ข้ามไปเนื้อหา

มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Muhammad Ali Jinnah)
บิดาแห่งชาติ (บาบา-เอ-เกาม์)
ท่านผู้นำ (กาอิด-เอ-อาซัม)
มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์
محمد علی جناح
มุมมองใบหน้าของจินนาห์ในช่วงปัจฉิมวัย
จินนาห์ เมื่อ ค.ศ. 1945
ผู้สำเร็จราชการปากีสถานคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
นายกรัฐมนตรีลีอากัต อาลี ข่าน
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปขวาชะ นาซิมุดดีน
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม ค.ศ. 1947 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948
รองเมาล์วี ตามีซุดดีน ข่าน
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเมาล์วี ตามีซุดดีน ข่าน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาฮัมหมัดอาลี จินนาห์ไภ

25 ธันวาคม ค.ศ. 1876(1876-12-25)
การาจี เขตปกครองบอมเบย์ บริติชอินเดีย
(ปัจจุบันคือแคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน)
เสียชีวิต11 กันยายน ค.ศ. 1948(1948-09-11) (71 ปี)
การาจี เขตสหพันธ์เมืองหลวง ประเทศปากีสถาน
ที่ไว้ศพสุสานมาซาร์-เอ-กาอิด การาจี
แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน
พรรคการเมืองสันนิบาตมุสลิม (ค.ศ. 1947–1948)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (ค.ศ. 1906–1920)
สันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย (ค.ศ. 1913–1947)
คู่สมรส
บุตร1 (ดีนา วาฑิชา)
ศิษย์เก่าสำนักศึกษากฎหมายลิงคอล์น
วิชาชีพ
  • เนติบัณฑิต
  • นักการเมือง
ลายมือชื่อ

มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์[a] (25 ธันวาคม ค.ศ. 1876 – 11 กันยายน ค.ศ. 1948) เป็นเนติบัณฑิต นักการเมือง และผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน เขาดำรงตำแหน่งผู้นำสันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดียตั้งแต่ ค.ศ. 1913 จนกระทั่งการเริ่มต้นประเทศปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการปากีสถานในเครือจักรภพคนแรกจวบจนถึงแก่อสัญกรรม

จินนาห์เกิดที่คฤหาสน์วาซีร์ในเมืองการาจี เขาเข้ารับการอบรมเป็นเนติบัณฑิตที่สำนักศึกษากฎหมายลิงคอล์น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาเขาได้เดินทางกลับมายังอินเดียและเข้าทำงานที่ศาลสูงบอมเบย์ โดยในช่วงเวลานี้ เขาเริ่มสนใจในการเมืองระดับชาติ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ความสนใจนี้ก็เข้ามาแทนที่การปฏิบัติงานด้านกฎหมายของเขา จินนาห์เริ่มมีชื่อเสียงอย่างยิ่งในคองเกรสแห่งชาติอินเดียในช่วงสองทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปีแรก ๆ ของการทำงานในแวดวงการเมือง จินนาห์ได้สนับสนุนแนวคิดเอกภาพฮินดู–มุสลิม ซึ่งนำไปสู่กติกาสัญญาลัคเนาใน ค.ศ. 1916 ระหว่างฝ่ายคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย จินนาห์กลายเป็นผู้นำคนสำคัญในสันนิบาตปกครองบ้านเกิดเมืองนอนแห่งอินเดีย และได้เสนอแผนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญสิบสี่ข้อเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของชาวมุสลิมในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1920 จินนาห์ลาออกจากคองเกรส เมื่อคองเกรสเห็นด้วยกับการรณรงค์แบบสัตยาเคราะห์ (Satyāgraha) ซึ่งเขามองว่าเป็นการเมืองแบบอนาธิปไตย

ใน ค.ศ. 1940 จินนาห์เชื่อว่าชาวมุสลิมในอนุทวีปควรมีรัฐเป็นของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสถานะชายขอบของชาวมุสลิมที่ความเป็นไปได้ ซึ่งประชากรเหล่านี้อาจถูกด้อยค่าในรัฐเอกราชฮินดู–มุสลิม ทำให้ในปีนั้น สันนิบาตมุสลิมที่นำโดยจินนาห์ได้ผ่านข้อมติลาฮอร์เพื่อเรียกร้องประเทศแยกต่างหากสําหรับชาวมุสลิมอินเดีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สันนิบาตมุสลิมเริ่มแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่ผู้นำคองเกรสหลายคนถูกจับกุม และในการเลือกตั้งระดับมณฑลที่จัดขึ้นหลังสงคราม สันนิบาตชนะที่นั่งส่วนใหญ่ซึ่งสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม โดยสุดท้ายแล้ว คองเกรสและสันนิบาตมุสลิมก็ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จะแบ่งปันอำนาจเพื่อให้บริติชอินเดียทั้งหมดรวมกันเป็นรัฐเดียวหลังได้รับเอกราช และด้วยเหตุนี้ ทำให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าควรแยกอินเดียออกเป็นสองส่วน ได้แก่ รัฐเอกราชอินเดียที่มีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ และรัฐมุสลิมปากีสถาน

ภายหลังการประกาศเอกราช จินนาห์ได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการปากีสถาน เขาได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติใหม่และดำเนินนโยบายจำนวนมาก ตลอดจนให้กาช่วยเหลือผู้อพยพชาวมุสลิมหลายล้านคน ซึ่งเดินทางมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดียหลังจากการแบ่งอินเดียออกเป็นสองส่วน จินนาห์ดูแลการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยเป็นการส่วนตัว เขาถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 71 ปี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งปีหลังจากที่ปากีสถานได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร เขาทิ้งมรดกที่ลึกซึ้งและเป็นที่เคารพนับถือในประเทศปากีสถาน มหาวิทยาลัยและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากในประเทศตั้งชื่อตามจินนาห์ และเป็นที่เคารพนับถือในปากีสถานว่าเป็น Quaid-e-Azam ("ท่านผู้นำ") และ Baba-e-Qaum ("บิดาแห่งชาติ") รวมถึงวันคล้ายวันเกิดของเขาได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติ

อ้างอิงและหมายเหตุ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. อูรดู: محمد علی جناح

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]