รออิฟ บะดะวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รออิฟ บะดะวี
รออิฟ บะดะวีใน ค.ศ. 2012
เกิด (1984-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1984 (40 ปี)
อัลคุบัร, ประเทศซาอุดีอาระเบีย
สัญชาติซาอุดีอาระเบีย
อาชีพนักแต่ง, นักเขียน และนักเคลื่อนไหว
มีชื่อเสียงจากผู้ทำบล็อก, ผู้ถูกตั้งข้อหาละทิ้งความเชื่อ
คู่สมรสอินศอฟ ฮัยดัร (สมรส 2002)
บุตร3
ญาติซะมัร บะดะวี (พี่/น้องสาว)

รออิฟ บิน มุฮัมมัด บะดะวี (อาหรับ: رائف بن محمد بدوي; เกิดวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1984)[1] เป็นนักเขียน ผู้คัดค้าน และนักเคลื่อนไหวชาวซาอุดีอาระเบีย เช่นเดียวกับผู้สร้างเว็บไซต์ ปลดปล่อยเสรีนิยมซาอุดี (Free Saudi Liberals)

บะดะวีถูกจับในข้อหา "ดูหมิ่นอิสลามผ่านช่องอิเล็กทรอนิก" ใน ค.ศ. 2012 และนำตัวไปศาลกับอีกบางข้อหา เช่น ละทิ้งความเชื่อ ใน ค.ศ. 2013 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดหลายคดีและถูกตัดสินให้จำคุกเจ็ดปี ทรมาน และเฆี่ยน 600 ที ใน ค.ศ. 2014 มีการขยายบทลงโทษไปเป็นจำคุก 10 ปี เฆี่ยน 1,000 ที และจ่ายค่าปรับ การเฆี่ยนจะใช้เวลามากกว่า 20 สัปดาห์ โดยเริ่มการเฆี่ยน 50 ครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2015[2] การเฆี่ยนครั้งที่สองถูกเลื่อนไปมากกว่า 12 ครั้ง[3] ไม่มีใครทราบเหตุผลในการเลื่อนในช่วงปัจจุบัน แต่การเฆี่ยนครั้งที่แล้วถูกเลื่อนเนื่องจากสุขภาพที่ย่ำแย่ของบะดะวี[4] บะดะวีมีโรคความดันโลหิตสูง และสุขภาพของเขาแย่ลงนับตั้งแต่วันเริ่มเฆี่ยน[5]

อินศอฟ ฮัยดัร ภรรยาของเขาที่ลี้ภัยไปแคนาดาหลังชีวิตเธอถูกคุกคามในซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่าบะวะดีอาจไม่รอดจากการเฆี่ยนได้มากกว่านี้[6] อินศอฟ ฮัยดัรยังให้รายงานเกี่ยวกับชะตาของบะดะวีในรายการโทรทัศน์หลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึงการประชุมสุดยอดเจนีวาเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยประจำปี 2016[7] Raoul Wallenberg Centre for Human Rights ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของบะดะวี[8] โดยองค์กรได้ทำทั้งแคมเปญรณรงค์ในที่สาธารณะและความพยายามทางการฑูตส่วนตัวเพื่อช่วยให้บะดะวีได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

แม้ว่าไม่มีใครทราบตำแหน่งที่แน่ชัด แต่มีรายงานว่าบะดะวียังคงถูกคุมขังในเรือนจำกลางษะฮ์บาน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Saudi Arabia: Website Editor Facing Death Penalty". Human Rights Watch. 22 December 2012.
  2. "Saudi blogger receives first 50 lashes of sentence for 'insulting Islam'". The Guardian. Associated Press in Dubai. 10 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2014.
  3. "Raif Badawi évite le fouet pour une 11e semaine de suite". LaPresse.ca. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2015. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  4. "Saudi blogger Raif Badawi spared flogging again this week". The Globe and Mail. 13 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  5. Ljundggren, David (2 February 2015). "Wife of flogged Saudi blogger Raif Badawi says his health is worsening". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  6. Garrisi, Diana (3 February 2015). "What actually happens when you get flogged". New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  7. "Tom Gross interviews Raif Badawi's wife Ensaf Haidar at the Geneva Summit 2016". 26 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2017. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
  8. "How Crown Prince Mohamed bin Salman Can Prove He Is Sincere About His Reforms". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-01-15.
  9. Aldrich, Mark (18 April 2016). "Inside Raif Badawi's Prison Cell" (ภาษาอังกฤษ). Goshen, US.: The Gad About Town. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2018. สืบค้นเมื่อ 21 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Raif Badawi