แมตช์สหภาพโซเวียตและรัสเซียปะทะส่วนที่เหลือของโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก USSR and Russia versus the Rest of the World)

ได้มีการแข่งหมากรุกสากลสองแมตช์ที่มีสหภาพโซเวียตปะทะส่วนที่เหลือของโลกใน ค.ศ. 1970 และ 1984 และรัสเซียปะทะส่วนที่เหลือของโลกหนึ่งแมตช์ใน ค.ศ. 2002 โดยสหภาพโซเวียตได้ชนะในสองแมตช์แรก และ "ส่วนที่เหลือของโลก" ชนะในแมตช์ที่สาม

สองแมตช์แรกเป็นระหว่างหนึ่งทีมจากสภาพโซเวียต กับหนึ่งทีมผู้เล่นจาก "ส่วนที่เหลือของโลก" ส่วนแมตช์ที่สาม (ระหว่างรัสเซียกับส่วนที่เหลือของโลก) เป็นแมตช์แรกที่เกิดขึ้นหลังจากการแตกสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งหมายความว่าบางประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตในสองแมตช์แรกตอนนี้ได้อยู่ในทีม "ส่วนที่เหลือของโลก" แทน

ในการแข่งขันทั้งหมดทีมประกอบด้วยสมาชิก 10 คน (บวกตัวสำรองบางคน) ในสองแมตช์แรก ทีมได้รับการจัดเรียงตามลำดับ (จากบอร์ด 1 ถึงบอร์ด 10) และสมาชิกแต่ละคนจากหนึ่งทีมจะได้เล่นเกมสี่เกมปะทะกับทีมอื่นเท่ากัน ส่วนในการแข่งแมตช์ที่สาม ผู้เล่นแต่ละคนเล่นเกมปะทะกับสมาชิกที่แตกต่างกันสิบคนของทีมอื่น (การแข่งระบบเชเวนิเงน) ด้วยการควบคุมเวลาที่เร็วกว่าการแข่งสองแมตช์แรก

ภูมิหลัง[แก้]

เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เข้าสู่แมตช์ที่สาม ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสหภาพโซเวียต (USSR) ได้ยกระดับมาตรฐานหมากรุกให้อยู่ในระดับที่ชาติอื่น ๆ เท่านั้นที่จะปรารถนา สหภาพโซเวียตได้ผลิตแชมป์โลกแบบไม่ขาดสายตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง 1970 นับตั้งแต่การเข้าร่วมครั้งแรก สหภาพโซเวียตได้ครอบงำการแข่งขันหมากรุกของทีมอย่างสมบูรณ์ เช่น หมากรุกสากลโอลิมเปียด และชิงแชมป์ทีมยุโรป สิ่งที่เด่นชัดคือช่องว่างระหว่างฝ่ายทีมชาติโซเวียตกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุด โดยต้องมีความท้าทายที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อประเมินขอบเขตอำนาจสูงสุดของพวกเขาอย่างเต็มที่ ความท้าทายดังกล่าวเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1970 เมื่อมักซ์ อูแว (ประธานสมาพันธ์หมากรุกสากลโลกในขณะนั้น) ได้ประกาศการแข่งขัน เพื่อให้พลังร่วมจากส่วนที่เหลือของโลก เข้าต่อสู้กับความแข็งแกร่งของสหภาพโซเวียต

หากโซเวียตเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะสวมมงกุฎเกียรติยศ ค่ายระดับโลกก็มุ่งมั่นที่จะแสดงให้เห็นว่าการปรากฏตัวของบอบบี ฟิชเชอร์ ในฐานะแชมป์โลกในอนาคตเป็นเครื่องแสดงของการเปลี่ยนแปลงที่แพร่หลายมากขึ้นในฐานอำนาจ[ต้องการอ้างอิง]

แม้ว่าสงครามเย็นจะบงการอารมณ์ทางการเมืองในยุคนั้น แต่ผู้เล่นจากกลุ่มตะวันออกซึ่งถูกครอบงำทางการเมืองโดยสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมในฝั่งส่วนที่เหลือของโลกในทั้งสองแมตช์ โดยเฉพาะจากประเทศฮังการี และในแมตช์แรกจากประเทศเชโกสโลวาเกียและเยอรมนีตะวันออก ร่วมกับผู้เล่นากกลุ่มตะวันตก รวมถึงจากประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเป็นกลาง เช่น ยูโกสลาเวีย และสวิตเซอร์แลนด์

แมตช์แรก ที่เบลเกรด ค.ศ. 1970[แก้]

แมตช์แรกเกิดขึ้นในเบลเกรด ณ วันที่ 29 มีนาคม – 5 เมษายน ค.ศ. 1970 และได้รับการเรียกกันในฐานะ "การแข่งขันแห่งศตวรรษ – สหภาพโซเวียตปะทะส่วนที่เหลือของโลก"

ซึ่งสมาชิกในทีมสิบคนเล่นเกมสี่เกมปะทะกับพวกตรงกันข้าม โดยสามารถใช้ตัวสำรองสองคนเพื่อเติมเต็มบนบอร์ดใดก็ได้ตามคำสั่งของกัปตันทีม

มักซ์ อูแว เป็นกัปตันทีม "ส่วนที่เหลือของโลก" และเขาได้ประกาศคำสั่งผู้เล่นของทีม สำหรับครั้งแรก ระบบการจัดอันดับของอาร์แพด อีโล ได้รับการใช้เพื่อกำหนดการสรรและลำดับของบอร์ด ยกเว้นในกรณีของลาร์เซน และฟิชเชอร์ ซึ่งลาร์เซนไม่สามารถยอมรับได้ว่าการจัดอันดับของฟิชเชอร์ได้ทำให้เขาเป็นบอร์ด 1 ของโลกเมื่อช่วงที่ไม่มีกิจกรรมล่าสุดของฟิชเชอร์เทียบกับความสำเร็จล่าสุดของลาร์เซน หลังจากการเจรจาหลายครั้ง และในขณะที่ความไม่ลงรอยกันที่กำลังขยายดูเหมือนจะเป็นอันตรายต่อการแข่ง ฟิชเชอร์ก็ตกลงอย่างน่าประหลาดใจที่จะก้าวลงสู่บอร์ด 2 ส่วนอูแวได้ประกาศรายชื่อผู้เล่นตัวจริงล่วงหน้าก่อนการแข่ง

อ้างอิง[แก้]

  • FIDE website account of Belgrade match
  • OlimpBase account of London match
  • Report on all 3 matches from Moscow match sponsor, Alfa Bank
  • Kenneth Whyld (1986), Guinness Chess, The Records, Guinness Publishing Ltd, ISBN 0-85112-455-0
  • Andric, Dragoslav (June 1970), "The Match of the Century", Chess Life, 25 (6): 297–301
  • Brady, Frank (1973), Bobby Fischer: Profile of a Prodigy (2nd ed.), Dover, ISBN 0-486-25925-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]