สิทธิพิเศษถอนเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SDR)
สิทธิพิเศษถอนเงิน
ISO 4217
รหัสXDR
หมายเลข960
การตั้งชื่อ
สัญลักษณ์SDR
ข้อมูลการใช้
วันที่เริ่มใช้1969
ผู้ใช้IMF
การประเมินค่า
ผูกค่ากับ ดอลลาร์สหรัฐ
ยูโร
เหรินหมินปี้
เยน
ปอนด์สเตอร์ลิง
ผูกค่าโดย ปอนด์ซีเรีย

สิทธิพิเศษถอนเงิน (อังกฤษ: special drawing rights, ย่อ: XDR หรือ SDR) เป็นสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นิยามและรักษาไว้ มูลค่าของสิทธิฯ ขึ้นอยู่กับตะกร้าเงินตราระหว่างประเทศสำคัญที่ IMF ทบทวนทุกห้าปี[1] ตามการทบทวนซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ตะกร้า XDR ประกอบด้วยเงินตราห้าสกุลดังนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ($) 41.73%, ยูโร (€) 30.93%, ปอนด์สเตอร์ลิง (£) 8.09%, เยนญี่ปุ่น (¥) 8.33% และล่าสุดคือ หยวนจีน (¥) 10.92%[2][3] น้ำหนักที่ให้กับเงินตราแต่ละสกุลในตะกร้า XDR ปรับเพื่อให้คิดความโดดเด่นปัจจุบันของเงินตรานั้น ๆ ในแง่การค้าระหว่างประเทศและทุนสำรองแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศประจำชาติต่าง ๆ[2]

XDR มิใช่เงินตราโดยสภาพ แต่แทนเงินตราที่ประเทศสมาชิก IMF ถือซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนได้ เนื่องจาก XDR สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราห้าสกุลข้างต้นเท่านั้น XDR แท้จริงจึงแทนการอ้างสิทธิ์โดยศักยะต่อทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่มิใช่ทองคำของประเทศสมาชิก IMF ซึ่งปกติถือในรูปเงินตราเหล่านี้

XDR สร้างขึ้นในปี 2512 เพื่อเสริมการขาดแคลนสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ต้องการ กล่าวคือ ทองคำและดอลลาร์สหรัฐ[4] สิทธิพิเศษถอนเงินแสดงด้วยรหัสเงินตรา XDR ตาม ISO 4217[5]

IMF เป็นผู้จัดสรร XDR ให้แก่ประเทศต่าง ๆ[4] โดยภาคเอกชนไม่มีสิทธิใช้หรือถือครอง[6] ในเดือนสิงหาคม 2552 มีจำนวน XDR อยู่ประมาณ 21,400 ล้านหน่วย ระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก พ.ศ. 2552 มีการจัดสรร XDR เพิ่มอีก 182,600 ล้าน XDR เพื่อ "ให้สภาพคล่องแก่ระบบเศรษฐกิจโลกและส่งเสริมทุนสำรองอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก" ต่อมาเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 นักเศรษฐศาสตร์และรัฐมนตรีการคลังของหลายประเทศยากจน ร้องขอประเทศสมาชิกให้จัดสรรเพิ่มอีกเป็นมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยในการฟื้นตัว ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 กลุ่มประเทศ G24 และประเทศอื่นตกลงกันที่จะเสนอให้จัดสรร XDR เพิ่มอีกในมูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประวัติ[แก้]

สิทธิพิเศษถอนเงินถูกสร้างขึ้นโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเดิมตั้งใจให้เป็นสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศภายใต้ระบบเบรตตันวูดส์[7] โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 1 XDR เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับทอง 0.888671 กรัม หลังจากการล่มสลายของระบบในต้นยุค 1970s SDR สำคัญน้อยลง[8] และบทบาทหลักกลายเป็นหน่วยวัดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) ตั้งแต่ ค.ศ. 1972[9]

IMF เองก็เรียกบทบาทในปัจจุบันของ XDR ว่า ไม่สำคัญ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งถือ XDR เป็นจำนวนมากไม่น่าจะใช้ประโยชน์ใดๆ[10] ผู้ใช้หลักของ XDR น่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมองเป็น "วงเงินราคาถูก"[11]

หนึ่งในเหตุผลที่ XDR ไม่ได้ถูกใช้งานในฐานะของทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างแพร่หลายก็เพราะ XDR ต้องถูกแปลงเป็นสกุลเงินก่อนจึงจะใช้ได้[6] และเนื่องจากภาคเอกชนไม่ได้เป็นผู้ถือ[6] XDR ผู้ถือของ XDR มีได้แค่ประเทศสมาชิก, ตัว IMF เอง และองค์กรอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับการอนุญาตโดย IMF[12] ทำให้การใช้งานหลักของทุนสำรองระหว่างประเทศอย่าง การแทรกแซงตลาด การเสริมสภาพคล่อง หรือการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ไม่สามารถทำได้โดยตรงผ่าน XDR[13] ด้วยเหตุนี้ IMF จึงเรียก XDR ว่า "สินทรัพย์ทุนสำรองที่ไม่สมบูรณ์"[14]

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือจำนวนของ XDR ยังน้อยเกินไป ณ ค.ศ. 2011 XDR เป็นสัดส่วนเพียง 4% ของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศทั่วโลก[15] ซึ่งทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ดีจำเป็นจำต้องมีสภาพคล่องที่เพียงพ แต่เนื่องจากประมาณของ XDR ที่น้อย จึงอาจถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง IMF กล่าวว่าการเพิ่มจำนวนของ XDR อย่างเป็นทางการเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำก่อนที่จะทำให้ XDR มีบทบาทที่มากขึ้นในฐานะของสินทรัพย์ทุนสำรองทางเลือก[15]



อ้างอิง[แก้]

  1. IMF Executive Board Completes the 2015 Review of SDR Valuation, IMF Press Release No. 15/543, December 1, 2015
  2. 2.0 2.1 Currency Amounts in New Special Drawing Rights (SDR) Basket, IMF Update December 30, 2010
  3. "IMF's Executive Board Completes Review of SDR Basket, Includes Chinese Renminbi, Press Release No. 15/540, November 30, 2015". International Monetary Fund.
  4. 4.0 4.1 "Factsheet: Special Drawing Rights (XDRs)". International Monetary Fund. March 31, 2011. สืบค้นเมื่อ June 18, 2011.
  5. "Table A.1 (E): Currency and funds codes list" (MS Excel file). SIX Interbank Clearing Ltd, the ISO 4217 Maintenance Agency.
  6. 6.0 6.1 6.2 Williamson 2009, p. 5
  7. "Special drawing right (SDR) - factsheet". www.imf.org. International monetary fund. สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
  8. Fred Bergsten (December 10, 2007). "How to solve the problem of the dollar". Financial Times. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. Williamson 2009, p. 2
  10. Williamson 2009, p. 1
  11. McKinnon, Ronald (Spring 2009), "Reconsidering XDRs", Harvard International Review, p. 7, สืบค้นเมื่อ June 19, 2011[ลิงก์เสีย]
  12. Annual report: 2000 : making the global economy work for all. International Monetary Fund. 2000. p. 74. ISBN 9781557759511.
  13. "Enhancing International Monetary Stability" 2011, p. 7
  14. "Enhancing International Monetary Stability" 2011, p. 4
  15. 15.0 15.1 "Enhancing International Monetary Stability" 2011, p. 6


งานที่อ้างถึง[แก้]