ข้ามไปเนื้อหา

ปลาอินทรีบั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาอินทรีบั้ง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มั่นคง  (IUCN 3.1)(อ่าวเปอร์เซีย)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Scombriformes
Scombriformes
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
Scombridae
สกุล: ปลาอินทรี
Scomberomorus
(Lacépède, 1800)
สปีชีส์: Scomberomorus commerson
ชื่อทวินาม
Scomberomorus commerson
(Lacépède, 1800)
ชื่อพ้อง
  • Scomber commerson Lacepède, 1800
  • Scomber maculosus Shaw, 1803
  • Cybium konam Bleeker, 1851
  • Cybium multifasciatum Kishinouye, 1915

ปลาอินทรีบั้ง (อังกฤษ: Narrow-barred Spanish mackerel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberomorus commerson) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) พบได้กว้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไปไกลทางตะวันตกสุดถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกกลาง และริมชายฝั่งตอนเหนือของมหาวมุทรอินเดีย และทางตะวันออกสุดถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้[3]

มีรูปร่างคล้ายกับปลาอินทรีชนิดอื่น หรือปลาอินทรีจุด (S. guttatus) ซึ่งเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในเขตน่านน้ำประเทศไทย แต่มีลำตัวค่อนข้างกลมและหนากว่า ด้านข้างลำตัวจะมีแถบสีดำหรือเทาเข้มเป็นบั้ง ๆ ขวางลำตัวเริ่มจากแนวฐานครีบหูหรือครีบอกเรื่อยออกไปเกือบจรดโคนครีบหาง จะเห็นบั้งได้ชัดตรงบริเวณแนวเส้นข้างตัว ปลาอินทรีบั้งตัวโตจะมีบั้งมากกว่าตัวเล็ก กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากะตัก, ปลาหลังเขียว และหมึก ขนาดที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30-70 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร [4] (พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ที่ออสเตรเลีย[5] )

ตารางแสดงปริมาณเป็นตันของการประมงปลาอินทรีบั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 2009 ตามข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง นิยมใช้ปรุงอาหาร ปรุงสุด และทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกว่าปลาเค็มที่ทำจากปลาอินทรีบั้งว่า "ปลาเบกา" หรือ "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) ในภาษาแต้จิ๋ว อีกทั้งเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Collette, B.; Chang, S.-K.; Di Natale, A.; Fox, W.; Juan Jorda, M.; Miyabe, N.; Nelson, R. (2011). "Scomberomorus commerson". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T170316A6745396. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-2.RLTS.T170316A6745396.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. Collette, B.B.; Smith-Vaniz, W.F.; Hartmann, S.; Bishop, J.; Alam, S.; Al-Khalaf, K.; Alghawzi, Q.; Abdulqader, E.; Kaymaram, F.; Abdallah, M.; Al-Binali, A.; Almuftah, A.; Al-Kulaifi, A (2015). "Scomberomorus commerson (Persian Gulf assessment)". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T170316A57242652. สืบค้นเมื่อ 3 December 2023.
  3. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2018). "Scomberomorus commerson" in FishBase. April 2018 version.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2539. 976 หน้า. หน้า 948. ISBN 974-8122-79-4
  5. 5.0 5.1 "Spanish Mackerel". fishingaustralia.com. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]