ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้
ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้ | |
---|---|
Osteoglossum bicirrhosum | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลาลิ้นกระดูก Osteoglossiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะพัด Osteoglossidae |
สกุล: | ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้ Osteoglossum Cuvier, 1829 |
ชนิด | |
2, ดูข้อความ |
ปลาอะโรวาน่าอเมริกาใต้ หรือ ปลาตะพัดอเมริกาใต้ (อังกฤษ: Arowana, Amazon arowana) เป็นสกุลปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ในอันดับ Osteoglossiformes ใช้ชื่อสกุลว่า Osteoglossum (/ออส-ที-โอ-กลอส-ซั่ม/) มีความยาวถึงประมาณ 1 เมตร (3.3 ฟุต) และจำกัดอยู่ในแหล่งน้ำจืดในทวีปอเมริกาใต้บริเวณเขตร้อน[1][2]
มีรูปร่างเพรียวยาวกว่าปลาอะโรวาน่าในสกุล Scleropages ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย โดยมีส่วนต่างกันที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ส่วนหางที่เรียวเล็กกว่าโดยเฉพาะครีบหาง ปากมีความกว้างกว่า และหนวด 1 คู่ที่ใต้คางนั้นเรียวยาวกว่า ครีบหลังเรียวเล็กกว่าและเป็นทางยาวไปแทบตลอดส่วนหลัง มีสีสันลำตัวเป็นสีเดียวทั้งตัว โดยไม่มีเหลือบสีแบบปลาในสกุล Scleropages มีก้านครีบหลัง 43-48 ก้าน ครีบก้นยาวกว่าครีบหลัง มีก้านครีบ 53-57 ก้าน
โดยปลาในสกุลนี้มีวิวัฒนาการเป็นของตนเองแยกมาจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 170 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูราสสิคตอนกลาง[3]
สำหรับพฤติกรรมของปลาอะโรวาน่าในสกุลนี้จะคล้ายกับสกุล Scleropages ทั้งพฤติกรรมการหาและกินอาหาร รวมทั้งพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่ แต่ทว่ากลับมีอุปนิสัยที่ดุร้ายก้าวร้าวน้อยกว่า จนสามารถอยู่เป็นฝูงใหญ่ได้มากกว่า อีกทั้งในชนิด O. bicirrhosum ยังเป็นชนิดที่เติบโตได้เร็วกว่า และแพร่ขยายพันธุ์ได้ง่ายที่สุดอีกด้วย[4]
จึงทำให้นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยถือเป็นปลาอะโรวาน่าที่มีราคาขายค่อนข้างถูก
ชนิด
[แก้]ปลาสกุลนี้มี 2 ชนิด:[2]
ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อสามัญ | ที่อยู่อาศัย |
---|---|---|---|
Osteoglossum bicirrhosum Cuvier (ex Vandelli), 1829 | Silver arowana | ลุ่มน้ำแอมะซอน, Essequibo และ Oyapock | |
Osteoglossum ferreirai Kanazawa, 1966 | Black arowana | ลุ่มน้ำ Rio Negro รวมแม่น้ำ Branco |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Olivares; Hrbek; Escobar; Caballero (2013). "Population structure of the black arowana (Osteoglossum ferreirai) in Brazil and Colombia: implications for its management". Conserv. Genet. 14 (3): 695–703. doi:10.1007/s10592-013-0463-1. S2CID 16841836.
- ↑ 2.0 2.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2017). Species of Osteoglossum in FishBase. February 2017 version.
- ↑ Kumazawa, Yoshinori (2003). "The reason the freshwater fish arowana live across the sea". Quarterly Journal Biohistory (Winter). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2006-07-02.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 5-6. ISBN 974-00-8701-9