วี. คณปติ สถปติ
วี. คณปติ สถปติ | |
---|---|
เกิด | 30 กันยายน 1927 กรอิกุฑี รัฐมัทราส บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 5 กันยายน 2011 (สิริอายุ 84)[1] เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย |
สัญชาติ | อินเดีย |
มีชื่อเสียงจาก | สถาปนิก, ปะติมากร, นักประพันธ์ |
ขบวนการ | วาสตุศาสตระ |
รางวัล | ปัทมภูษาณ |
ไวทยนาถะ[2] คณปติ สถปติ (อักษรโรมัน: Vaidyanatha Ganapati Sthapati, 1927 – 5 กันยายน 2011) เป็น สถปติ (สถาปนิกและผู้สร้างโบสถ์พราหมณ์) ผู้ชำนาญการด้านการออกแบบโดยใช้หลักวาสตุศาสตระ ตามธรรมเนียมของฤาษีมมุณี มยัน
หลังจบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จากวิทยาลัย ดร. อลคัปปะ เจตติยัร (Dr. Alagappa Chettiar College) ในกรอิกุฑิ เขาเริ่มเป็น สถปติ ให้กับปฬนิมุรุคันเทวาลัย ในปฬนิ รัฐทมิฬนาฑู และดำรงตำแหน่งครูใหญ่วิทยาลัยสถาปัตยกรรมและประติมากรรมของรัฐประจำรัฐทมิฬนาฑูที่มามัลลปุรัมระหว่างปี 1957 ถึง 1960 นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เขามีส่วนร่วมในหลักสูตรการสอนเรื่องวาสตุศาสตระที่มหาวิทยาลัยมัทราส หลังเกษียณอายุราชการ เขาได้ก่อตั้งองค์การและหน่วยวิจัยด้านวาสตุศาสตระขึ้น[3]
ผลงาน
[แก้]สถาปัตยกรรมและประติมากรรม
[แก้]สถปติมีส่วนร่วมในชิ้นงานมากมาย โดยผลงานบางส่วนที่โดดเด่นของสถปติ เช่น
- รูปปั้นติรุวัฬฬุวัร - ประติมากรรมรูปกวีเอกชาวทมิฬ ติรุวัฬฬุวัร ที่ปลายแหลมในกันยกุมารี รัฐทมิฬนาฑู ความสูง 40.5 เมตร[4]
- อาคารบางส่วนเช่นอาคารอำนวยการและหอสมุดของมหาวิทยาลัยทมิฬ ที่ตัญชูร
- วัฬฬุวัรโกฏฏัม เจนไน รัฐทมิฬนาฑู
- ประติมากรรมหินแกรนิตรูปวีรสตรี กันนคิ จากมหากาพย์ทมิฬเรื่องสีลัปปติกรรม ที่หอศิลป์ในปูมปุหัร เจนไน รัฐทมิฬนาฑู
- ราชโคปุรัมของเทวาลัยพระศรีราม และเทวาลัยพระศรีคเณศศิวทุรคา มหาเทวาลัยเกรตเตอร์ชิคาโก เลอมอนต์ รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐ[5]
- เทวาลัยพระศรีมุรุคัน ฟีจี
- สานมรรคไอราวัณเทวาลัย คาไว รัฐฮาวาย สหรัฐ
- ศรีศิววิษณุเทวาลัย รัฐแมริแลนด์ สหรัฐ
- รูปปั้นมหาพุทธรูป พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[6]
งานประพันธ์
[แก้]งานประพันธ์ของสถปติมีอยู่จำนวนมากซึ่งล้วนเกี่ยวของกับศาสตร์และเทคโนโลยีของวาสตุศาสตร์[7] เขายังก่อกตั้งสำนักพิมพ์ของตนเองในชื่อ สำนักพิมพ์ทักษิณาพับลิชชิ่ง (Dakshinaa Publishing) เพื่อตีพิมพ์และวางจำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับวาสตุศาสตร์ ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของสถาปัตยเวท (Building architecture of Sthapatya veda) ซึ่งได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการอย่างมาก[7]
บรรณานุกรมงานประพันธ์ของเขาบางส่วน เช่น:
- Building architecture of Stha-patya Veda. Dakshinaa Pub. House. 2005.
- Building Architecture of Sthapatya Veda, Illustrations Volume II[8]
- The scientific edifice of Brihadeeswara temple, Tanjore Tamilnadu. Chennai, India: Dakshinaa Pub. House. OCLC 297209860.[ลิงก์เสีย]
- Significance of vimānam & gopuram. Chennai, India: Dakshinaa Pub. House. OCLC 297209865.[ลิงก์เสีย]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ibnlive.in
- ↑ Variations of the name "Vaidyanatha" which have been observed in the literature include: Vaithyanadhan, Vaithyanatha, and Vaithyanathan.
- ↑ "Dr. V. Ganapati Sthapati". Vaastu Vijnani Dr. Ganapati Sthapati. Dr. V. Ganapati Sthapati & Associates. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.
- ↑ "Jayalalithaa plans Rs 100-crore statue for Mother Tamil". The Times of India. 15 May 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
- ↑ "Temple History". Hindu Temple of Greater Chicago. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-17. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.
- ↑ {{Cite web|url=https://ssvt.org/about/history.asp%7Ctitle=Sri Siva Vishnu Temple|website=ssvt.org|access-date=17 December 2018|archive-date=2018-12-17|archive-url=https://web.archive.org/web/20181217110927/https://ssvt.org/about/history.asp%7Curl-status=dead}}
- ↑ 7.0 7.1 Mahalingum., Kolapen (c. 2002). Hindu temples in North America : a celebration of life. Kolapen, Sañjay., Hindu University of America., Council of Hindu Temples of North America. (1st ed.). Orlando, Fla.: Hindu University of America. ISBN 9780971631007. OCLC 79385539.
- ↑ "Daskhinaa publishing house | Vastu Vedic Trust". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-19. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลบุคคลบนเว็บ วาสตุเวท เก็บถาวร 2010-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน