รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Imperial State)
รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ

รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (เยอรมัน: Reichsstand หรือ Reichsstände; อังกฤษ: Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[1]ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง

องค์ประกอบ[แก้]

รัฐในจักรวรรดิอาจจะเป็นได้ทั้งรัฐฆราวาส (ซึ่งเรียกว่าราชรัฐ) หรือรัฐคริสตจักร รัฐคริสตจักรของจักรวรรดิส่วนใหญ่มีประมุขเป็นเจ้าชายบิชอป อาร์ชบิชอป บิชอป และอธิการอาราม (Abbot) ส่วนรัฐฆราวาสปกครองโดย เจ้าชาย แกรนด์ดยุก ดยุก เคานท์แพลาทิน มากราฟ และเคานท์ หรือแลนด์กราฟ ประมุขเหล่านี้มีส่วนร่วมในการออกเสียงเลือกตั้งพระมหากษัตริ์เยอรมันเป็นเจ้าชายผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ประมุขทั้งหมดมีตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ยกเว้นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย นอกจากกลุ่มนี้แล้วก็ยังมีจักรวรรดินครอิสระที่มีสิทธิออกเสียง แต่เสียงที่ออกเป็นเพียงเสียงเสนอเท่านั้น

การมอบฐานะให้เป็นรัฐของจักรวรรดิมักจะเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นดินแดนในจักรวรรดิ ซึ่งเดิมสมเด็จพระจักรพรรดิเท่านั้นที่ทรงมีสิทธิในการมอบฐานะเช่นที่ว่า แต่ในปี ค.ศ. 1653 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อจำกัดสิทธิของสมเด็จพระจักรพรรดิลงบ้าง การก่อตั้งรัฐใหม่ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาผู้เลือกตั้ง ประมุขผู้ได้รับเลือกต้องยอมรับการเสียภาษีให้แก่หลวง และการส่งกองทหารเมื่อได้รับการเรียกร้องจากจักรวรรดิ นอกจากนั้นก็ยังต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกในหนึ่งในเครือราชรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. Holy Roman Empire[1]

ดูเพิ่ม[แก้]