การจราจรติดขัด
การจราจรติดขัด (อังกฤษ: traffic congestion) คือสภาวะที่มียานพาหนะหนาแน่นบนท้องถนน ส่งผลให้ความเร็วในการเดินทางลดลง เวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น และเกิดภาวะการชะลอตัวของยานพาหนะ ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนในเขตเมืองเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา[1] เมื่อจำนวนรถที่ต้องการใช้ถนนมีมากเกินกว่าที่ถนนนั้นสามารถรองรับได้ จะทำให้การเคลื่อนที่ของรถยนต์แต่ละคันส่งผลต่อกันและชะลอความเร็วของกระแสจราจรลง นำไปสู่ภาวะการจราจรติดขัด
เมื่อปริมาณการจราจรใกล้เคียงกับความจุของถนน (หรือทางแยก) จะเกิดภาวะการจราจรติดขัดอย่างรุนแรง เมื่อยานพาหนะหยุดนิ่งเป็นเวลานาน สถานการณ์นี้จะเรียกว่า รถติด (traffic jam)[2][3]
ผู้ขับขี่ที่ติดอยู่ในภาวะรถติดอาจเกิดความหงุดหวิดและก่อให้เกิดอาการโมโหบนท้องถนน (road rage) บ่อยครั้งที่ทั้งผู้ขับขี่และหน่วยงานจราจรมักจะเสนอวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มช่องจราจร ซึ่งวิธีนี้ไม่ส่งผลดีนัก ในทางกลับกัน การเพิ่มความจุถนนกลับกระตุ้นให้มีผู้ใช้รถยนต์มากขึ้น สร้างปัญหาการจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้นไปอีก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caves, R. W. (2004). Encyclopedia of the City. Routledge. p. 141.
- ↑ Treiber, Martin; Kesting, Arne (October 11, 2012). Traffic Flow Dynamics: Data, Models and Simulation (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. ISBN 978-3-642-32459-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2021. สืบค้นเมื่อ October 29, 2020.
- ↑ May, Adolf Darlington (1990). Traffic Flow Fundamentals (ภาษาอังกฤษ). Prentice Hall. ISBN 9780139260728. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2021. สืบค้นเมื่อ October 29, 2020.
- ↑ "An Initial Assessment of Freight Bottlenecks on Highways" (PDF). Federal Highway Administration. Cambridge Systematics, Inc. October 2005. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 9, 2023.