เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kōhaku Uta Gassen)
เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง
ตราสัญลักษณ์รายการ (ตั้งแต่ครั้งที่ 72 (2021))
ประเภทเทศกาลดนตรี
การแสดงคอนเสิร์ตทางโทรทัศน์
เสนอโดยดูด้านล่าง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดคังโปอิโนะอูตะ (เมนสไตน์ซอง) (1951–1981, 1995-1987, 1989, 1996, 1997)
อูตะโนะชิการะ (2009–2010)
ดนตรีแก่นเรื่องปิดโฮตารุโนะฮิการิ
ประเทศแหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
จำนวนตอน72 ครั้ง
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำโรงละครโตเกียวทาการาซูกะ (1959–1972)
เอ็นเอชเคฮอลล์ (1973–2020; 2022–)
ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว (2021)
ความยาวตอน210 นาที (รวมข่าวสั้น 5 นาที)
ออกอากาศ
เครือข่ายเอ็นเอชเค จี, เรดิโอ 1, บีเอส 4 เค, บีเอส 8 เค, เวิลด์พรีเมียม, เรดิโอเจแปน
ออกอากาศ3 มกราคม ค.ศ. 1951 (1951-01-03) –
ปัจจุบัน

เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัสเซ็ง (ญี่ปุ่น: NHK紅白歌合戦โรมาจิEnueichikei Kōhaku Uta Gassen; "การประชันเพลงแดงขาว"; อังกฤษ: NHK Red and White Song Battle[1]; ชื่อสั้น: โคฮากุ ญี่ปุ่น: 紅白โรมาจิKōhaku) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ งานขาวแดง เป็นรายการพิเศษประเภทเทศกาลดนตรี ที่ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ในเครือข่ายเอ็นเอชเค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 จนถึงปัจจุบัน[note 1] ซึ่งถือเป็นรายการประจำปีที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในวงการวิทยุและวงการโทรทัศน์ญี่ปุ่น โดยจัดขึ้นทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี และสิ้นสุดก่อนเที่ยงคืนของวันนั้น

ในแต่ละปี รายการจะเชิญนักร้องในวงการเพลงของญี่ปุ่นมาร่วมรายการไว้จำนวนมาก โดยจะแบ่งเป็น 2 ทีม คือทีมสีแดง (ญี่ปุ่น: 紅組โรมาจิAkagumiทับศัพท์: อากากูมิ) แทนทีมนักร้องฝ่ายหญิง และทีมสีขาว (ญี่ปุ่น: 白組โรมาจิShirogumiทับศัพท์: ชิโรกูมิ) แทนทีมนักร้องฝ่ายชาย โดยจะต้องแข่งขันร้องเพลงของตน และเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง จะมีการลงคะแนนตัดสินว่าทีมสีใดทำโชว์ได้ดีที่สุด โดยตัดสินมาจากคณะกรรมการที่เชิญมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ และผู้ชมในการแสดงที่ติดต่อขอรับบัตรจากการลงทะเบียนของเอ็นเอชเค (ภายหลังได้เพิ่มการโหวตจากผู้ชมทางบ้านผ่านหน้าจอโทรทัศน์, ระบบ 1-Seg และผ่านแอพพลิเคชันที่จัดทำไว้โดยเฉพาะ) ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะเป็นทีมที่ชนะ แต่ถึงไม่ว่าทีมสีใดจะเป็นทีมที่ชนะในแต่ละปี การเข้าร่วมรายการนี้ถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดของตัวนักร้องเอง

ในทุกๆ ปี รายการมักจะมีผู้ชมทั่วญี่ปุ่น ตลอดจนสื่อฝั่งตรงข้ามให้ความสนใจกับรายการนี้ โดยระดับผู้ชม (เรตติง) สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 81.4 (ครั้งที่ 14) และยังเป็นอันดับหนึ่งของรายการโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมา รายการนี้จึงถือเป็นธรรมเนียมในวันสิ้นปีของชาวญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 2021 มีรายงานว่าจะย้ายการจัดรายการที่ ฮอลล์เอ ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว เนื่องจากการปิดปรับปรุงของเอ็นเอชเคฮอลล์[2] ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 49 ปีที่ย้ายสถานที่การจัดรายการภายหลังเอ็นเอชเคฮอลล์เปิดทำการเมื่อปี ค.ศ. 1972 และได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานตั้งแต่ครั้งที่ 23 เป็นต้นมา

ผลการแข่งขัน[แก้]

ครั้งที่ วันที่ หัวหน้าทีมสีแดง หัวหน้าทีมสีขาว พิธีกรหลัก ทีมที่ชนะ สถิติ
ยุคโชวะ
1 3 มกราคม 1951 มิชิโกะ คาโต ชูอิจิ ฟูจิกูระ มาซาฮารุ ทานาเบะ สีขาว 1-0
2 3 มกราคม 1952 คิโยโกะ ทังเกะ ชูอิจิ ฟูจิกูระ มาซาฮารุ ทานาเบะ สีขาว 2-0
3 2 มกราคม 1953 ซูกะ ฮอนดะ เทรุ มิยาตะ มาซาโยริ ชิมูระ สีขาว 3-0
4 31 ธันวาคม 1953 ทากิโกะ มิซูโนเอะ เกโซะ ทากาฮาชิ เซโกโระ คิตาเดะ สีแดง 3-1
5 31 ธันวาคม 1954 นัตสึเอะ ฟูกูจิ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 3-2
6 31 ธันวาคม 1955 เทรุ มิยาตะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 3-3
7 31 ธันวาคม 1956 เทรุ มิยาตะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 4-3
8 31 ธันวาคม 1957 ทากิโกะ มิซูโนเอะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-4
9 31 ธันวาคม 1958 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-5
10 31 ธันวาคม 1959 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-6
11 31 ธันวาคม 1960 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 5-6
12 31 ธันวาคม 1961 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โทชิอากิ โฮซากะ สีขาว 6-6
13 31 ธันวาคม 1962 มิตสึโกะ โมริ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 7-6
14 31 ธันวาคม 1963 เอริ ชิเอมิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 7-7
15 31 ธันวาคม 1964 เอริ ชิเอมิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 8-7
16 31 ธันวาคม 1965 มิจิโกะ ฮายาชิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 9-7
17 31 ธันวาคม 1966 เพกกี้ ฮายามะ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 9-8
18 31 ธันวาคม 1967 ยูมิโกะ โคโกโนเอะ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 9-9
19 31 ธันวาคม 1968 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ คิว ซากาโมโตะ เทรุ มิยาตะ สีขาว 10-9
20 31 ธันวาคม 1969 ยูการิ อิโต คิว ซากาโมโตะ เทรุ มิยาตะ สีแดง 10-10
21 31 ธันวาคม 1970 ฮิบาริ มิโซระ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 10-11
22 31 ธันวาคม 1971 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีขาว 11-11
23 31 ธันวาคม 1972 นาโอมิ ซาการะ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 11-12
24 31 ธันวาคม 1973 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 11-13
25 31 ธันวาคม 1974 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ มาซาโอะ โดมอน และ โยโซ นากาเอะ สีแดง 11-14
26 31 ธันวาคม 1975 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 12-14
27 31 ธันวาคม 1976 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีแดง 12-15
28 31 ธันวาคม 1977 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 13-15
29 31 ธันวาคม 1978 มิตสึโกะ โมริ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 14-15
30 31 ธันวาคม 1979 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ ชิซูโอะ ยามากาวะ โยโซ นากาเอะ สีแดง 14-16
31 31 ธันวาคม 1980 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ โยโซ นากาเอะ สีแดง 14-17
32 31 ธันวาคม 1981 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ เคอิจิ อูบูกาตะ สีขาว 15-17
33 31 ธันวาคม 1982 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ เคอิจิ อูบูกาตะ สีแดง 15-18
34 31 ธันวาคม 1983 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ เคนจิ ซูซูกิ ทาโมริ สีขาว 16-18
35 31 ธันวาคม 1984 มิตสึโกะ โมริ เคนจิ ซูซูกิ เคอิจิ อูบูกาตะ สีแดง 16-19
36 31 ธันวาคม 1985 มาซาโกะ โมริ เคนจิ ซูซูกิ มาซาโฮะ เซ็นดะ สีแดง 16-20
37 31 ธันวาคม 1986 ยูกิ ไซโต และ ยูริโกะ เมกาตะ โยโซ คายามะ และ มาซาโอะ เซ็นดะ เซอิจิ โยชิกาวะ สีขาว 17-20
38 31 ธันวาคม 1987 อากิโกะ วาดะ โยโซ คายามะ เซอิจิ โยชิกาวะ สีแดง 17-21
39 31 ธันวาคม 1988 อากิโกะ วาดะ โยโซ คายามะ เคโกะ ซูกิอูระ สีขาว 18-21
ยุคเฮเซ
40 31 ธันวาคม 1989 โยชิโกะ มิตะ เทตสึยะ ทาเกดะ ซาดาโตโมะ มัตสึไดระ สีแดง 18-22
41 31 ธันวาคม 1990 โยชิโกะ มิตะ โทชิยูกิ นิชิดะ ซาดาโตโมะ มัตสึไดระ สีขาว 19-22
42 31 ธันวาคม 1991 ยูโกะ อาซาโนะ มาซากิ ซาไก ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 19-23
43 31 ธันวาคม 1992 ฮิการิ อิชิดะ มาซากิ ซาไก ชิซูโอะ ยามากาวะ สีขาว 20-23
44 31 ธันวาคม 1993 ฮิการิ อิชิดะ มาซากิ ซาไก มิยูกิ โมริตะ สีขาว 21-23
45 31 ธันวาคม 1994 เอมิโกะ คามินูมะ อิจิโร ฟูรูตาจิ ยาซาโอะ มิยากาวะ สีแดง 21-24
46 31 ธันวาคม 1995 เอมิโกะ คามินูมะ อิจิโร ฟูรูตาจิ รีวจิ มิยาโมโตะ และ มิตสึโยะ คูซาโนะ สีขาว 22-24
47 31 ธันวาคม 1996 ทากาโกะ มัตสึ อิจิโร ฟูรูตาจิ รีวจิ มิยาโมโตะ และ มิตสึโยะ คูซาโนะ สีขาว 23-24
48 31 ธันวาคม 1997 อากิโกะ วาดะ มาซาฮิโระ นาไก รีวจิ มิยาโมโตะ สีขาว 24-24
49 31 ธันวาคม 1998 จุนโกะ คูโบะ มาซาฮิโระ นาไก รีวจิ มิยาโมโตะ สีแดง 24-25
50 31 ธันวาคม 1999 จุนโกะ คูโบะ นากามูระ คันกูโร (ที่สิบแปด) รีวจิ มิยาโมโตะ สีขาว 25-25
51 31 ธันวาคม 2000 จุนโกะ คูโบะ โมโตยะ อิซูมิ รีวจิ มิยาโมโตะ สีแดง 25-26
52 31 ธันวาคม 2001 ยูมิโกะ อูโด วาตารุ อาเบะ ทามิโอะ มิยาเกะ สีขาว 26-26
53 31 ธันวาคม 2002 ยูมิโกะ อูโด วาตารุ อาเบะ ทามิโอะ มิยาเกะ สีแดง 26-27
54 31 ธันวาคม 2003 ยูมิโกะ อูโด และ ทากาโกะ เซ็นบะ วาตารุ อาเบะ และ เทตสึยะ ทากายามะ โทโกะ ทาเกอูจิ สีขาว 27-27
55 31 ธันวาคม 2004 ฟูมิเอะ โอโนะ วาตารุ อาเบะ มาซาอากิ โฮริโอะ สีแดง 27-28
56 31 ธันวาคม 2005 ยูกิเอะ นากามะ โคจิ ยามาโมโตะ มิโนะ มอนตะ และ โมโตโยะ ยามาเนะ สีขาว 28-28
57 31 ธันวาคม 2006 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก ทามิโอะ มิยาเกะ และ เมกูมิ คูโรซากิ สีขาว 29-28
58 31 ธันวาคม 2007 มาซาฮิโระ นาไก โชฟูกูเต สึรูเบะ (ที่สอง) คาซูยะ มัตสึโมโตะ และ มิกิ ซูมิโยชิ สีขาว 30-28
59 31 ธันวาคม 2008 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก คาซูยะ มัตสึโมโตะ สีขาว 31-28
60 31 ธันวาคม 2009 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก วาตารุ อาเบะ สีขาว 32-28
61 31 ธันวาคม 2010 นาโอะ มัตสึชิตะ อาราชิ วาตารุ อาเบะ สีขาว 33-28
62 31 ธันวาคม 2011 มาโอะ อิโนอูเอะ อาราชิ วาตารุ อาเบะ สีแดง 33-29
63 31 ธันวาคม 2012 มากิ ฮิโรกิตะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 34-29
64 31 ธันวาคม 2013 ฮารูกะ อายาเซะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 35-29
65 31 ธันวาคม 2014 ยูริโกะ โยชิตากะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 36-29
66 31 ธันวาคม 2015 ฮารูกะ อายาเซะ โยชิฮิโกะ อิโนฮาระ เทตสึโกะ คูโระยานากิ สีแดง 36-30
67 31 ธันวาคม 2016 คาซูมิ อาริมูระ มาซากิ ไอบะ ชินอิจิ ทาเกดะ สีแดง 36-31
68 31 ธันวาคม 2017 คาซูมิ อาริมูระ คาซูนาริ นิโนมิยะ เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีขาว 37-31
69 31 ธันวาคม 2018 ซูซุ ฮิโรเซะ โช ซากูไร เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีขาว 38-31
ยุคเรวะ
70 31 ธันวาคม 2019 ฮารูกะ อายาเซะ โช ซากูไร เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มายูโกะ วากูดะ สีขาว 39-31
71 31 ธันวาคม 2020 ฟูมิ นิไกโด โย โออิซูมิ เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีแดง 39-32
72 31 ธันวาคม 2021
โย โออิซูมิ, ฮารูนะ คาวากูจิ และมายูโกะ วากูดะ[note 2]
สีแดง 39-33
73 31 ธันวาคม 2022
โย โออิซูมิ, คันนะ ฮาชิโมโตะ, โช ซากูไร และมาโฮะ คูวาโกะ[3]
สีขาว 40-33
74 31 ธันวาคม 2023
คันนะ ฮาชิโมโตะ, ฮิโรอิกิ อาริโยชิ, มินามิ ฮามาเบะ และโกโซ ทากาเซะ
สีแดง 40-34

เชิงอรรถ[แก้]

  1. การออกอากาศทางโทรทัศน์เริ่มตั้งแต่ครั้งที่ 4 เมื่อปี ค.ศ. 1953
  2. ยกเลิกหัวหน้าทีมและรวมเป็นตำแหน่งผู้ดำเนินรายการ

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Alyssa I. (November 16, 2017). "Twice and Daichi Miura among 10 debuts at this year's 'Kohaku'". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  2. "NHK紅白歌合戦、2年ぶり有観客開催 会場は東京国際フォーラム". อาซาฮิชิมบุง. 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  3. "『第73回NHK紅白歌合戦』司会に大泉洋&橋本環奈&櫻井翔&桑子真帆アナ 今年のテーマも発表【司会コメントあり】". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2022. สืบค้นเมื่อ October 10, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]