การประท้วงที่สะพานซี่ตง ปักกิ่ง
การประท้วงที่สะพานซี่ตง | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการประชาธิปไตยในจีน การประท้วงมาตรการโควิด-19 | |
สะพานซี่ตง ภาพถ่ายปี 2003 | |
วันที่ | 13 ตุลาคม 2022 |
สถานที่ | สะพานซี่ตง อำเภอไห่เดี้ยน ปักกิ่ง ประเทศจีน 39°57′56″N 116°18′55″E / 39.96564°N 116.31517°E |
สาเหตุ | ต่อต้านสี จิ้นผิง และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน |
วิธีการ | แขวนป้ายผ้า, เปิดสโลแกนทางลำโพง, เผายาง |
สถานะ | ผู้ประท้วงถูกจับกุม, ข้าวของถูกริบ |
การประท้วงที่สะพานซี่ตง (จีน: 四通桥; จีน: 四通桥; พินอิน: Sìtōng Qiáo) เป็นการประท้วงทางการเมืองในประเทศจีนในช่วงก่อนมีการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 การประท้วงเริ่มต้นในเช้าวันที่ 13 ตุลาคม 2022 ผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งคนประท้วงต่อต้านเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิง โดยประท้วงในประเด็นของลัทธิบูชาบุคคล, ระบอบเผด็จการ, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การเซนเซอร์ในประเทศ, การพยายามเป็นประธานาธิบดีตลอดชีวิต และการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ การประท้วงประกอบด้วยการแขวนป้ายผ้าและการเผายางบน สะพานซี่ตง (จีน: 四通桥; พินอิน: Sìtōng Qiáo) ในอำเภอไห่เดี้ยน ปักกิ่ง
ไม่เป็นที่ทราบเลยว่าผู้ประท้วงเป็นใคร แต่ในสื่อนิยมเรียกขานเขาว่าเป็น "บริดจ์แมน" (Bridge Man) ตาม "แทงค์แมน" (Tank Man)
ภูมิหลัง
[แก้]ในยุค 2000s ประเทศจีนมีการประท้วงในประเทศบ่อยครั้ง ประมาณการณ์ไว้ที่ประมาณ 180,000 ครั้งในปี 2010 ตามข้อมูของศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิงหัว Sun Liping[1]
การประท้วงต่อต้านสี จิ้นผิง และนโยบายของเขา ถือว่าพบได้ยากมาก เนื่องจากเป็นการประท้วงในไม่กี่วันก่อนการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งถือเป็นช่วงที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะกวดขันการประท้วงเป็นพิเศษ เป็นที่คาดการณ์กันไว้แล้วว่าสี จิ้นผิง จะขึ้นดำรงตำแหน่งต่อเป็นวาระที่สาม ในการประชุมใหญ่พรรคครั้งนี้[2][3][4][5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "China's Spending on Internal Policing Outstrips Defense Budget". Bloomberg News. March 6, 2011. สืบค้นเมื่อ October 15, 2022.
- ↑ "'New tank man': Rare protest in Beijing mars Xi Jinping's moment". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
the Sitong Bridge in Beijing on Friday, where protest banners with slogans criticizing the Communist Party’s policies were hung the day before, ahead of China’s 20th Communist Party Congress
- ↑ "'We all saw it': anti-Xi Jinping protest electrifies Chinese internet". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
Such an overt and publicised protest against Xi specifically would be significant at the best of times, but this occurred just days out from the ruling Communist party congress.
- ↑ "Anti-Xi protest spreads in China and worldwide as Chinese leader begins third term | CNN". CNN. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
Over the past week, as party elites gathered in Beijing’s Great Hall of the People to extoll Xi and his policies at the 20th Party Congress, anti-Xi slogans echoing the Sitong Bridge banners have popped up in a growing number of Chinese cities and hundreds of universities worldwide.
- ↑ "Unusual public criticism of Xi Jinping before CCP meeting". Quartz. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
- ↑ "China's 'Bridge Man' inspires Xi Jinping protest signs around the world". BBC News. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
A rare one-man protest against Xi Jinping in Beijing has inspired solidarity protests around the world as China's party congress sits this week.
- ↑ "Rare protest criticizes China's president days before Communist Party congress". NBC News. 13 October 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
A rare protest calling for Chinese President Xi Jinping’s overthrow was staged in the country’s capital Thursday, days before the start of the Communist Party congress, which is expected to cement his rule for an unprecedented third term.