ข้ามไปเนื้อหา

กปาลีศวรมนเทียร

พิกัด: 13°02′0″N 80°16′6″E / 13.03333°N 80.26833°E / 13.03333; 80.26833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กปาลีศวรมนเทียร
Kapaleeshwarar Temple
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตเจนไน
เทพพระกปาลีศวร (พระศิวะ) Karpagambal
ที่ตั้ง
ที่ตั้งไมลาปอร์ (Mylapore)
รัฐทมิฬนาฑู
ประเทศประเทศอินเดีย
กปาลีศวรมนเทียรตั้งอยู่ในเจนไน
กปาลีศวรมนเทียร
ที่ตั้งในเจนไน
พิกัดภูมิศาสตร์13°02′0″N 80°16′6″E / 13.03333°N 80.26833°E / 13.03333; 80.26833

กปาลีศวรมนเทียร (อังกฤษ: Kapaleeshwarar Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระศิวะ ตั้งอยู่ในไมลาปอร์ (Mylapore), เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย พระชายาของพระศิวะ พระปารวตี ที่ประทับอยู่ ณ มนเทียรนี้มีชื่อเรียกว่า กรปกัมพล (Karpagambal) จากภาษาทมิฬ แปลว่า "เทวีแห่งต้นไม้ให้พร" ("Goddess of the Wish-Yielding Tree") มนเทียรนี้สร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สร้างด้วยสถาปัตยกรรมดราวิเดียน[1][2] เชื่อกันว่าสร้างในสมัยของจักรวรรดิวิชัยนคร (Vijayanagar)

ในปุราณะระบว่า ศักตินั้นทรงบูชาพระศิวะในรูปปางของนกยูง จึงเป็นที่มาของชื่อพื้นถิ่นว่า เมยิลาย (Mylai; Mayilāi เป็นภาษาทมิฬแปลว่านกยูง) ของพื้นที่โดยรอบมนเทียร[3] พระศิวะที่ประทับที่นี่ในรูป "กปาลีศวร" (Kapaleeswarar) และมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ ส่วนพระปารวตี พระชายา ประทับในรูป "กรปคัมพล" (Karpagambal)

ชื่อ "กปาลีศวร" นั้นมาจากคำว่า กปาล (kapāla; กบาล หรือศีรษะ) และ อิศวร (Īśvara) หมายถึงความยิ่งใหญ่และความศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจหมายถึงพระอิศวร ตำนานในปุราณะระบุว่าขณะการพบปะกันของพระพรหมและพระศิวะบนเขาไกรลาศนั้น พระพรหมมิได้แสดงความเคารพต่อพระศิวะตามที่เคยทำ พระศิวะจึงทรงถอดเศียรหนึ่งจากหลายเศียร (กปาลัม; kapalam หรือ กบาล) ของพระพรหมออก เพื่อเป็นการสำนึกผิด พระพรหมได้เสด็จลงมายังบริเวณไมลาปอร์ (Mylapore) และประดิษฐานศิวลึงค์ไว้ เพื่อโปรดพระศิวะ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Silas 2007, p. 114
  2. Kamath 2002, pp.28-31
  3. Hurd 2010, p. 36
  4. V., Meena (1974). Temples in South India (1st ed.). Kanniyakumari: Harikumar Arts. p. 46.

บรรณานุกรม

[แก้]