กรีฑา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรีฑา
สมาพันธ์สูงสุดกรีฑาโลก
ลักษณะเฉพาะ
แข่งรวมชายหญิงใช่
หมวดหมู่ในร่มหรือกลางแจ้ง
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกตั้งแต่ โอลิมปิกฤดูร้อน 1896
พาราลิมปิกตั้งแต่ พาราลิมปิกฤดูร้อน 1960

กรีฑา (อังกฤษ: athletics) หมายถึง กีฬาประเภทหนึ่งแบ่งเป็นประเภทลู่และลาน ประเภทลู่ ได้แก่ วิ่งระยะทางต่าง ๆ ประเภทลาน ได้แก่ ขว้างจักร กระโดดสูง ทุ่มน้ำหนัก มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 776ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยทำการแข่งขัน ณ ลาน เชิงเขาโอลิมปัส ในแคว้นอีลิส ประเทศกรีซ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณ เมื่อกรีซเสื่อมอำนาจลง โรมันได้เข้ามาปกครองกรีซและห้ามชาวกรีกแข่งขันกีฬา ทำให้การแข่งขันกรีฑาต้องล้มเลิกไปด้วย

ต่อมาใน พ.ศ. 2439 นักกีฬาชาวฝรั่งเศส ชื่อ ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ได้เริ่มการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่หลังจากล้มเลิกไปเป็นเวลานานถึง 1,500ปีกว่าๆ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ และกรีฑาเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย จากนั้นจึงมีพัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีการแข่งขันขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440กรีฑาซึ่งได้รับการจัดตั้งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงกีฬาโอลิมปิกสมัยยุคโบราณนับแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล และรายการแข่งขันกรีฑาสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีสโสมสรสมาชิกของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ(IAAF) กรีฑาเป็นกระดูกสันหลังของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ และการชุมนุมระหว่างประเทศชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้ง การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก (IAAF World Championships) และการแข่งขันกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก (World Indoor Championships) และกรีฑาสำหรับผู้พิการทางกายแข่งขันกันที่ พาราลิมปิกฤดูร้อน และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกของคณะกรรมการพาราลิมปิกในระหว่างประเทศ (IPC Athletics World Championships.)

ชนิดของกรีฑา[แก้]

  1. การวิ่งระยะสั้น คือ ระยะทางที่วิ่งไม่เกิน 400 เมตร ส่วนประกอบสำคัญในการวิ่งและการแกว่งแขน ท่าตั้งต้นก่อนวิ่งควรทำมุม 75-80 องศา
  2. การวิ่งผลัด เหมือนกับการวิ่งระยะสั้นต่างกันตรงมีไม้คทาถืออยู่ในมือเวลาวิ่ง
  3. การวิ่งข้ามรั้ว ควรฝึกกระโดดระดับสูงก่อน
  4. วิ่งกระโดดไกล คือ การโดดอย่างสูงจากพื้นไปในอากาศ การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ใช้ การเหยียดขาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
    1. กระโดดจากพื้นอย่างสูง
    2. ระยะลอยตัวในอากาศ
    3. ระยะลงพื้น
  5. วิ่งกระโดดสูง คือ การกระโดดขึ้นสปริงข้อเท้าข้างเดียว
    1. แบบท่ากลิ้งตัว
    2. แบบท่ากรรไกรทางตรง
    3. แบบท่ากรรไกร2ทาง
  6. ทุ่มน้ำหนัก เป็นกรีฑาประเภทลาน การฝึกทุ่มมี 2 ระยะคือ การทุ่มอยู่กับที่และการเคลื่อนที่ผ่านวงกลมทุ่ม
  7. ขว้างจักร วิธีขว้างจักรแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การขว้างอยู่กับที่และการหมุนตัวขว้าง ขว้างจักร
  8. พุ่งแหลน เป็นกรีฑาประเภทลาน การถือแหลน มี 2 แบบ คือ แบบถือเหนือไหล่และแบบชิดข้างลำตัว

ลู่และลาน[แก้]

การแข่งขันอย่างเป็นทางการในกรีฑาชิงแชมป์โลก
ประเภทลู่ ประเภทลาน รวมการแข่งขัน
การวิ่งระยะสั้น การวิ่งระยะกลาง การวิ่งทางไกล การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งผลัด กระโดด ขว้าง
60 เมตร
100 เมตร
200 เมตร
400 เมตร
800 เมตร
1500 เมตร
3000 เมตร
5000 เมตร
10,000 เมตร
ข้ามรั้ว 60 เมตร
ข้ามรั้ว 100 เมตร
ข้ามรั้ว 110 เมตร
ข้ามรั้ว 400 เมตร
ข้ามเครื่องกีดขวาง 3000 เมตร
ผลัด 4 × 100 เมตร
ผลัด 4 × 400 เมตร
กระโดดไกล
เขย่งก้าวกระโดด
กระโดดสูง
กระโดดค้ำถ่อ
ทุ่มน้ำหนัก
ขว้างจักร
ขว้างค้อน
พุ่งแหลน
ปัญจกรีฑา
สัตตกรีฑา
ทศกรีฑา
หมายเหตุ
  • ประเภทการแข่งขัน ที่เป็นตัวเอียง เป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกในร่มเท่านั้น
  • สัตตกรีฑาแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท โดยแต่ละการแข่งขันประกอบด้วยชนิดที่แตกต่างกัน และทั้งสองได้รับการยอมรับจากสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ ได้แก่ สัตตกรีฑาในร่มชาย และสัตตกรีฑากลางแจ้งหญิง

กรีฑาในประเทศไทย[แก้]

การเล่นกรีฑาในประเทศไทย ริเริ่มโดยครูชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทย ได้ฝึกเล่นในโรงเรียนพระตำหนักวังสวนกุหลาบ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้น เมื่อกระทรวงธรรมการเริ่มทำการได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานและทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นมากระทรวงธรรมการ ได้พยายามจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาเป็นประจำปีตลอดมา

ใน พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้ตั้งกรมพลศึกษาขึ้น มีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น สนับสนุนให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น การแข่งขันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย และระหว่างประชาชนควบคู่กันไปภายใต้การดำเนินงานของกรมพลศึกษา

สมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยมีพระยาจินดารักษ์ เป็น นายกสมาคมคนแรก และในปีเดียวกันก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF)

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม รับสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปัจจุบัน การแข่งขันกรีฑาถือเป็นกีฬาหลักที่จะต้องบรรจุเข้าอยู่ในการแข่งขันรายการสำคัญๆ ทุกครั้ง และนักกรีฑาของไทยหลายคน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในการแข่งขันระหว่างชาติหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการวิ่งผลัด