เทลส์ออฟเซสทิเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tales of Zestiria)
เทลส์ออฟเซสทิเรีย
ผู้พัฒนาบันไดนัมโคสตูดิโอส์
ผู้จัดจำหน่ายบันไดนัมโคเอนเตอร์เทนเมนต์
กำกับ
  • Yuuta Hase
  • Mari Miyata
อำนวยการผลิตHideo Baba[1]
ออกแบบ
  • Hikaru Kondo
  • Tatsuro Udo<[2]
ศิลปิน
เขียนบท
  • Naoki Yamamoto
  • Takashi Hasegawa
แต่งเพลง
ชุดเทลส์
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
22 มกราคม 2015
  • เพลย์สเตชัน 3
    • JP: 22 มกราคม 2015[5]
    • EU: 16 ตุลาคม 2015[4]
    • NA: 20 ตุลาคม 2015[4]
    เพลย์สเตชัน 4
    • JP: 7 กรกฎาคม 2016[6]
    • EU: 16 ตุลาคม 2015[4]
    • NA: 20 ตุลาคม 2015[4]
    ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
    • EU: 16 ตุลาคม 2015
    • NA: 20 ตุลาคม 2015[4]
แนวแอ็กชันเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น

เทลส์ออฟเซสทิเรีย (ญี่ปุ่น: テイルズ オブ ゼスティリアโรมาจิTeiruzu Obu Zesutiria) เป็นวิดีโอเกมแนวแอ็กชันเล่นตามบทบาท ตัวเกมเป็นเกมภาคหลักลำดับที่สิบห้าในซีรีส์ เทลส์ พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบันไดนัมโคเอนเตอร์เทนเมนต์ วางจำหน่ายในเดือนมกราคม 2015 ในญี่ปุ่นสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 3 และสำหรับฝั่งตะวันตกในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ตัวเกมยังถูกพอร์ตลงเพลย์สเตชัน 4 และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ผ่านสตีม เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 4 วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 2016 เช่นเดียวกับเกมก่อนหน้าในซีรีส์ เทลส์ ตัวเกมใช้รูปแบบของระบบลิเนียร์โมชันแบตเทิลซิสเต็มแบบแอ็กชันที่มีองค์ประกอบเพิ่มเติมรวมถึงระบบโอเพนเวิลด์ที่สามารถนำทางได้ และความสามารถของตัวละครบางตัวในการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในการต่อสู้เพื่อส่งมอบการโจมตีที่ทรงพลัง

ตัวเกมเริ่มการพัฒนาในปี 2012[7] โดยเป็นเกมฉลองครบรอบ 20 ปีของซีรีส์ เทลส์[8] โดยเป็นการกลับมาที่ธีมหลักของซีรีส์ ซึ่งเรื่มจาก เทลส์ออฟแฟนตาเซีย ซึ่งเป็นเกมแรกของซีรีส์ และนำเสนอระบบเกมที่ปรับปรุงใหม่ นักพัฒนาเกมหลายคนจากเกม เทลส์ ก่อนหน้านี้กลับมาอีกครั้ง ทั้งโปรดิวเซอร์ Hideo Baba, โปรแกรมเมอร์การต่อสู้ Tatsuro Udo, นักออกแบบ Kōsuke Fujishima และ Mutsumi Inomata และนักแต่งเพลง Motoi Sakuraba และ Go Shiina เทลส์ออฟเซสทิเรีย ได้รับกระแสในเชิงบวกในนิตยสารเกมของญี่ปุ่น และทำยอดขายไปแล้วกว่า 400,000 ชุดในสัปดาห์แรกหลังการวางจำหน่าย[9] ทางฝั่งตะวันตกมีการวิจารณ์ในทางบวกไปในทำนองเดียวกัน โดยคำวิจารณ์โดยส่วนใหญ่ชื่นชมยังระบบการต่อสู้ ในขณะที่เนื้อเรื่องและการนำเสนอได้รับคำวิจารณ์ที่ผลมกัน แม้จะได้รับการชื่นชม แต่ตัวเกมก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากแฟน ๆ ในญี่ปุ่นถึงการจัดการตัวละครของเกม[7][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sato (4 January 2014). "Tales of Zestiria Producer Shares More Information On The Game's Heroine". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
  2. Romano, Sal (16 December 2013). "Tales of Graces lead planner involved in Tales of Zestiria". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
  3. 3.0 3.1 Tony (3 August 2014). "AnimagiC 2014: Our interview with Hideo Baba". JPGames. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Dunning, Jason (12 June 2015). "Tales of Zestiria PS4 Version Confirmed, PS4 & PS3 Release Date Revealed". PlayStation LifeStyle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2015. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  5. "Mikako Komatsu to Play Tales of Zestiria's Rosé". Anime News Network. 10 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 September 2014.
  6. Romano, Sal (1 May 2016). "Tales of Zestiria for PS4 launches July 7 in Japan". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2016. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  7. 7.0 7.1 "【TpGS 15】馬場英雄來台宣傳《時空幻境 熱情傳奇》20 週年紀念卡拉 OK 大賽舉辦" [[TpGS 15] Hideo Baba come to Taiwan for publicity A Kara OK contest of Tales of Zestiria 20th anniversary is held] (ภาษาจีน). Gamer.com.tw. 29 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2015. สืบค้นเมื่อ 30 January 2015.
  8. Robson, Daniel (26 June 2014). "Why 90% of Fans at Tales of Festival Are Female". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  9. Sato (27 January 2015). "Tales of Zestiria To Get A DLC Episode About What Happens To Alisha After The Game [Update]". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2015. สืบค้นเมื่อ 27 January 2015.
  10. Woo, Jesse (4 February 2015). "Tales of Zestiria's Controversial DLC is not an Epilogue". RPGFan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]