รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน (superior temporal gyrus) | |
---|---|
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนของมนุษย์ | |
ภาพวาดแสดงความสัมพันธ์ของสมองและกะโหลกศีรษะ รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนอยู่ตรงกลางมีสีเขียว | |
รายละเอียด | |
ส่วนหนึ่งของ | สมองกลีบขมับ |
หลอดเลือดแดง | middle cerebral |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | gyrus temporalis superior |
นิวโรเนมส์ | 136 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_1648 |
TA98 | A14.1.09.138 |
TA2 | 5489 |
FMA | 61905 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน (อังกฤษ: superior temporal gyrus, gyrus temporalis superior, ตัวย่อ STG) เป็นหนึ่งในสามรอยนูน (แต่บางครั้งปรากฏแค่สอง) ในสมองกลีบขมับของมนุษย์ อยู่ด้านข้างของศีรษะเหนือหูเล็กน้อย
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนล้อมรอบด้วย
- ร่องด้านข้าง (lateral sulcus) ที่ด้านบน
- ร่องสมองกลีบขมับด้านบน (แต่บางครั้งอาจจะไม่มีหรือไม่ปรากฏ) ที่ด้านล่าง
- เส้นจินตนาการเริ่มจาก preoccipital notch ไปถึงร่องด้านข้าง ที่ด้านหลัง
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนมีโครงสร้างสำคัญหลายส่วนรวมทั้ง
- เขตบร็อดแมนน์ 41 และ 42 เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ ทำหน้าที่รับรู้เสียง
- เขตเวอร์นิเก หรือเขตบร็อดแมนน์ 22p ซึ่งเป็นเขตสำคัญที่ประมวลผลเกี่ยวกับคำพูดเพื่อความเข้าใจในภาษา
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนประกอบด้วยคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับเสียง ความถี่เสียงหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งหนึ่ง ๆ ในคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิอย่างเสมอต้นเสมอปลาย (คือคอร์เทกซ์จะมีพื้นที่เป็นตัวแทนเป็นตัวรองรับข้อมูลสำหรับความถี่เสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินได้) แผนที่ความถี่เสียงอย่างนี้ (auditory map หรือ tonotopic map) คล้ายคลึงกับแผนที่ homunculus (หรือ cortical homunculus) ของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขตบางเขตของ STG มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความถี่เสียงหลาย ๆ ความถี่ และเขตอื่น ๆ ก็มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลผลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของแอมพลิจูดและความถี่ของเสียง นอกจากนั้นแล้ว STG ยังมีเขตเวอร์นิเกอีกด้วย ซึ่งในคนส่วนมากจะอยู่ในซีกสมองด้านซ้าย เป็นเขตสำคัญในการเข้าใจภาษา แม้ว่า STG จะมีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับเสียงรวมทั้งการเข้าใจภาษาพูด แต่ STG ก็ยังมีบทบาทสำคัญในความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม (social cognition[1]) อีกด้วย[2]
บทบาทหน้าที่
[แก้]STG มีบทบาทในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกจากใบหน้าที่เห็น[3][4] นอกจากนั้นแล้ว STG ยังเป็นโครงสร้างสำคัญในการประมวลผลเกี่ยวกับเสียงและการทำงานทางภาษาของบุคคลที่อาจจะมีปัญหาในการใช้ศัพท์ หรือบุคคลที่กำลังพัฒนาการใช้ภาษาอยู่ และยังพบอีกว่า STG เป็นโครงสร้างสำคัญในวิถีประสาทที่ประกอบด้วยอะมิกดะลา (amygdala) และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งมีบทบาทในการประมวลผลเนื่องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสังคม[5][6] เขตต่าง ๆ ด้านหน้า (anterior) และด้านบน (dorsal) ของสมองกลีบขมับ รวมทั้ง STG ด้วย มีส่วนในการประมวลผลเกี่ยวกับลักษณะของใบหน้าที่ปรากฏต่าง ๆ กันไป[7] งานวิจัยที่ทำโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพในสมอง (neuroimaging) พบว่า คนไข้โรคจิตเภทมี STG ที่มีความผิดปกติทางโครงสร้าง[8]
ภาพต่าง ๆ
[แก้]-
รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนมีสีแดง
-
สมองมนุษย์มองจากด้านข้าง รอยนูนหลัก ๆ มีชื่อ
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ social cognition (สังคมปริชาน ???) เป็นการเข้ารหัสข้อมูล การเก็บข้อมูล การค้นคืนข้อมูล และการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดเดียวกัน (conspecific) ในสมอง เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการจิตวิทยาและ cognitive neuroscience หมายความถึงความสามารถต่าง ๆ ในสังคม เช่นความสามารถในการเข้าสังคมที่ถูกทำลายไปเนื่องจากโรคออทิซึม
- ↑ Erin D. Bigler, Sherstin Mortensen, E. Shannon Neeley, Sally Ozonoff, Lori Krasny, Michael Johnson, Jeffrey Lu, Sherri L. Provencal, William McMahon & Janet E. Lainhart (2007) : Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism, Developmental Neuropsychology, 31:2, 217-238
- ↑ Radua, Joaquim; Phillips, Mary L.; Russell, Tamara; Lawrence, Natalia; Marshall, Nicolette; Kalidindi, Sridevi; El-Hage, Wissam; McDonald, Colm; Giampietro, Vincent; Brammer, Michael J.; David, Anthony S.; Surguladze, Simon A. (2010). "Neural response to specific components of fearful faces in healthy and schizophrenic adults". NeuroImage. 49: 939–946. doi:10.1016/j.neuroimage.2009.08.030. PMID 19699306.
- ↑ Erin D. Bigler, Sherstin Mortensen, E. Shannon Neeley, Sally Ozonoff, Lori Krasny, Michael Johnson, Jeffrey Lu, Sherri L. Provencal, William McMahon & Janet E. Lainhart (2007) : Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism, Developmental Neuropsychology, 31:2, 217-238
- ↑ Adolphs, 2003 ; Takahashi et al., 2004
- ↑ Bigler, E. et al. (2007) Superior Temporal Gyrus, Language Function, and Autism Developmental Neuropsychology, 31(2), 217-238
- ↑ Bigler ED, Mortensen S, Neeley ES, Ozonoff S, Krasny L, Johnson M, Lu J, Provencal SL, McMahon W, Lainhart JE. 2007. Superior temporal gyrus, language function, and autism. 31 (2) : 217-238
- ↑ Kasai K, Shenton ME, Salisbury DF, Hirayasu Y, Lee C-U, Ciszewski AA, et al. Progressive decrease of left superior temporal gyrus gray matter volume in patients with first-episode schizophrenia. Am J Psychiatry 2003a;160:156–64.