การจราจรติดขัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจราจรติดขัดในอิสตันบูล กลายเป็นโอกาสให้พ่อค้าขนมซีมิท 2 คน ขายอาหารให้กับคนขับรถ

การจราจรติดขัด (อังกฤษ: traffic congestion) คือสภาวะที่มียานพาหนะหนาแน่นบนท้องถนน ส่งผลให้ความเร็วในการเดินทางลดลง เวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น และเกิดภาวะการชะลอตัวของยานพาหนะ ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนในเขตเมืองเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา[1] เมื่อจำนวนรถที่ต้องการใช้ถนนมีมากเกินกว่าที่ถนนนั้นสามารถรองรับได้ จะทำให้การเคลื่อนที่ของรถยนต์แต่ละคันส่งผลต่อกันและชะลอความเร็วของกระแสจราจรลง นำไปสู่ภาวะการจราจรติดขัด

เมื่อปริมาณการจราจรใกล้เคียงกับความจุของถนน (หรือทางแยก) จะเกิดภาวะการจราจรติดขัดอย่างรุนแรง เมื่อยานพาหนะหยุดนิ่งเป็นเวลานาน สถานการณ์นี้จะเรียกว่า รถติด (traffic jam)[2][3]

ผู้ขับขี่ที่ติดอยู่ในภาวะรถติดอาจเกิดความหงุดหวิดและก่อให้เกิดอาการโมโหบนท้องถนน (road rage) บ่อยครั้งที่ทั้งผู้ขับขี่และหน่วยงานจราจรมักจะเสนอวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มช่องจราจร ซึ่งวิธีนี้ไม่ส่งผลดีนัก ในทางกลับกัน การเพิ่มความจุถนนกลับกระตุ้นให้มีผู้ใช้รถยนต์มากขึ้น สร้างปัญหาการจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้นไปอีก

สาเหตุของการจราจรติดขัด [4]

  คอขวด (40%)
  สภาพอากาศ (15%)
  การตั้งไฟสัญญาณไม่เหมาะสม (5%)
  กิจกรรมพิเศษ / อื่นๆ (5%)

อ้างอิง[แก้]

  1. Caves, R. W. (2004). Encyclopedia of the City. Routledge. p. 141.
  2. Treiber, Martin; Kesting, Arne (October 11, 2012). Traffic Flow Dynamics: Data, Models and Simulation (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. ISBN 978-3-642-32459-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2021. สืบค้นเมื่อ October 29, 2020.
  3. May, Adolf Darlington (1990). Traffic Flow Fundamentals (ภาษาอังกฤษ). Prentice Hall. ISBN 9780139260728. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2021. สืบค้นเมื่อ October 29, 2020.
  4. "An Initial Assessment of Freight Bottlenecks on Highways" (PDF). Federal Highway Administration. Cambridge Systematics, Inc. October 2005. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 9, 2023.