ข้ามไปเนื้อหา

กบฏ 7 รัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏ 7 รัฐ
วันที่154 ปีก่อนคริสตกาล
สถานที่
ภาคตะวันออกของจีน
ผล ราชสำนักฮั่นได้ชัยชนะ

กบฏ 7 รัฐ (จีนตัวย่อ: 七国之乱; จีนตัวเต็ม: 七國之亂) เกิดขึ้นเมื่อ 154 ปีก่อนคริสตกาล โดยกษัตริย์ในดินแดนต่าง ๆ ที่ปกครองตนเอง ลุกขึ้นต่อต้านจักรพรรดิฮั่นจิง เพื่อขัดขวางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง[1]

ปูมหลัง

[แก้]

ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น หลิวปัง หรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กับพระญาติจำนวนมาก โดยมอบดินแดนที่ครอบคลุมประมาณหนึ่งในสามกับอีกครึ่งหนึ่งของอาณาจักรให้ปกครอง นี่เป็นความพยายามของราชสกุลหลิวในการรวมอำนาจปกครองส่วนต่าง ๆ ของจีนให้แน่นแฟ้นขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากเมืองหลวง ซึ่งปกครองโดยระบบมณฑล[2]

ในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน พระราชโอรสของจักรพรรดิเกาจู่ เจ้าชายเหล่านี้มีอำนาจมาก พวกเขาสามารถออกกฎหมายของตนเองได้ และยังสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์และเก็บภาษีเองได้ด้วย โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากจักรพรรดิฮั่นเหวิน เจ้าชายหลายพระองค์เพิกเฉยต่ออำนาจของราชสำนัก เมื่อจักรพรรดิฮั่นจิงขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาคือจักรพรรดิฮั่นเหวิน เมื่อ 157 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรอู่ของหลิวพี พระราชนัดดาของจักรพรรดิเกาจู่ มีอำนาจมากที่สุด

โหมโรง

[แก้]
รูปปั้นทหารดินเผาจากสุสานของจักรพรรดิฮั่นจิง[3]

จักรพรรดิฮั่นจิงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระญาติของพระองค์คือหลิวพี อู่หวัง พระราชนัดดาของจักรพรรดิเกาจู่ ซึ่งอาณาจักรอู่ร่ำรวยเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายทั้งทองแดงและเกลือ[4]

ประมาณ 179–175 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อจักรพรรดิฮั่นจิงยังเป็นองค์ชายรัชทายาท หลิว เสียน พระโอรสของหลิวพีได้เสด็จไปเมืองหลวงฉางอานอย่างเป็นทางการ และพวกเขาแข่งขันกันในเกมกระดาน หลิวโป ในระหว่างการโต้เถียงเกี่ยวกับเกม หลิว เสียนทำให้องค์รัชทายาทขุ่นเคืองและโยนกระดานหลิวโป ไปที่หลิว เสียนส่งผลให้หลิว เสียน สิ้นพระชนม์

เฉา ซั่ว ที่ปรึกษาคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นจิง เสนอให้ใช้ความผิดที่บรรดาเจ้าชายกระทำ ซึ่งจักรพรรดิฮั่นเหวินมักจะเพิกเฉย เป็นข้ออ้างในการลดขนาดอาณาเขตของบรรดาเจ้าชาย เพื่อลดอำนาจและภัยคุกคาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rafe de Crespigny (1967). "An Outline of the Local Administrations of the Later Han Empire" (PDF). Chung-chi Journal: 57–71.
  2. Telly H. Koo (1920). "The Constitutional Development of the Western Han Dynasty". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 40: 170–193. doi:10.2307/593418. JSTOR 593418.
  3. Paludan, Ann. (1998). Chronicle of the Chinese Emperors: the Reign-by-Reign Record of the Rulers of Imperial China. London: Thames & Hudson Ltd., pp 34–36, ISBN 0-500-05090-2.
  4. Francis Allard, Yan Sun, Kathryn M. Linduff (2018). Memory and Agency in Ancient China: Shaping the Life History of Objects. Cambridge University Press. p. 108. ISBN 9781108472579.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)