให้เป็นประชาธิปไตย[21]
ขบวนการครั้งนี้มีชื่ออื่นอีก คือ "ขบวนการนักศึกษา 18 มีนาฯ" (318學運; 318 Xué Yùn; March 18 Student Movement) และ "ปฏิบัติการยึดสภาฯ" (佔領國會事件; Zhànlǐng Guóhuì Shìjiàn; Occupy Taiwan Legislature)
ความเป็นมา
[แก้]วันที่ 18 มีนาคม 2014 พรรคชาตินิยมยื่นญัตติฝ่ายเดียวให้สภานิติบัญญัติเห็นชอบกับความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบโดยไม่พิจารณาเป็นรายข้อ แม้เคยรับปากกับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 แล้วว่า จะพิจารณาเป็นรายข้อ อนึ่ง พรรคการเมืองทั้ง 2 ยังเคยตกลงกันเมื่อเดือนกันยายน 2013 ว่า จะจัดประชาพิจารณ์ 16 ครั้ง โดยจะเป็นเจ้าภาพกันคนละ 8 ครั้ง และเชิญนักวิชาการ องค์การเอกชน กับผู้แทนวงการค้าที่จะได้รับผลกระทบ มาร่วมเสวนา พรรคชาตินิยมจัดไป 8 ครั้ง แต่ไม่ได้เชิญบุคคลดังกล่าวมาเลย หรือเชิญมาก็ด้วยความรีบร้อน นอกจากนี้ เมื่อมีการเสนอความเห็นระหว่างประชาพิจารณ์ จาง ชิ่งจง (張慶忠; Zhāng Qìngzhōng; Chang Ching-chung) สมาชิกพรรคชาตินิยมซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการบริหารราชการภายใน (Internal Administrative Committee) ของสภานิติบัญญัติ ก็กล่าวว่า ร่างความตกลงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้แล้ว ต้องรับทั้งฉบับเท่านั้น[22] พฤติการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความวุ่นวายในสภานิติบัญญัติ เป็นเหตุให้พรรคประชาธิปไตยไม่อาจจัดประชาพิจารณ์อีก 8 ครั้งได้ กับทั้งจาง ชิ่งจง ยังสั่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2014 ว่า กระบวนพิจารณาชั้นกรรมาธิการดำเนินมามากกว่า 90 วันแล้ว ให้ส่งความตกลงไปให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาเพื่อลงมติในชั้นสุดท้ายได้ ความตกลงส่งไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2014[8]
การยึดพื้นที่
[แก้]สภานิติบัญญัติ
[แก้]วันที่ 18 มีนาคม 2014 ราว 21:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ผู้ชุมนุมปีนรั้วที่ทำการสภานิติบัญญัติขึ้นเพื่อเข้าไปภายใน การรบรันพันตูระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเหตุให้ที่ทำการเสียหายเล็กน้อย แต่เจ้าพนักงานตำรวจหลายรายได้รับบาดเจ็บสาหัส สภานิติบัญญัติส่งสมาชิกผู้ 1 มาเจรจากับผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมซึ่งเข้าไปในที่ทำการได้ประมาณ 300 คนแล้วเข้าควบคุมสถานที่ไว้เป็นผลสำเร็จ ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่สามารถขับพวกเขาออกไปได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมที่เหลือซึ่งมีหลายร้อยคนยังตั้งมั่นอยู่นอกที่ทำการ บรรดาผู้ชุมนุมเรียกให้สภานิติบัญญัติพิจารณาความตกลงเป็นรายข้ออีกครั้ง มิฉะนั้น จะยึดที่ทำการไปจนถึงวันที่ 21 มีนาคม อันเป็นวันที่สภานิติบัญญัติกำหนดให้ลงมติเกี่ยวกับความตกลง เจ้าหน้าที่จึงตัดน้ำตัดไฟในที่ทำการ ณ คืนวันที่ 18 นั้นเพื่อบีบให้ผู้ชุมนุมออกไป ส่วนเจียง อีฮว่า (江宜樺; Jiāng Yīhuà; Jiang Yi-huah) นายกรัฐมนตรี สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าขับไล่ผู้ชุมนุม แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง[8][23]
หลังสภานิติบัญญัติถูกยึดไม่นาน มีการระดมเจ้าพนักงานตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลายพันคนจากทั่วประเทศเพื่อเข้าล้อมผู้ชุมนุมเอาไว้[24][25] ครั้นวันที่ 20 มีนาคม 2014 หวัง จินผิง (王金平; Wáng Jīnpíng; Wang Jin-pyng) ประธานสภานิติบัญญัติ แถลงว่า จะไม่ใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม[26] นอกจากนี้ เขากล่าวในวันรุ่งขึ้นว่า จะไม่ไปพบหม่า อิงจิ่ว (馬英九; Mǎ Yīngjiǔ; Ma Ying-jeou) ประธานาธิบดี หรือเจียง อีฮว่า นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องจะทำอย่างไรต่อไป เขากล่าวด้วยว่า เป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีที่จะต้องฟังเสียงประชาชน และสมาชิกสภานิติบัญญัติเองก็ต้องรอมชอมกันเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ด้วย[27]
วันที่ 22 มีนาคม 2014 เจียง อีฮว่า ไปพบผู้ชุมนุมนอกที่ทำการสภานิติบัญญัติ และแถลงว่า สภาบริหารไม่ประสงค์จะล้มเลิกความตกลงฉบับนั้น[2] ฝ่ายประธานาธิบดีก็แถลงข่าวในวันถัดมาว่า เขาปรารถนาจะให้ความตกลงได้รับการอนุมัติ แต่ยืนยันว่า เขาไม่ได้กำลังรับสนองคำสั่งจากกรุงปักกิ่ง[28][29]
สภาบริหาร
[แก้]การแถลงข่าวข้างต้นเป็นผลให้ผู้ชุมนุมแห่ไปยึดสำนักงานสภาบริหารในเวลาประมาณ 19:30 นาฬิกาของวันที่ 23 มีนาคม 2014 นั้นเอง[30] เจ้าพนักงานตำรวจใช้ปืนแรงดันน้ำขับผู้ชุมนุมไปเสียจากสำนักงานได้อย่างราบคาบในเวลา 05:00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น แต่ไม่ช้าผู้ชุมนุมก็จับกลุ่มกันอีกครั้งตรงถนนจงเซี่ยวฝั่งตะวันออก (忠孝東路; Zhōngxiào Dōng Lù; Zhongxiao East Road)[31] เจ้าพนักงานตำรวจราว 100 คนจึงใช้เวลา 10 ชั่วโมงพยายามสลายผู้ชุมนุมโดยใช้แรงดันน้ำฉีดไล่และใช้ไม้พลองฟาดศีรษะ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใช้กำลังเกินเหตุ[32] มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 150 คนและถูกจับอีก 61 คน[33]
นอกจากนี้ นักข่าวและแพทย์พยาบาลยังถูกสั่งให้ไปเสียให้พ้นจากพื้นที่[32] สมาคมนักข่าวไต้หวันเปิดเผยว่า เจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังต่อนักข่าว เพราะปรากฏว่า โจมตีนักข่าวมากกว่า 10 ครั้ง ทั้งวิจารณ์ว่า คำสั่งไล่นักข่าวเป็นการริดรอนเสรีภาพสื่อมวลชน[34]
การเจรจา
[แก้]ประธานาธิบดียืนยันตลอดมาว่า จะไม่พูดคุยกับผู้ชุมนุมเป็นการส่วนตัว แต่วันที่ 25 มีนาคม 2014 เขาเรียกผู้แทนนักศึกษามาที่จวนเพื่อสนทนาเรื่องความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบกับประเทศจีน[35] หลิน เฟย์ฟัน (林飛帆; Lín Fēifān; Lin Fei-fan) ผู้นำนักศึกษา ตกลงจะไป และกล่าวว่า นักเรียนนักศึกษาประสงค์จะสนทนาเรื่องไต้หวันควรมีสมาชิกสภานิติบัญญัติชุดใหม่เพื่อกำกับดูแลการทำความตกลงระหว่างช่องแคบทั้งหลายหรือไม่ และความตกลงฉบับที่เป็นปัญหานั้นควรค้างไว้จนกว่าจะมีสภานิติบัญญัติชุดใหม่หรือไม่มากกว่า[22]
กระนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม 2014 เหล่าผู้แทนนักศึกษาประกาศว่า จะไม่ไปพบประธานาธิบดี เพราะเห็นว่า ประธานาธิบดีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาตินิยมสามารถใช้กฎระเบียบของพรรคควบคุมสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ อันจะเป็นผลให้การเจรจาระหว่างพรรคการเมืองทั้งหลายล้มเหลวอีกจนไม่อาจตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้[36][37] ผู้ชุมนุมจึงเปลี่ยนไปเรียกให้สภานิติบัญญัติตรากฎหมายเพื่อควบคุมการทำความตกลงระหว่างช่องแคบในภายภาคหน้า โดยส่งร่างกฎหมายไปให้สภานิติบัญญัติและขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติลงชื่อรับรอง[38]
การเดินขบวน
[แก้]วันที่ 30 มีนาคม 2014 ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนจากจวนประธานาธิบดีไปยังที่ทำการสภานิติบัญญัติจนเต็มถนนไข่ต๋าเก๋อหลัน (Ketagalan Boulevard) เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีฟังคำพวกตน[39][40] ผู้จัดการเดินขบวนว่า มีผู้คนมากกว่า 500,000 คนมาร่วม ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจที่มาประจำการนั้นมีราว 116,000 คน[41]
ฝ่ายผู้ต่อต้านการชุมนุมก็รวมตัวกันในท้องที่เดียวกัน แต่แยกย้ายกันไปก่อนขบวนนักศึกษาสลายตัว[42] ครั้นวันที่ 1 เมษายน 2014 จาง อันเล่อ (張安樂; Zhāng Ānlè; Chang An-lo) นักเลงโต นำผู้สนับสนุนการทำความตกลงกับประเทศจีนเคลื่อนขบวนต่อต้านการยึดสภานิติบัญญัติบ้าง[43]
วันที่ 6 เมษายน 2014 ประธานสภานิติบัญญัติไปเยี่ยมผู้ชุมนุมซึ่งยึดที่ทำการสภานิติบัญญัติ และตกปากว่า จะเลื่อนการพิจารณาความตกลงนั้นออกไปก่อนจนกว่าจะตรากฎหมายควบคุมการทำความตกลงระหว่างช่องแคบสำเร็จตามที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง[44] แต่เฟ่ย์ หงไท่ (費鴻泰; Fèi Hóngtài; Fai Hrong-tai) รองเลขาธิการพรรคชาตินิยม บอกปัดเรื่องนั้น และติเตียนประธานสภานิติบัญญัติว่า ออกปากสิ่งใดไปไม่ปรึกษาพรรคชาตินิยมก่อน[45]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wang, Chris; Lee, Hsin-fang; Kan, Chih-chi (31 March 2014). "Protest gathers broad support". Tsipei Times. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Ramzy, Austin (22 March 2014). "As Numbers Swell, Students Pledge to Continue Occupying Taiwan's Legislature". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014.
- ↑ "【直擊】警提升府維安 對戰一觸即 發". Apple Daily (ภาษาจีน). Apple Daily. 20 March 2014. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ Ying-yu Tseng; Elizabeth Hsu (18 March 2014). "Protesters break police line, storm Legislature". Focus Taiwan. Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ "Protesters occupy Taiwan parliament over China trade deal". BBC. 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ 鄭秀玲 (29 July 2013). "兩岸服貿協議對我國的衝擊分析" (ภาษาจีน). Slideshare. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ 鄭秀玲 (13 September 2013). "服貿自救寶典(I) : 服貿協議將對誰有影響" (ภาษาจีน). Slideshare. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Cole, J. Michael (20 March 2014). "Taiwanese Occupy Legislature Over China Pact". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ Ying-yu Tseng; Ku Chuan; Elaine Hou (23 March 2014). "Protesters lay out demands, vow to continue occupation of Legislature". Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ Brown Sophie; Li, Zoe (24 March 2014). "Taiwan police clash with students in protests over trade deal". CNN.com. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
- ↑ Pei-chun Tang; Wu, Lilian (24 March 2014). "KMT aiming for item-by-item review of pact at floor session". Central News Agency (Republic of China). สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
- ↑ Shih Hsiu-chuan (22 March 2014). "LEGISLATIVE SIEGE: KMT open to line-by-line review of pact". Taipei Times.
- ↑ Wang, Chris (28 March 2014). "TRADE PACT SIEGE: KMT says open to making concessions". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ Loa, Iok-sin (29 March 2014). "Jiang defends eviction, rejects demands". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ Wang, Chris (29 March 2014). "DPP says no more interparty talks". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ 1Lin Adela; Culpan, Tim (19 March 2014). "Taiwan Students Occupy Legislature Over China Pact". Bloomberg. Bloomberg L. P. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014.
- ↑ 陳沂庭 (19 March 2014). "群眾占領議場 國會史上首次". Radio Taiwan International (ภาษาจีน). Radio Taiwan International. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ Sui, Cindy (26 March 2014). "What unprecedented protest means for Taiwan". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ "Rally backs Taiwan students occupying parliament". BBC News. 21 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ "花店老闆捐「太陽花」 盼照亮學運" (ภาษาจีน). Formosa TV. 21 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ Hhung, Joe (24 March 2014). "Echoes of the Wild Lily Movement". Chine Post. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.
- ↑ 22.0 22.1 Brown, Sophie (26 March 2014). "Taiwan's president asks protesters to talk over trade deal". CNN.com. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
- ↑ "台灣反服貿協議團體佔領立法院議事場". BBC (ภาษาจีน). 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ Enav, Peter (19 March 2014). "China Trade Pact Foes Occupy Taiwanese Legislature". AP. ABC News. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ Sanchez Ray; Li, Zoe (21 March 2014). "Taiwan Legislature occupiers' ultimatum passes without response from government". CNN. Turner Broadcasting System. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ Shih Hsiu-chuan; Su Fang-ho; Chung, Jake (21 March 2014). "Wang promises a solution, response to students' appeals". The Taipei Times. The Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ 陳沂庭 (21 March 2014). "王金平盼總統傾聽民意 促朝野共識". Radio Taiwan International (ภาษาจีน). Yahoo News Network. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
- ↑ "佔領國會》記者會提問機會少 外媒抗議". Liberty Times. 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
- ↑ Blanchard, Ben (24 March 2014). Perry, Michael (บ.ก.). "Taiwan leader says protest-hit China trade pact vital". Reuters. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
- ↑ "【警方動態】奪回行政院 640鎮暴警出動". Apple Daily. 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
- ↑ Chen Chi-chung; Yuris Ku; James Lee (23 March 2014). "Executive Yuan protesters dispersed with water cannons". Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 23 March 2014.
- ↑ 32.0 32.1 Cole, J. Michael (24 March 2014). "Riot Police Crack Down on Taiwanese Protesters". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Chung, Lawrence (24 March 2014). "More than 150 injured as police evict student protesters from Taiwan parliament". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Loa, Iok-sin (25 March 2014). "Journalists accuse police of attacking them". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.
- ↑ Koh, Gui Qing (25 March 2014). Laurence, Jeremy (บ.ก.). "Taiwan's Ma says ready to meet protesters over China trade pact". Reuters. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
- ↑ Culpan, Tim (25 March 2014). Mathieson, Rosalind; Fellman, Joshua (บ.ก.). "Taiwan's Ma Offers to Meet Student Leaders as Dispute Continues". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 26 March 2014.
- ↑ Kuo Adam Tyrsett; Wei, Katherine (26 March 2014). "Activists set conditions to Ma dialogue". The China Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Wei, Katherine (27 March 2014). "DPP lawmakers agree to support cross-strait pact supervisory law". The China Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Chung, Lawrence (28 March 2014). "Students threaten huge rally to pressure Ma Ying-jeou to drop trade pact with Beijing". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ Loa Iok-sin; Shih Hsiu-chuan (28 March 2014). "Sunday rally planned for Ketagalan Blvd". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- ↑ Gold, Michael; Pomfret, James (30 March 2014). Laurence, Jeremy (บ.ก.). "Over 100,000 protest in Taiwan over China trade deal". Reuters. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
- ↑ Wu, Liang-yi; Hsu, Stacy (31 March 2014). "TRADE PACT SIEGE: White-clad army demand return of Legislative Yuan". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
- ↑ "Taiwan pro-China activists rally against parliament seizure". Channel News Asia. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
- ↑ 王金平保證監督條例未立法 不開服貿協商會議
- ↑ Ruling party lawmaker blames speaker for selling out Kuomintang
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]