เอกรงค์
เอกรงค์ หรือ โมโนโครม (monochrome) หมายถึงรูปภาพ วัตถุ หรือรูปแบบการใช้สี ที่มีอยู่เพียงสีเดียว[1] คำนี้เดิมใช้ในสาขาศิลปะ แต่ได้ถูกนำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ และ โทรทัศน์ แสดงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงออกด้วยสีเดียวเป็นหลัก[2]
ในทางฟิสิกส์มีการใช้คำว่าแสงเอกรงค์เพื่อเรียกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นค่าเดียว (นั่นคือมีสีเดียว) แต่ว่านั่นเป็นแนวคิดที่มีความแตกต่างจากเอกรงค์ในความหมายเดิม
ภาพรวม
[แก้]ในเทคโนโลยีการถ่ายภาพ
[แก้]เทคโนโลยีการถ่ายภาพในยุคแรกเช่นในกล้องทาบเงานั้น ภาพที่ฉายภายในอุปกรณ์จะเป็นภาพสี แต่ถ้าคัดลอกด้วยหมึกดำหรือดินสอจะกลายเป็นภาพเอกรงค์ จากนั้นในยุคต่อมา มือของจิตรกรได้ถูกแทนที่ด้วยจานถ่ายภาพ ซึ่งบันทึกภาพเพียงแต่ข้อมูลความเข้มของรังสีแสงที่มาตกกระทบ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพเอกรงค์
เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่จับภาพโดยอัตโนมัติจากรังสีแสงมาเป็นภาพเอกรงค์ในลักษณะนี้ได้ถูกใช้ต่อมาจนแม้ถึงยุคที่เปลี่ยนมาใช้ฟิล์มถ่ายภาพ รวมถึงใช้ในการสร้างภาพยนตร์ซึ่งแสดงภาพเคลื่อนไหวด้วย
ทุกวันนี้เนื่องจากการพัฒนาของฟิล์มสี ภาพถ่ายแบบเอกรงค์จึงแทบไม่มีให้เห็นแล้วนอกจากภาพในอดีต อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะเพิ่มสีสันให้กับภาพด้วยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่สร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็วในการประมวลผลเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการพัฒนาภาพสี ภาพเอกรงค์ยังเหนือกว่าฟิล์มสีในแง่ของความละเอียด และความไวต่อแสง งานวิดีโอจำนวนมากที่ผลิตออกมาถ่ายด้วยภาพเอกรงค์ นอกจากนี้ เนื่องจากบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ของภาพเอกรงค์ซึ่งให้ความประทับใจที่แตกต่างจากโลกที่มีสีสันที่ตามนุษย์เห็น จึงมีงานศิลปะที่จงใจใช้ภาพเอกรงค์ รวมถึงในกล้องดิจิทัล และอุปกรณ์สร้างภาพที่ทันสมัยบางผลิตภัณฑ์ก็ยังมีโหมดถ่ายภาพเอกรงค์
ในการตรวจจับภาพ
[แก้]นอกจากนี้ ในช่วงทศวรรษที่ 2000 เซนเซอร์รูปภาพยังต้องใช้แสงมากในปริมาณหนึ่งเพื่อตรวจจับสีในกระบวนการแปลงลำแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วย เซนเซอร์รูปภาพ ดังนั้นภาพเอกรงค์จึงยังคงเป็นกระแสหลักสำหรับกล้องมองกลางคืน นอกจากนี้ เนื่องจากเซนเซอร์รูปภาพเอกรงค์สามารถผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับต่ำกว่า ในแง่ของเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีราคาไม่แพงบางประเภทจะถ่ายภาพเอกรงค์นี้ในช่วงยุคที่เซนเซอร์รูปภาพเริ่มเป็นที่นิยม มีผลิตภัณฑ์ และในบรรดาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังมีอุปกรณ์ถ่ายภาพเอกรงค์ราคาต่ำจำนวนมากหมุนเวียนอยู่ แม้แต่ในกล้องวงจรปิดแบบราคาถูกที่ใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีแสงน้อยก็มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เซนเซอร์รูปภาพเอกรงค์
ในจอแสดงผล
[แก้]ในช่วงยุคแรกที่คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมา จอภาพที่ใช้แสดงผลคอมพิวเตอร์เป็นภาพเอกรงค์ นั่นเป็นเพราะข้อจำกัดของอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพผลึกเหลว และ จอภาพผลพลาส ม่าในยุคแรก ๆ สามารถแสดงผลของจุดบนจอได้เฉพาะในสถานะ "เปิดไฟ-ปิดไฟ" เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องความลึกสี ความจุพิกเซล ที่เก็บเนื้อหาที่จะแสดงบนจอแสดงผลนี้ แต่ต่อมาเมื่อสามารถติดตั้งหน่วยความจำได้มากมาย จอแสดงผลแบบเอกรงค์ก็ค่อย ๆ ล้าสมัย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "monochrome". Merriam-Webster Dictionary.
- ↑ "モノクローム". コトバンク. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.