ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่หมีลาย

พิกัด: 15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่หมีลาย
Thảm sát Mỹ Lai
ภาพถ่ายโดย Ronald L. Haeberle ช่างภาพของกองทัพบกสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1968 แสดงสภาพหลังการสังหารหมู่ที่หมีลาย ในภาพมีศพหญิงและเด็กเป็นส่วนใหญ่
การสังหารหมู่ที่หมีลายตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
การสังหารหมู่ที่หมีลาย
การสังหารหมู่ที่หมีลาย (ประเทศเวียดนาม)
สถานที่หมีเซิน (หมู่บ้าน), ตำบลเซินทินฮ์, ประเทศเวียดนามใต้
พิกัด15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944
วันที่16 มีนาคม ค.ศ.1968
เป้าหมายหมู่บ้านขนาดเล็กในหมีลายกับหมีเคอทั้งสี่แห่ง
ประเภทการสังหารหมู่
ตาย347 คน รายงานจากกองทัพบกสหรัฐ (ไม่รวมการฆ่าที่หมีเคอ), รายงานอื่นกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน และไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บ, ทางเวียดนามกล่าวว่ามีคนถูกฆ่า 504 คนทั้งในหมีลายและหมีเคอ
ผู้ก่อเหตุกองร้อยซี กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 20, และกองร้อยบี กองพันที่ 4 กรมทหารราบที่ 3 ในกองพลทหารราบที่ 23

การสังหารหมู่ที่หมีลาย (อังกฤษ: My Lai Massacre, เวียดนาม: Thảm sát Mỹ Lai) เป็นการสังหารหมู่พลเรือนไม่มีอาวุธในสงครามเวียดนาม เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 347 ถึง 504 ศพ ในประเทศเวียดนามใต้ โดยทหารอเมริกันสังกัดกองร้อย "ชาร์ลี" แห่งกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 20 กองพลน้อยที่ 11 แห่งกองพลทหารราบที่ 26 ผู้ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นหญิง เด็ก (รวมทั้งทารก) และคนชรา ภายหลังพบว่าบางศพถูกตัดแขนขาออก[1] ทหารสหรัฐ 26 นายถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอาญาสำหรับพฤติการณ์ที่หมีลาย ทว่ามีเพียงร้อยตรีวิลเลียม แคลลีย์ (William Calley) ผู้นำหมวดในกองร้อยชาร์ลี เท่านั้นที่ถูกตัดสินว่าผิดจริงในการสังหารชาวบ้าน 22 คน เดิมเขาต้องคำพิพากษาจากศาลทหารให้จำคุกและใช้แรงงานหนักตลอดชีวิต แต่กลับรับโทษกักขังในบ้านเพียงสามปีครึ่ง

การสังหารหมู่เกิดขึ้นในหมีลายและหมีแคซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก (hamlet) สังกัดหมู่บ้านเซินหมี[2][3] เหตุการณ์ดังกล่าวรู้จักกันในชื่ออื่นว่า การสังหารหมู่เซินหมี (เวียดนาม: thảm sát Sơn Mỹ) หรือบางครั้งว่า การสังหารหมู่ซ็องหมี ชื่อรหัสทางทหารของสหรัฐสำหรับ "ฐานเวียดกง" คือ "พิงก์วิลล์"[4]

เมื่อสาธารณะรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างแพร่หลายใน พ.ศ. 2512 ก็ได้เกิดความโกรธรุนแรงเป็นวงกว้างทั่วโลก การสังหารหมู่นี้ยังเพิ่มการคัดค้านในประเทศเรื่องความเกี่ยวข้องของสหรัฐในสงครามเวียดนามด้วย ทหารช่างสหรัฐสามนายผู้พยายามหยุดการสังหารหมู่และปกป้องผู้ได้รับบาดเจ็บภายหลังถูกสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐหลายคนติเตียน พวกเขาได้รับจดหมายขู่และพบสัตว์ถูกตัดแขนขาหน้าประตูบ้าน[5] อีก 30 ปีให้หลัง พวกเขาจึงได้รับการยกย่องสำหรับความพยายามนั้น[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Murder in the name of war—My Lai". BBC. July 20, 1998.
  2. Summary report from the report of General Peers เก็บถาวร 2000-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Department of the Army. Report of the Department of the Army Review of the Preliminary Investigations into the My Lai Incident (The Peers Report เก็บถาวร 2008-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), Volumes I-III (1970).
  4. "The My Lai Massacre: Seymour Hersh's Complete and Unabridged Reporting for the St. Louis Post Dispatch, November 1969 /Candide's Notebooks". Pierretristam.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  5. "Moral Courage In Combat: The My Lai Story" (PDF). USNA Lecture. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-03-16.
  6. http://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=5133444

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°10′42″N 108°52′10″E / 15.17833°N 108.86944°E / 15.17833; 108.86944{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้