จาง อี้โหมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Zhang Yimou)
จาง อี้โหมว
จาง อี้โหมว ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮาวาย ปี 2005
จาง อี้โหมว ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮาวาย ปี 2005
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2493 (73 ปี)
จาง อี้โหมว (张艺谋)
คู่สมรสกง ลี่ (ช่วง 2530 - 2538)
Hua Xie (ปัจจุบัน)
อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับภาพ, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน
แบฟตาBest Foreign Film
พ.ศ. 2534 - Raise the Red Lantern
พ.ศ. 2537 - To Live
ฐานข้อมูล
IMDb

จาง อี้โหมว (จีน: 张艺谋; พินอิน: Zhāng Yìmóu; 2 เมษายน พ.ศ. 2493 - )[1][2] เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเริ่มเข้าสู่วงการ ด้วยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Red Sorghum งานของเขามักมีจุดเด่นในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกต่อการใช้สี ดังที่เห็นได้ในภาพยนตร์ไตรภาคเรื่องแรกๆ เช่น Raise the Red Lantern หรือในหนังศิลปะการต่อสู้ เช่น Hero และ House of Flying Daggers

ในปี พ.ศ. 2551 จาง อี้โหมว ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และในอีก 14 ปีต่อมา เขาก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้อำนวยการแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ซึ่งจัดขึ้นที่ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง เช่นเดียวกับโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

ประวัติ[แก้]

จาง อี้โหมว เกิดที่เมืองซีอาน บิดาเป็นนายทหารในกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋ง ภายใต้การนำของนายพลเจียง ไคเช็ก และพี่ชายเป็นทหารในกองทัพ ในสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ชีวิตในวัยเด็กของเขาต้องประสบความลำบาก

ในปี พ.ศ. 2509 ช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาต้องออกจากโรงเรียน และไปเป็นผู้ใช้แรงงานในโรงงานปั่นฝ้าย ในช่วงนี้เขาเริ่มงานเขียนภาพ และถ่ายภาพ โดยขายเลือดของตัวเองเพื่อนำเงินมาสะสมซื้อกล้องถ่ายภาพ

จาง อี้โหมว สมัครเข้าเรียนที่สถาบันภาพยนตร์ปักกิ่ง เมื่อ พ.ศ. 2521 ทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติเพราะอายุเกิน และเรียนไม่จบ แต่เขาเขียนจดหมายถึงกระทรวงวัฒนธรรม อ้างว่าต้องเสียเวลาไปถึงสิบปีในช่วงปฏิวัติทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายผลงานส่วนตัวควบคู่ไปด้วย ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับอนุมัติเข้าเรียนเป็นกรณีพิเศษ เขาจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2525 รุ่นเดียวกับ เฉิน ข่ายเกอ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "ผู้กำกับภาพยนตร์จีนรุ่นที่ 5" [3]

ในปี พ.ศ. 2527 จาง อี้โหมว ร่วมงานเป็นผู้กำกับภาพให้กับ เฉิน ข่ายเกอ ในภาพยนตร์ "Yellow Earth" และภาพยนตร์เรื่องถัดมา " The Big Parade" (2528) ภาพยนตร์ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างดี และสร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์จีนรุ่นที่ 5

ภาพยนตร์เรื่องถัดมา จาง อี้โหมว เป็นผู้กำกับภาพ และร่วมแสดง เรื่อง "Old Well" ได้รับรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจาก เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว จากความสำเร็จในเรื่องนี้ เขาได้รับการสนับสนุนให้กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก "Red Sorghum" ในปี พ.ศ. 2530 ภาพยนตร์ได้รับรางวัล หมีทองคำ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน

หลังเสร็จสิ้นการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ศึกโค่นบัลลังก์วังทอง (Curse of the Golden Flower) จาง อี้โหมว ได้พักงานภาพยนตร์ชั่วคราว เพื่อเป็นผู้อำนวยการแสดงใน พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ประเทศจีน[4]

ในปี พ.ศ. 2565 จางได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นผู้อำนวยการแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022[5]

ผลงาน[แก้]

กำกับภาพยนตร์[แก้]

  • Red Sorghum (红高粱 1987)
  • Codename Cougar (代号美洲豹 1989)
  • Ju Dou (菊豆 1991)
  • Raise the Red Lantern (大红灯笼高高挂 1992)
  • The Story of Qiu Ju (秋菊打官司 1992)
  • To Live (活着 1994)
  • Shanghai Triad (摇啊摇,摇到外婆桥 1995)
  • Lumière and Company (1995)
  • Keep Cool (有话好好说 1997)
  • Not One Less (一个都不能少 1999)
  • The Road Home (我的父亲母亲 1999)
  • Happy Times (幸福时光 2000)
  • Hero (英雄 2002)
  • House of Flying Daggers (十面埋伏 2004)
  • Riding Alone for Thousands of Miles (千里走单骑 2005)
  • Curse of the Golden Flower (满城尽带黄金甲 2006)
  • The Great Wall (2016)

กำกับภาพ[แก้]

  • One and Eight (一個和八個 1982)
  • Yellow Earth (黃土地 1984)
  • Old Well (老井 1986)
  • The Big Parade (大阅兵 1986)

นักแสดง[แก้]

  • Old Well (老井 1986)
  • Red Sorghum (红高粱 1987)
  • Fight and Love with a Terracotta Warrior (古今大战秦俑情 1989) (ชื่อไทย: เทียนฟง คนตรงสามพันปี)
  • Keep Cool (有话好好说 1997)

อ้างอิง[แก้]

  1. Farquhar, Mary (May 2002). "Zhang Yimou". Senses of Cinema. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2010. สืบค้นเมื่อ 27 September 2010.
  2. "Zhang Yimou | Biography, Credits, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
  3. "ผู้กำกับรุ่น 5 : นำพาหนังจีนสู่เวทีโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
  4. "Zhang Yimou and his five creative generals". Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2009. สืบค้นเมื่อ 21 August 2008.
  5. "Chinese director Zhang Yimou to oversee opening ceremony of 2022 Winter Olympics". The Standard. Reuters. 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การสัมภาษณ์และบทความ