ข้ามไปเนื้อหา

อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย

พิกัด: 19°42′N 106°46′E / 19.700°N 106.767°E / 19.700; 106.767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม

ภาพเรือยิงตอร์ปิโดสามลำของเวียดนามเหนือ ถ่ายจากยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์
วันที่2 สิงหาคม ค.ศ. 1964 (1964-08-02)
สถานที่19°42′N 106°46′E / 19.700°N 106.767°E / 19.700; 106.767
ผล มติอ่าวตังเกี๋ย; สงครามในเวียดนามเพิ่มความรุนแรง
คู่สงคราม
 สหรัฐ  เวียดนามเหนือ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • Le Duy Khoai[1]
  • Van Bot
  • Van Tu
  • Van Gián
กำลัง
เรือตอร์ปิโด 3 ลำ
ความสูญเสีย
  • เรือพิฆาตเสียหายบางส่วน 1 ลำ
  • อากาศยานเสียหายบางส่วน 1 ลำ[3]
  • เรือตอร์ปิโดเสียหายอย่างหนัก 1 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเสียหายระดับปานกลาง 2 ลำ
  • เสียชีวิต 4 นาย
  • บาดเจ็บ 6 นาย[4]

อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย (อังกฤษ: Gulf of Tonkin incident; เวียดนาม: Sự kiện Vịnh Bắc Bộ) หรือเรียกอุบัติการณ์ยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์ เป็นการเผชิญหน้าระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การเข้ามีส่วนโดยตรงมากขึ้นของสหรัฐในสงครามเวียดนาม เป็นการเผชิญหน้ายืนยันครั้งหนึ่ง และที่เป็นไปได้อีกครั้งหนึ่งระหว่างเรือรบของเวียดนามเหนือและสหรัฐในน่านน้ำอ่าวตังเกี๋ย รายงานเดิมของอเมริกันกล่าวโทษเวียดนามเหนือจากอุบัติการณ์ทั้งสองครั้ง แต่ตามเอกสารเพนตากอน บันทึกความทรงจำของโรเบิร์ต แม็กนามารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และสิ่งพิมพ์เผยแพร่ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติหลังปี 2005 พิสูจน์ว่ารัฐบาลสหรัฐโกหกเพื่ออ้างเหตุก่อสงครามกับเวียดนาม

วันที่ 2 สิงหาคม 1964 เรือพิฆาตสหรัฐ ยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์ (USS Maddox) ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนข่าวกรองสัญญาณ ถูกเรือตอร์ปิโดจากกองเรือตอร์ปิโดที่ 135 ของกองทัพเรือเวียดนามเหนือสามลำเข้าหา[5] แม็ดด็อกซ์ ยิงเตือนสามนัด และเรือรบเวียดนามเหนือโจมตีใส่ด้วยตอร์ปิโดและปืนกล แม็ดด็อกซ์ ยิงกระสุนขนาด 76 มม. และ 130 มม. รวมกว่า 280 นัดในการยุทธ์ครั้งนั้น อากาศยานสหรัฐได้รับความเสียหาย 1 ลำ เรือยิงตอร์ปิโดสามลำของเวียดนามเหนือได้รับความเสียหาย ลูกเรือเวียดนามเหนือเสียชีวิต 4 นาย และได้รับบาดเจ็บอีก 6 นาย ฝ่ายสหรัฐไม่มีกำลังพลสูญเสีย[6] ส่วนเรือ แม็ดด็อกซ์ "ไร้รอยขีดข่วน ยกเว้นรูกระสุนรูเดียวจากปืนกลเวียดนามเหนือ"[7]

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติทีแรกอ้างว่าอุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ยครั้งที่สองเกิดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม 1964 ว่าเป็นการยุทธ์ทางทะเลอีกหน แต่หลักฐานที่พบเป็น "ผีตังเกี๋ย"[8] (ภาพเรดาร์เท็จ) ไม่ใช่เรือยิงตอร์ปิโดเวียดนามเหนือ ผลลัพธ์ทำให้รัฐสภาสหรัฐผ่านมติอ่าวตังเกี๋ย ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีสหรัฐ ลินดอน บี. จอห์นสัน ให้อำนาจในการสนับสนุนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกคุกคามจาก "การรุกรานคอมมิวนิสต์" จอห์นสันใช้มติดังกล่าวเป็นการอ้างเหตุผลทางกฎหมายในการวางกำลังตามแบบของสหรัฐและประกาศสงครามโดยเปิดเผยกับเวียดนามเหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Moïse 2019, p. 78.
  2. Moïse 2019, p. 93.
  3. Moïse 2019, p. 94.
  4. Moïse 2019, pp. 95–96, 105.
  5. Starry. Department of the Army. 1978. P. 248
  6. Moïse 2019, pp. 94–96, 105.
  7. Hanyok, Robert J. (2001). "Skunks, Bogies, Silent Hounds, and the Flying Fish". Cryptologic Quarterly. Fort Meade: National Security Agency. 19/20 (4/1): 1–55 – โดยทาง Naval History and Heritage Command.
  8. Moïse 1996, pp. 106, 107

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]