Quality Control Circle
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอื่น หรือใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
Q.C.C. ย่อมาจาก Quality Control Circle หมายถึงกิจกรรมที่พนักงานในกลุ่มซึ่งจัดตั้งขึ้นมาโดยความสมัครใจได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น วิธีการบริหารนี้ได้ถูกคิดขึ้นโดย Dr.Deming ชาวอเมริกัน ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาแนวคิดดังกล่าวในปี ค.ศ. 1962] จนกระทั่งกลายเป็นกระบวนการในการพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน อย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ คำว่า Q.C.C. ประกอบไปด้วยคำ 3 คำที่มีความหมายดังนี้ คือ
- Q คือ Quality
- C คือ Control
- C คือ Circle
วัตถุประสงค์[แก้]
กิจกรรม Q.C.C. มุ่งแก้ไขปัญหาการทำงาน โดยการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงออกและพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานซึ่งเกิดขึ้นจากพนักงานตั้งแต่ระดับล่างขึ้นมาจนถึงระดับบน ทำให้เกิดความสามัคคี อีกทั้งยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นอีกด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
กระบวนการจัดทำกิจกรรม[แก้]
การทำกิจกรรม Q.C.C. ให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ภายใต้ความเห็นชอบและสนับสนุนของผู้บริหารในองค์กร พนักงานต้องให้ความสำคัญและมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจึงจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นองค์กรใดต้องการดำเนินกิจกรรมนี้จึงควรพิจารณาทำความเข้าใจขั้นตอนสำคัญๆ อันประกอบไปด้วย
- จัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานอย่างทั่วถึง
- จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรม
- พนักงานจัดกลุ่มย่อย ประกอบด้วยสมาชิกจากส่วนงานต่างๆ จำนวน 5-7 คนต่อกลุ่ม
- กลุ่มระบุมูลเหตุจูงใจที่ทำให้สนใจในปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาแก้ไขโดยกลุ่มนั้นๆ
- หาสาเหตุของปัญหาด้วยเทคนิคที่ได้เรียนรู้
- ระดมสมองเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข
- ติดตามและวัดผลลัพธ์ภายหลังการแก้ไข
- จัดทำมาตรฐานการทำงาน
- นำเสนอผลงานเพื่อให้ส่วนรวมได้รับทราบ
- ดำเนินกิจกรรมด้วยหัวข้อปัญหาใหม่
กิจกรรม Q.C.C. จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการ ที่ให้ความสำคัญต่อความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงานและการประสานงานในอนาคต ดังนั้น หากองค์กรใดสามารถสร้างกลไกการทำกิจกรรมดังกล่าวจนกระทั่งการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานตามปกติก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมหาศาลในที่สุด
Q.C.C. ควรประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีองค์ความรู้ในเรื่อง (ในหัวข้อ) นั้นๆ ดีพอสมควร เพื่อนำไปสู่การระดมกำลังสมอง หาแนวทางการแก้ไข ปรับปรุง บนพื้นฐาน Process approach
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |