ข้ามไปเนื้อหา

ปลาอินทรีจุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Scomberomorus guttatus)

ปลาอินทรีจุด
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Scombriformes
Scombriformes
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
Scombridae
สกุล: ปลาอินทรี
Scomberomorus
(Bloch & Schneider, 1801)
สปีชีส์: Scomberomorus guttatus
ชื่อทวินาม
Scomberomorus guttatus
(Bloch & Schneider, 1801)
ชื่อพ้อง
  • Cybium crookewitii Bleeker, 1851
  • Cybium guttatum, (Bloch & Schneider 1801)
  • Cybium interruptum Cuvier 1832
  • Cybium kuhlii, Cuvier 1832
  • Indocybium guttatum, (Bloch & Schneider 1801)
  • Scomber guttatus, Bloch & Schneider 1801
  • Scomber leopardus, Shaw 1803
  • Scomberomorus crookewiti, (Bleeker 1851)
  • Scomberomorus guttatum, (Bloch & Schneider 1801)
  • Scomberomorus interruptus, (Cuvier 1832)
  • Scomberomorus kuhlii, (Cuvier 1832)
  • Scomberomous guttatum, (Bloch & Schneider 1801)

ปลาอินทรีจุด หรือ ปลาอินทรีดอก หรือ ปลาอินทรีข้าวตอก [2](อังกฤษ: Indo-Pacific king mackerel, Spotted seerfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberomorus guttatus) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae)

ตารางแสดงปริมาณการประมงปลาอินทรีจุดเป็นตัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 2009 ตามข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
เนื้อปลาอินทรีจุดหั่นทอด หรือ "เบกาฮื้อ"

จัดเป็นปลาอินทรีขนาดเล็กกว่าปลาอินทรีชนิดอื่น นับเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นอกจากปลาอินทรีบั้ง (S. commerson) มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลม และเรียวยาว ด้านข้างลำตัวครึ่งบนมีแต้มด้วยจุดสีดำหรือสีเทาคล้ายลายข้าวตอก ส่วนปากมีมุมปากยาว ปากอ้าได้กว้าง จะงอยปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ก้านครีบด้านหน้าเป็นก้านครีบแข็ง ส่วนก้านครีบหลังมีลักษณะเหมือนกับก้านครีบก้นที่ประกอบด้วยก้านครีบอ่อน และถัดมาจะเป็นครีบฝอย ส่วนครีบหูหรือครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องมีขนาดเล็กสุด ครีบหางมีขนาดใหญ่ ลักษณะครีบเว้าลึก เป็นรูปวงเดือย มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำรวดเร็ว ลำตัวยาวประมาณ 40-55 เซนติเมตร

นิยมนำมาปรุงอาหารต่าง ๆ และแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือหั่นเป็นชิ้นทอด ที่ภาษาแต้จิ๋วเรียก "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) รวมถึงตกเป็นเกมกีฬา[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Collette, B.; Di Natale, A.; Fox, W.; Juan Jorda, M. & Nelson, R. (2011). "Scomberomorus guttatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T170311A6742170. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-2.RLTS.T170311A6742170.en. สืบค้นเมื่อ 29 November 2022.
  2. 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2539. 976 หน้า. หน้า 948. ISBN 974-8122-79-4

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]