ข้ามไปเนื้อหา

กิมมีมอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"กิมมีมอร์"
ภาพปกซิงเกิล "กิมมีมอร์"
ซิงเกิลโดยบริตนีย์ สเปียรส์
จากอัลบั้มแบล็กเอาต์
วางจำหน่าย25 กันยายน พ.ศ. 2550
(ดูประวัติการจำหน่าย)
บันทึกเสียงพ.ศ. 2549
แนวเพลงแดนซ์-ป็อป, อีเลกโทรนิกา
ความยาว4:13
ค่ายเพลงไจฟ์
ผู้ประพันธ์เพลงเจมส์ วอชิงตัน, เครี ฮิลสัน, มาร์เชลลา อเรียคา, เนต ฮิลลส์
โปรดิวเซอร์แดนจา
ลำดับซิงเกิลของบริตนีย์ สเปียรส์
"แอนด์เด็นวีคิสส์"
(พ.ศ. 2548)
"กิมมีมอร์"
(พ.ศ. 2550)
"พีซออฟมี"
(พ.ศ. 2550)

"กิมมีมอร์" (อังกฤษ: Gimme More) เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม แบล็คเอาต์ ของบริตนีย์ สเปียรส์ เพลงนี้เป็นผลงานการประพันธ์ของเจมส์ วอชิงตัน, เครี ฮิลสัน, มาร์เชลลา อเรียคา และ แดนจา เนต ฮิลลส์ อำนวยการผลิตโดย แดนจา

ออกจำหน่าย

[แก้]

วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เพลง "กิมมีมอร์" ได้เผยแพร่ครั้งแรกทางเว็บไซต์ New York City radio station Z100's ตามด้วย KIIS-FM ในลอสแอนเจลิส, 97.1 ZHT ในเมืองสาล์ทเลค และ Hot 99.5 ในวอชิงตันดีซี ซิงเกิลนี้ได้เปิดตามคลื่นวิทยุในยุโรปอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และได้เปิดจำหน่ายรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดทางไอทูนส์เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 และภายในสองวันซิงเกิล "กิมมีมอร์" ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในยอดดาวน์โหลดไอทูนส์ในสหรัฐอเมริกา ด้วยยอดการดาวน์โหลดมากถึง 179,000 ครั้งในสัปดาห์แรก ส่งผลให้อันดับขึ้นจาก 68 มาอยู่ที่อันดับ 3 ใน บิลบอร์ดฮอต 100 นับว่าเป็นซิงเกิลที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในชาร์ตบิลบอร์ดนับตั้งแต่เพลง "...เบบีวันมอร์ไทม์"

มิวสิกวิดีโอ

[แก้]
ไฟล์:Gimme More - Music Video.png
รูปในมิวสิกวิดีโอกิมมี่มอร์

มิวสิกวิดีโอเพลง "กิมมีมอร์" ถ่ายทำ ณ ลอสแอนเจลิสในวันที่ 19 กรกฎาคม และ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทาง MTV's Total Request Live และเปิดให้ดาวน์โหลดทางไอทูนส์ในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รูปแบบและรายชื่อเพลง

[แก้]

ฉบับอย่างเป็นทางการ

[แก้]

ชาร์ต

[แก้]

"กิมมีมอร์" ขึ้นอันดับที่ 9 ของชาร์ต Billboard Bubbling Under Hot 100 Singles ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550,[1] และอันดับที่ 65 ในชาร์ท Billboard Pop 100 ในวันเดียวกัน.[2] วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550, เพลง "กิมมีมอร์" ขึ้นอันดับ 85 ในชาร์ต บิลบอร์ดฮอต 100 และอันดับขึ้นสูงสุดอยู่ที่อันดับ 3[ต้องการอ้างอิง]

ชาร์ต

[แก้]
ชาร์ต (พ.ศ. 2550) อันดับ
สูงสุด
Australian ARIA Singles Chart 3
Belgium Top 50 Singles 18
Brazilian Hot 100[3] 1
Canadian Hot 100[[4] 1
Tokyo Hot 100[5] 10
Europe Hot 100 Singles 10
Euro Digital Tracks 1
Global Dance Tracks 8
Irish Singles Chart 2
New Zealand RIANZ Singles Chart 15
Norwegian Singles Chart 3
Swedish Singles Chart 3
Swiss Singles Chart 10
UK Singles Chart 3
U.S. Billboard Pop 100 2
U.S. Billboard Hot 100 3
U.S. Billboard Hot Digital Songs 1
U.S. Billboard Hot Dance Club Play 22
United World Chart 2

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]