ชาตียสังสัทภพัน

พิกัด: 23°45′44″N 90°22′43″E / 23.76222°N 90.37861°E / 23.76222; 90.37861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jatiyo Sangshad Bhaban)
ชาตียสังสัทภพัน
জাতীয় সংসদ ভবন
ชาตียสังสัทภพัน
ชาตียสังสัทภพันตั้งอยู่ในธากา
ชาตียสังสัทภพัน
ข้อมูลทั่วไป
สถานะใช้งานอยู่
สถาปัตยกรรมมอเดิร์น, บรูทัลลิสต์
ที่อยู่เชเรบังลานอกอร์ ธากา ประเทศบังกลาเทศ
เมืองธากา
ประเทศ บังกลาเทศ
พิกัด23°45′44″N 90°22′43″E / 23.76222°N 90.37861°E / 23.76222; 90.37861
เริ่มสร้าง1961
เปิดใช้งาน1982
ค่าก่อสร้างUS$32 million[1]
เจ้าของรัฐบาลบังกลาเทศ (1982-ปัจจุบัน)
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่แต่ละชั้น200 เอเคอร์ (810,000 m2)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหลุยส์ คาห์น
มุจารุล อิสลาม
อาลัม เซเยด ซาฮูร์
ข้อมูลอื่น
ความจุ350

ชาตียสังสัทภพัน (เบงกอล: জাতীয় সংসদ ভবন) หรือ อาคารรัฐสภาแห่งชาติ (อังกฤษ: National Parliament House) เป็นที่ทำการของรัฐสภาบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในเขตเชเรบังลานอกอร์ ธากา ประเทศบังกลาเทศ สร้างขึ้นใช้งานมาตั้งแต่สมัยบังกลาเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน ผลงานออกแบบโดยหลุยส์ คาห์น ชาตียสังสัทภพันเป็นหนึ่งในกลุ่มอาคารนิติบัญญัติที่กินพื้นที่มากที่สุดในโลก ด้วยขนาดพื้นที่ 200 เอเคอร์ (810,000 m2)[1]

อาคารปรากฏตัวในภาพยนตร์ปี 2003 เรื่อง My Architect ซึ่งเล่าเรื่องชีวิตของหลุยส์ คาห์น รอเบิร์ต แม็กคาร์เตอร์ (Robert McCarter) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Louis I. Kahn บรรยายถึงอาคารหลังนี้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21[2]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ที่ทำการของรัฐสภาแห่งเดิมคือ สังสัทภพันเก่า (Old Sangsad Bhaban) ที่ซึ่งปัจจุบันใช้งานเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี[3] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อตุลาคม 1964 ในสมัยที่บังกลาเทศยังคงเป็นปากีสถานตะวันออกอยู่ สร้างขึ้นภายใต้คำสั่งของจอมพล อายุบ ข่าน จากอิสลามาบาด เมืองหลวงของปากีสถานตะวันตก อายุบเชื่อว่าการก่อสร้างอาคารนิติบัญญัติที่มลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จะทำให้ชาวเบงกอลสงบลงได้[4]

ชาตียสังสัทภพันออกแบบขึ้นโดยหลุยส์ คาห์น ภายใต้คำแนะนำของสถาปนิกมุจารุล อิสลาม ซึ่งเสนอให้รัฐบาลว่าจ้างสถาปนิกระดับโลกมาออกแบบ แรกเริ่ม เขาตั้งใจจะติดต่อให้อัลวาร์ อาลโต และเลอกอร์บูซีเย มาเป็นผู้ออกแบบ แต่ทั้งสองล้วนไม่สะดวกในเวลานั้น ก่อนที่จะมาตกลงงานให้กับหลุยส์ คาห์น ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ของเขาที่เยล[4]

การก่อสร้างดำเนินเรื่อยมาถึงปี 1971 ที่ซึ่งการก่อสร้างชะงักไปชั่วคราวจากสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ ก่อนจะกลับมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จในวันที่ 28 มกราคม 1982 หลุยส์ คาห์น เสียชีวิตขณะที่โครงการก่อสร้างไปได้ราวสามในสี่ เดวิด วิสดอม (David Wisdom) ซึ่งทำงานให้แก่หลุยส์ คาห์น เป็นผู้รับช่วงต่อจนอาคารแล้วเสร็จ[4]

สถาปัตยกรรม[แก้]

คาห์นออกแบบหมู่อาคารทั้งหมดของชาตียสังสัทภพัน ซึ่งรวมถึงสนามหญ้า บ่อน้ำ และที่พำนักสำหรับสมาชิกรัฐสภา แนวคิดการออกแบบหลักคือการนำเสนอวัฒนธรรมและมรดกของชาวเบงกอล ในขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า อาคารหลักซึ่งอยู่ใจกลางของหมู่อาคารทั้งหมดแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ลานกลาง ลานทิศใต้ และลานประธานาธิบดี สระน้ำที่ล้อมรอบสามด้านของอาคารหลักเป็นภาพแทนถึงสายน้ำที่งดงามของเบงกอล[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Jatiya Sangsad Bhaban". banglapedia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  2. McCarter, Robert (2005). Louis I. Kahn. London: Phaidon Press. p. 258,270. ISBN 0-7148-4045-9.
  3. "History and Building". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Jatiyo Sangsad Bhaban (National Parliament House), Bangladesh". londoni.co. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  5. "The Grand Architecture of Jatiyo Sangsad Bhaban – Bangladesh Blog – By Bangladesh Channel". bangladesh.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2012. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.

บรรณานุกรม[แก้]

  • McCarter, Robert [2004]. Louis I. Kahn. Phaidon Press Ltd, p. 512. ISBN 0-7148-4045-9.
  • Wiseman, Carter [2007]. Louis I. Kahn: Beyond Time and Style: A Life in Architecture, New York: W.W. Norton. ISBN 0-393-73165-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]