กรด 1-แนฟทาลีนแอซีติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก NAA)
1-Naphthaleneacetic acid
1-Naphthaleneacetic acid
ชื่อ
IUPAC name
2-(1-Naphthyl)acetic acid
ชื่ออื่น
1-Naphthaleneacetic acid
α-Naphthaleneacetic acid
Naphthylacetic acid
NAA
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ECHA InfoCard 100.001.551 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • C1=CC=C2C(=C1) C=CC=C2CC(=O)O[1]
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

กรด 1-แนฟทาลีนแอซีติก (อังกฤษ: 1-Naphthaleneacetic acid: NAA) มีสูตรโครงสร้างเป็น C10H7CH2COOH เป็นออกซินสังเคราะห์ที่ใช้ในการกระตุ้นการเกิดราก กระตุ้นให้ระบบรากเจริญดี เปลี่ยนเพศดอกเงาะ ทาที่รอยแผลหลังการตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันการแตกหน่อ ป้องกันผลร่วง NAA ที่ใช้ในทางการเกษตรเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ จัดเป็นสารที่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระดับปานกลาง

ในทางการเกษตรมีการนำเอา NAA มาใช้งานดังนี้[4]

  • การเปลี่ยนเพศของดอกเงาะ NAA สามารถเปลี่ยนเพศของดอกเงาะพันธุ์สีชมพูจากดอกกะเทยให้เป็นดอกตัวผู้ได้
  • การขยายพันธุ์มะม่วง NAA ผสมกับลาโนลินทาเหนือรอยทาบของกิ่งมะม่วงแรดบนต้นตอมะม่วงแก้ว ช่วยให้รอยทาบประสานกันได้ดี และช่วยเร่งการออกราก
  • การเพิ่มขนาดผลของสับปะรด NAA ทำให้สับปะรดมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก แต่ข้อเสียคือทำให้ผลแก่ช้า และสับปะรดสุกจากข้างในก่อนที่เปลือกจะเป็นสีเหลือง ขนาดของก้านและแกนจะใหญ่
  • การชะลอการสุกของสับปะรด การจุ่มผลสับปะรดที่แก่จัดแต่ยังไม่เปลี่ยนสีลงใน NAA โดยไม่ต้องจุ่มส่วนที่เป็นจุก จะทำให้ผลคงความเขียวได้นาน และลดการเน่าได้ 50%
  • ป้องกันการหลุดร่วงของผลลางสาดและลองกอง พ่น NAA ไปที่ช่อผลลางสาดขณะที่ผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื่องจากผลลางสาดตามปกติจะหลุดร่วงได้งาย
  • NAA ป้องกันการร่วงของมะนาวฝรั่งได้ดีในช่วงที่อากาศเย็นจัด

ในด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช NAA เป็นออกซินที่มีบทบาทสำคัญในการชักนำให้เกิดแคลลัส และการทำงานร่วมกับไซโตไคนินให้เกิดโซมาติกเอ็มบริโอ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 PubChem
  2. Naphthaleneacetic Acid (environmentalchemistry.com)
  3. J. Chem. Soc. (1954) 4102
  4. สถาพร ดียิ่ง. 2542. ฮอร์โมนพืช. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]