กระเพาะพัก
กระเพาะพัก (อังกฤษ: crop, croup, craw, inglusives) เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารที่มีผนังบาง ใช้สำหรับเก็บอาหารก่อนการย่อย โครงสร้างทางกายวิภาคนี้พบได้ในสัตว์หลายชนิด รวมถึง นก ไดโนเสาร์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังรวมถึง สัตว์ในชั้นแกสโทรโพดา (เช่น ทากและหอยทาก), ไส้เดือนดิน,[1] ปลิง,[2] และแมลง[3]
ผึ้ง
[แก้]ผึ้งเก็บน้ำต้อยของดอกไม้ไว้ในกระเพาะพักเป็นการชั่วคราว เมื่อผึ้ง "ดูด" น้ำต้อย พวกมันเก็บไว้ในกระเพาะพัก[4]
นก
[แก้]ในระบบการย่อยอาหารของนก กระเพาะพักคือถุงซึ่งขยายขนาดได้ตั้งอยู่ใกล้หลอดอาหาร (gullet) หรือคอ เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลอดอาหาร กระเพาะพักใช้เก็บอาหารชั่วคราว ไม่ใช่นกทุกชนิดจะมีกระเพาะพัก นกพิราบที่โตเต็มวัยสามารถผลิตสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำนม (crop milk) ภายในกระเพาะพักเพื่อเป็นอาหารให้กับลูกนกแรกเกิด[5]
นกที่กินซากสัตว์ เช่น แร้ง จะกินจนเกินอิ่มเมื่อมีเหยื่อจำนวนมาก จนทำให้กระเพาะพักโป่งพอง จากนั้นพวกมันจึงนั่งเพื่อย่อยอาหาร
นกนักล่าส่วนใหญ่ รวมถึง เหยี่ยว นกอินทรี และ แร้ง มีกระเพาะพัก อย่างไรก็ตาม นกฮูกไม่มีกระเพาะพัก นกกระทามีกระเพาะพักส่วนนกในวงศ์นกคุ่มอืดไม่มี ไก่และไก่งวงมีกระเพาะพัก ทว่าห่านไม่มี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Worm World: About Earthworms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2008.
- ↑ Sawyer, Roy T. "Leech Biology and Behaviour, Volume II" (PDF). สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2014.
- ↑ Triplehorn, Charles A; Johnson, Norman F (2005). Borror and DeLong's introduction to the study of insects (7th ed.). Australia: Thomson, Brooks/Cole. ISBN 978-0-030-96835-8.
- ↑ "Honeybee Biology". 1994. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2008.
- ↑ Gordon John Larkman Ramel (29 กันยายน 2008). "The Alimentary Canal in Birds". สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2008.