การปรับอุณหภูมิกาย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
การปรับอุณหภูมิกาย[1] (อังกฤษ: Thermoregulation) คือความสามารถของสิ่งมีชีวิตในการรักษาระดับอุณหภูมิปกติของร่างกายให้อยู่ในช่วงที่ต้องการได้ แม้ว่าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมจะแตกต่างจากช่วงที่ต้องการเป็นอันมาก กระบวนการนี้เป็นด้านหนึ่งของการรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการสร้างดุลภาพระหว่างสถานภาพภายในร่างกายและสถานภาพของสิ่งแวดล้อมภายนอก (การศึกษากระบวนการที่ว่านี้ในสัตวศาสตร์เรียกว่า “นิเวศสรีรวิทยา” (ecophysiology)) ถ้าร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิปกติของร่างกายได้ และอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอย่างผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูง (hyperthermia) ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลงกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายอย่างผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (hypothermia)
ขณะที่สิ่งมีชีวิตที่ปรับอุณภูมิของร่างกายเป็นสิ่งมีชีวิตที่รักษาแกนอุณหภูมิของร่างกายภายในช่วงที่ต้องการ การปรับอุณหภูมิของร่างกายอีกแบบหนึ่งคือ “การปรับอุณหภูมิของร่างกายตามสิ่งแวดล้อม” (thermoconformer) เป็นการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของร่างกายตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกของร่างกาย
ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิของสัตว์ไม่เป็นที่ทราบจนกระทั่งเทอร์มอมิเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น และทำให้พบว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายสร้างและสูญเสียความร้อนต่างกันไปเป็นอันมาก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วระบบการหมุนเวียนของกระแสโลหิตจะช่วยรักษาอุณภูมิเฉลี่ยภายในร่างกายอยู่บ้าง ฉะนั้นการระบุว่าส่วนใดของร่างกายที่สะท้อนอุณภูมิของอวัยวะภายในได้อย่างใกล้เคียงที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปแล้ว ทวารหนักถือกันว่าเป็นตำแหน่งที่สะท้อนอุณภูมิของอวัยวะภายในได้อย่างใกล้เคียงที่สุด หรือในบางกรณีของเพศหรือสปีชีส์ก็อาจจะเป็นภายในช่องคลอด, มดลูก หรือ กระเพาะปัสสาวะ
บางครั้งอุณหภูมิของปัสสาวะขณะที่ออกจากท่อปัสสาวะก็อาจจะใช้เป็นเครื่องวัด แต่การวัดอุณหภูมิของร่างกายส่วนใหญ่จะทำจากปาก, รักแร้, หู หรือ ขาหนีบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปรับปรุงเมื่อ 6 ส.ค. 2544
- Handbook of Physiology, Kirkes, (Philadelphia, 1907)
- Simpson, S. & Galbraith, J.J. (1905) Observations on the normal temperatures of the monkey and its diurnal variation, and on the effects of changes in the daily routine on this variation. Transactions of the Royal Society of Edinburgh 45: 65-104.
- Weldon Owen Pty Ltd. (1993). Encyclopedia of animals - Mammals, Birds, Reptiles, Amphibians. Reader's Digest Association, Inc. Pages 567-568. ISBN 1875137491.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wong, Lena (1997). "Temperature of a Healthy Human (Body Temperature)". The Physics Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-08-22.