วาฬบาลีน
วาฬบาลีน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนยุคสุดท้าย – ปัจจุบัน | |
---|---|
วาฬหลังค่อม (Megaptera novaeangliae) จัดเป็นวาฬบาลีนที่อยู่ในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
อันดับฐาน: | Cetacea |
อนุอันดับ: | Mysticeti Cope, 1891[1] |
วงศ์ | |
|
อนุอันดับวาฬบาลีน หรือ วาฬกรองกิน หรือ วาฬไม่มีฟัน (อังกฤษ: Baleen whales, Toothless whales) เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ในอันดับฐานวาฬและโลมา (Cetacea) อันได้แก่ วาฬ และโลมาในอันดับสัตว์กีบคู่ ซึ่งวาฬบาลีนถูกจัดอยู่ในอนุอันดับ Mysticeti (/มิส-ติ-เซ-เตส/)[1]
วาฬ ที่อยู่ในกลุ่มวาฬบาลีน มีลักษณะเด่น คือ เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ ในปากจะไม่มีฟันเป็นซี่ ๆ เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่จะมีมีฟันเหมือนขนแปรงสีฟันหรือซี่หวี่ขนาดใหญ่ ซึ่งห้อยลงมาจากขากรรไกรด้านบน ขนแปรงนี้จะเติบโตด้วยกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "บาลีน" ใช้สำหรับกรองอาหารจากน้ำทะเล จึงกินได้แต่เฉพาะสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ๆ เช่น แพลงก์ตอนชนิดต่าง ๆ, เคย และปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาแฮร์ริ่ง, ปลากะตัก, ปลาซาร์ดีน เป็นต้น[2]
ดังนั้นการกินอาหารของวาฬบาลีน จะใช้วิธีกลืนน้ำทะเลเข้าไปในปากเป็นจำนวนมาก แล้วจะหุบปากแล้วยกลิ้นขึ้นเป็นการบังคับให้น้ำออกมาจากปาก โดยผ่านบาลีน ที่ทำหน้าที่เหมือนหวี่กรองปล่อยให้น้ำออกไป แต่อาหารยังติดอยู่ในปากของวาฬ แล้ววาฬจะกลืนอาหารลงไป โดยวัน ๆ หนึ่งจะกินอาหารได้เป็นจำนวนมาก คิดเป็นน้ำหนักเป็นตัน เช่น วาฬสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นวาฬบาลีนชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย จะกินแพลงก์ตอนมากถึง 4,000 กิโลกรัม (8,800 ปอนด์) ต่อวัน (คิดเป็นน้ำหนักเท่ากับพิซซาจำนวน 12,000 ชิ้น)[3]
วาฬบาลีน เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อเวลาหากินจะช่วยกันหาอาหาร โดยรวมตัวกันด้วยการทำให้ผิวน้ำเป็นฟองเพื่อไล่ต้อนอาหาร ซึ่งเป็นฝูงปลาเล็ก ๆ ให้สับสน อีกทั้งยังเป็นนักเดินทางในท้องทะเลและมหาสมุทร ส่วนใหญ่อพยพเป็นระยะทางไกล ๆ ทุกปี จากทะเลที่มีอุณหภูมิอบอุ่นซึ่งเป็นที่ ๆ ผสมพันธุ์และคลอดลูกไปยังทะเลที่เย็นกว่า ซึ่งเป็นที่ ๆ จะหาอาหาร โดยวาฬสีเทานับเป็นวาฬที่อพยพเป็นระยะทางไกลที่สุด จากประเทศเม็กซิโกถึงอาร์กติกแถบขั้วโลกเหนือ รวมระยะทางไปกลับประมาณ 20,000 กิโลเมตร (12, 500 ไมล์)[4]
วาฬบาลีน ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 วงศ์ 15 ชนิด[1] แต่ก็มีหลายชนิดและหลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ที่สูญพันธุ์แล้วจะใส่เครื่องหมาย † ไว้ข้างหน้า)
แต่จากการศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ พบว่าบรรพบุรุษของวาฬบาลีนเป็นวาฬมีฟันที่มีชื่อว่า Janjucetus มีอายุอยู่ในราว 25 ล้านปีก่อน และเชื่อว่าอาจจะเป็นสัตว์ดุร้ายและทรงพลังมากในการล่าเหยื่อและกินอาหารด้วย เนื่องจากลักษณะของฟันมีความแหลมคม ไม่เหมือนกับของแมวน้ำรวมถึงไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกอื่นในยุคสมัยเดียวกัน แต่มีลักษณะคล้ายกับฟันของสิงโตในยุคปัจจุบันมากกว่า[5]
การจำแนก
[แก้]- †วงศ์ Aetiocetidae
- †วงศ์ Aglaocetidae
- † Aglaocetus
- † Isanacetus
- † Pinocetus
- วงศ์ Balaenidae
- วงศ์ Balaenopteridae[6]
- †วงศ์ Cetotheriidae
- †วงศ์ Cetotheriopsidae
- †วงศ์ Diorocetidae
- †วงศ์ Eomysticetidae
- วงศ์ Eschrichtiidae
- †วงศ์ Llanocetidae
- †วงศ์ Mammalodontidae
- วงศ์ Neobalaenidae
- †วงศ์ Pelocetidae
- วงศ์ ไม่ถูกจัดอันดับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Mysticeti". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ "วาฬและโลมา หน้า 1". plawan.
- ↑ "วาฬและโลมา หน้า 5". plawan.
- ↑ "วาฬและโลมา หน้า 6". plawan.
- ↑ หน้า 7, ค้นพบซากวาฬยุคโบราณ ที่เชื่อว่าอาจเป็นนักล่าที่ดุร้าย. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21778: วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา
- ↑ Deméré, T.A.; Berta, A.; McGowen, M.R. (2005). "The taxonomic and evolutionary history of fossil and modern balaenopteroid mysticetes". Journal of Mammalian Evolution. 12 (1/2): 99–143. doi:10.1007/s10914-005-6944-3.