เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน
เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน Херсонская губерния | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย (ค.ศ. 1802–1917) และสาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ค.ศ. 1917–1920) | |||||||||||
ค.ศ. 1802 – ค.ศ. 1920 | |||||||||||
แผนที่ของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนใน ค.ศ. 1913 | |||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• 1914 | 70,600 ตารางกิโลเมตร (27,300 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 1914 | 3744600 | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• การแบ่งเขตผู้ว่าการโนโวรอสซียา | ค.ศ. 1802 | ||||||||||
• ถูกแบ่งแยกออกเป็นเขตผู้ว่าการออแดซาและเขตผู้ว่าการมือกอลายิว | ค.ศ. 1920 | ||||||||||
|
เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน (รัสเซีย: Херсонская губерния, อักษรโรมัน: Khersonskaya guberniya; ยูเครน: Херсонська губернія, อักษรโรมัน: Khersons'ka huberniia) เป็นเขตผู้ว่าการ (guberniya) ของจักรวรรดิรัสเซียที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำนีสเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเขตผู้ว่าการที่ถูกสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1802 เมื่อมีการยุบเขตผู้ว่าการโนโวรอสซียา โดยในตอนนั้นรู้จักกันดีในชื่อ เขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ เมื่อนครนีโคลาเยฟ ถูกแบ่งแยกออกเป็นเขตผู้ว่าการสงครามพิเศษนีโคลาเยฟ ซึ่งทำหน้าทื่เป็นศูนย์กลางของกองเรือทะเลดำ และทำให้ศูนย์กลางของผู้ว่าการถูกย้ายไปที่เฮียร์ซอน (แคร์ซอนในภาษายูเครน)
เศรษฐกิจของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนมีรากฐานมาจากการเกษตรกรรม ในช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต มีคนงานในการเกษตรกรรมหลายพันคนจากพื้นที่ต่าง ๆ ของจักรวรรดิรัสเซียได้เข้ามาทำงานในพื้นที่ของเขตผู้ว่าการ ส่วนเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การโม่แป้ง, การกลั่น, อุตสาหกรรมโลหะ, เหมืองแร่เหล็ก, การแปรรูปน้ำตาลจากผลบีท, และอุตสาหกรรมอิฐ กลับยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1802 เขตผู้ว่าการโนโวรอสซียาถูกแบ่งออกเป็นเขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ เขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ และเขตผู้ว่าการเทาริดา ตามพระราชกฤษฎีกาของวุฒิสภา ส่วนเทศมณฑลเฮียร์ซอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการนีโคลาเยฟ จนกระทั่งในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 ศูนย์กลางและการปกครองของเขตผู้ว่าการถูกโอนถ่ายจากเมืองนีโคลาเยฟให้กับเมืองเฮียร์ซอน และทำให้เขตผู้ว่าการดังกล่าวเริ่มรู้จักกันในชื่อ เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน ตามพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 และพระราชกฤษฎีกาของวุฒิสภา ฉบับที่ 20760 ซึ่งเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1922 หลังจากนั้น พื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการได้กลายเป็นเทศมณฑลนีโคลาเยฟ โดยใน ค.ศ. 1803 จนถึง ค.ศ. 1873 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเป็นส่วนหนึ่งของเขตข้าหลวงโนโวรอสซียา
ดินแดนของเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเข้าข่ายเป็น "เขตนิคมชาวยิว" ที่ซึ่งอาณานิคมการเกษตรของชาวเยอรมันและชาวยิวถูกก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1865 ระบบเซมส์ตโว (zemstvo[a]) ถูกสร้างขึ้น และการประชุมเซมส์ตโวในระดับเขตผู้ว่าการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการประชุมในวันที่ 28 เมษายน จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1865[1] โดยในทุพภิกขภัยรัสเซีย ค.ศ. 1891–1892 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนเป็นหนึ่งใน 17 เขตผู้ว่าการที่ได้รับผลกระทบจากทุพภิกขภัยในครั้งดังกล่าว
โดยก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนยังไม่มีการเปลี่ยนในด้านการปกครองและดินแดนที่สำคัญในเขตผู้ว่าการมากนัก จนกระทั่งในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1920 คณะกรรมการปฏิวัติแห่งยูเครนทั้งปวง มีมติให้มีการแบ่งเขตผู้ว่าการเฮียร์ซอน ออกเป็นเขตผู้ว่าการแคร์ซอนและเขตผู้ว่าการออแดซา โดยมีเมืองนีโคลาเยฟ (มือกอลายิว) ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการแคร์ซอน ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เขตผู้ว่าการแคร์ซอนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเขตผู้ว่าการมือกอลายิว ส่วนเมืองแคร์ซอนก็กลายเป็นเมืองเทศมณฑลภายของเขตผู้ว่าการมือกอลายิว จนกระทั่งใน ค.ศ. 1922 เขตผู้ว่าการออแดซาและมือกอลายิวได้รวมตัวกันเป็นเขตผู้ว่าการออแดซา
โดยใน ค.ศ. 1923 เขตผู้ว่าการออแดซาถูกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต (okrugs) ซึ่งรวมไปถึงเขตแคร์ซอนที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแคร์ซอน
เขตการปกครอง
[แก้]ในตอนต้น เขตผู้ว่าการเฮียร์ซอนถูกแบ่งออกเป็น 4 เทศมณฑล ประกอบด้วย เทศมณฑลอะเลคซันดรียา, เยลีซาเวตกราด, ตีรัสปอล และเฮียร์ซอน และตั้งแต่ ค.ศ. 1806 เขตผู้ว่าการก็มีเทศมณฑล 5 เขต ประกอบด้วย เทศมณฑลอะเลคซันดรียา, เยลีซาเวตกราด, ออลวีโอปอล, ตีรัสปอล และเฮียร์ซอน ใน ค.ศ. 1825 เทศมณฑลโอเดซาถูกก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่ของเทศมณฑลเฮียร์ซอนและตีรัสปอล ใน ค.ศ. 1828 เทศมณฑลออวีโอปอลและเยลีซาเวตกราดถูกยุบลง และเทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกสถาปนาขึ้นบนรากฐานของเทศมณฑลเดิมของทั้งสอง ใน ค.ศ. 1834 เทศมณฑลตีราสปอลถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน และได้มีการสถาปนาเทศมณฑลอนันเยฟขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ. 1865 ศูนย์กลางของเทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกย้ายไปที่เยลีซาเวตกราด และทำให้เทศมณฑลโบบรีเนตส์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เทศมณฑลเยลีซาเวตกราด
เทศมณฑล | เมืองเทศมณฑล | ตราอาร์ม | ประชากร (คน) |
---|---|---|---|
อะเลคซันดรียา | อะเลคซันดรียา | 327,199 | |
อะนันเยฟ | อะนันเยฟ | 187,226 | |
เยลีซาเวตกราด | เยลีซาเวตกราด | 507,660 | |
โอเดซา | โอเดซา | 532,739 | |
ตีรัสปอล | ตีรัสปอล | 206,568 | |
เฮียร์ซอน | เฮียร์ซอน | 532,956 | |
นีโคลาเยฟ | นีโคลาเยฟ | 92,000 |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ อักษรซีริลลิก: земство
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Kherson Guberniya - Article in Brockhaus and Efron Encyclopedic Dictionary (ในภาษารัสเซีย)
- Kherson Guberniya - Historical coat of arms (ในภาษายูเครนและอังกฤษ)
- Kherson gubernia - Article in the Encyclopedia of Ukraine
- From Kherson Governorate to Kherson Oblast. Kherson regional universal science library of Oles Honchar.