ข้ามไปเนื้อหา

นกหัวค้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Scopidae)
นกหัวค้อน
ที่บอตสวานา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Pelecaniformes
วงศ์: Scopidae
Bonaparte, 1849
สกุล: Scopus
Brisson, 1760
สปีชีส์: S.  umbretta
ชื่อทวินาม
Scopus umbretta
Gmelin, 1789

นกหัวค้อน (อังกฤษ: Hamerkop; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scopus umbretta) นกชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Scopidae ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) จัดเป็นนกเพียงสกุลเดียวและชนิดเดียว ในวงศ์นี้เท่านั้น[2]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "Hamerkop" เป็นภาษาแอฟริคานส์ มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า "Hammerhead" (หัวค้อน) โดยเรียกตามลักษณะส่วนหัวของนก ซึ่งมองเหมือนหัวค้อน[3]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

นกหัวค้อน เป็นนกน้ำขนาดกลาง ซึ่งพบได้เฉพาะทวีปแอฟริกาและเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น ไม่พบในทวีปอื่น มีขนาดความยาวเต็มที่ 56 เซนติเมตร มีส่วนหัวโดยเฉพาะด้านหลังที่ใหญ่และแหลมดูแลคล้ายส่วนหัวของค้อน มีขนลำตัวเพียงสีเดียว คือ สีน้ำตาล

ที่อุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ, แทนซาเนีย

อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำจืด โดยเฉพาะตามลำธารที่มีน้ำไหลช้า ๆ ตามชายฝั่งทะเลสาบ และหนองบึง กินอาหารได้ทุกชนิด รวมทั้งกบ, หอยกาบ, ปลา และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ [3]

นกหัวค้อน เป็นนกที่สร้างรังขนาดใหญ่มากบนต้นไม้ โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันสร้างรังจากกิ่งไม้ โดยรังอาจจะมีขนาดใหญ่ได้ถึง 1.5 เมตร นกคู่หนึ่งอาจสร้างรังได้มากถึง 4–5 รัง และหากจับกลุ่มรวมกัน จะร่วมกันเต้นระบำเป็นภาพที่สวยงาม และเมื่อสร้างรังใหม่เสร็จแล้ว อาจมีนกหัวค้อนตัวอื่นเข้ามาเยี่ยมเยือนหรือร่วมอาศัยในลักษณะแบบนิคมได้ด้วย[4]

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

  • S. u. umbretta พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนของแอฟริกา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอาระเบีย และเกาะมาดากัสการ์
  • S. u. minor พบตามชายฝั่งทะเลของเซียร์ราลีโอน ถึงไนจีเรียตะวันออก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Scopus umbretta". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  2. 2.0 2.1 del Hoyo, J. Elliott, A. & Sargatal, J. (editors). (1992) Handbook of the Birds of the World. Volume 1: Ostrich to Ducks. Lynx Edicions. ISBN 84-87334-10-5
  3. 3.0 3.1 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. ISBN 978-616-90508-0-3
  4. "สุดหล้าฟ้าเขียว: อุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี". ช่อง 3. August 20, 2016. สืบค้นเมื่อ August 20, 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scopus umbretta ที่วิกิสปีชีส์