รออิฟ บะดะวี
รออิฟ บะดะวี | |
---|---|
รออิฟ บะดะวีใน ค.ศ. 2012 | |
เกิด | อัลคุบัร, ประเทศซาอุดีอาระเบีย | 13 มกราคม ค.ศ. 1984
สัญชาติ | ซาอุดีอาระเบีย |
อาชีพ | นักแต่ง, นักเขียน และนักเคลื่อนไหว |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ทำบล็อก, ผู้ถูกตั้งข้อหาละทิ้งความเชื่อ |
คู่สมรส | อินศอฟ ฮัยดัร (สมรส 2002) |
บุตร | 3 |
ญาติ | ซะมัร บะดะวี (พี่/น้องสาว) |
รออิฟ บิน มุฮัมมัด บะดะวี (อาหรับ: رائف بن محمد بدوي; เกิดวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1984)[1] เป็นนักเขียน ผู้คัดค้าน และนักเคลื่อนไหวชาวซาอุดีอาระเบีย เช่นเดียวกับผู้สร้างเว็บไซต์ ปลดปล่อยเสรีนิยมซาอุดี (Free Saudi Liberals)
บะดะวีถูกจับในข้อหา "ดูหมิ่นอิสลามผ่านช่องอิเล็กทรอนิก" ใน ค.ศ. 2012 และนำตัวไปศาลกับอีกบางข้อหา เช่น ละทิ้งความเชื่อ ใน ค.ศ. 2013 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดหลายคดีและถูกตัดสินให้จำคุกเจ็ดปี ทรมาน และเฆี่ยน 600 ที ใน ค.ศ. 2014 มีการขยายบทลงโทษไปเป็นจำคุก 10 ปี เฆี่ยน 1,000 ที และจ่ายค่าปรับ การเฆี่ยนจะใช้เวลามากกว่า 20 สัปดาห์ โดยเริ่มการเฆี่ยน 50 ครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2015[2] การเฆี่ยนครั้งที่สองถูกเลื่อนไปมากกว่า 12 ครั้ง[3] ไม่มีใครทราบเหตุผลในการเลื่อนในช่วงปัจจุบัน แต่การเฆี่ยนครั้งที่แล้วถูกเลื่อนเนื่องจากสุขภาพที่ย่ำแย่ของบะดะวี[4] บะดะวีมีโรคความดันโลหิตสูง และสุขภาพของเขาแย่ลงนับตั้งแต่วันเริ่มเฆี่ยน[5]
อินศอฟ ฮัยดัร ภรรยาของเขาที่ลี้ภัยไปแคนาดาหลังชีวิตเธอถูกคุกคามในซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่าบะวะดีอาจไม่รอดจากการเฆี่ยนได้มากกว่านี้[6] อินศอฟ ฮัยดัรยังให้รายงานเกี่ยวกับชะตาของบะดะวีในรายการโทรทัศน์หลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึงการประชุมสุดยอดเจนีวาเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยประจำปี 2016[7] Raoul Wallenberg Centre for Human Rights ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของบะดะวี[8] โดยองค์กรได้ทำทั้งแคมเปญรณรงค์ในที่สาธารณะและความพยายามทางการฑูตส่วนตัวเพื่อช่วยให้บะดะวีได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ
แม้ว่าไม่มีใครทราบตำแหน่งที่แน่ชัด แต่มีรายงานว่าบะดะวียังคงถูกคุมขังในเรือนจำกลางษะฮ์บาน[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Saudi Arabia: Website Editor Facing Death Penalty". Human Rights Watch. 22 December 2012.
- ↑ "Saudi blogger receives first 50 lashes of sentence for 'insulting Islam'". The Guardian. Associated Press in Dubai. 10 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2014.
- ↑ "Raif Badawi évite le fouet pour une 11e semaine de suite". LaPresse.ca. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015. (ในภาษาฝรั่งเศส)
- ↑ "Saudi blogger Raif Badawi spared flogging again this week". The Globe and Mail. 13 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ Ljundggren, David (2 February 2015). "Wife of flogged Saudi blogger Raif Badawi says his health is worsening". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ Garrisi, Diana (3 February 2015). "What actually happens when you get flogged". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ "Tom Gross interviews Raif Badawi's wife Ensaf Haidar at the Geneva Summit 2016". 26 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2017. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
- ↑ "How Crown Prince Mohamed bin Salman Can Prove He Is Sincere About His Reforms". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-01-15.
- ↑ Aldrich, Mark (18 April 2016). "Inside Raif Badawi's Prison Cell" (ภาษาอังกฤษ). Goshen, US.: The Gad About Town. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2018. สืบค้นเมื่อ 21 November 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Raif Badawi