ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติมองโกเลีย ค.ศ. 1911

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติมองโกเลีย ค.ศ. 1911

ประตูชัยชนะในพระราชวังฤดูหนาวของบอดจ์ ข่าน สร้างเพื่อรำลึกถึงชัยชนะในการประกาศเอกราช
วันที่ค.ศ. 1911
สถานที่
ผล

ฝ่ายปฏิวัติได้รับชัยชนะ

  • มองโกเลียประกาศเอกราช
  • สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
  • จัดตั้งคณะรัฐบาลแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี
  • สถาปนาระบอบเทวาธิปไตยศาสนาพุทธ
คู่สงคราม
รัฐบาลจักรวรรดิชิง ฝ่ายต่อต้านจักรวรรดิชิง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิผู่อี๋ (เคฟท์ โยส ข่านแห่งมองโกล)
จักรพรรดินีหลงยฺวี่ พระพันปีหลวง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ไจ้เฟิง เจ้าชายชุน ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
อี้ควง เจ้าชายชิ่ง นายกรัฐมนตรี
ซานโด อุปราชประจำมองโกเลีย
พันโท ถังไจ้หลี่ ผู้บัญชาการกองทัพมองโกเลีย
จอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ องค์ที่ 8
เซนโนโยนข่าน เจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน
ตือชีทข่าน ดาชายาม
เซทเซนข่าน นาวาอานเนอเหริน

การปฏิวัติมองโกเลีย ค.ศ. 1911 (การปฏิวัติมองโกเลียส่วนนอก ค.ศ. 1911) ได้เกิดขึ้นภายในภูมิภาคมองโกเลียส่วนนอก ได้ประกาศเอกราชจากชาวแมนจู ภายใต้การนำของราชวงศ์ชิง ในช่วงการปฏิวัติซินไฮ่[1] ได้เกิดขึ้นจากการรวมกันของปัจจัยต่างๆ ทั้งความยกลำบากทางเศรษฐกิจและความล้มเหลวในการต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้ประชาชนจำนวนมากในจีนไม่พอใจการบริหารของรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อมีนโยบายที่จะผนวกรวมดินแดนมองโกเลียให้เป็นส่วนหนึ่งของชาวฮั่น และการกลืนชาติชนพื้นเมือง ทำให้รัฐบาลชิงต้องรับมือกับกระแสการต่อต้าน ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการแยกตัวออกจากจักรวรรดิชิงโดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ หัวหน้าเผ่าหลายคนในเขตบาร์กาและมองโกเลียในต่างเข้าร่วมในการปฏิวัตินี้และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการปฏิวัติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mongolia's National Revolution of 1911 and the last emperor of Mongolia – VIII Bogdo Jetsundamba Khutukhtu" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2017-11-13.