กรดอินโดล-3-แอซีติก
กรดอินโดล-3-แอซีติก | |
---|---|
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | 2-(1H-indol-3-yl)acetic acid |
ชื่ออื่น | Indole-3-acetic acid, indolylacetic acid, indoleacetic acid, heteroauxin, IAA |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [87-51-4][CAS] |
PubChem | |
SMILES | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C10H9NO2 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 175.184 |
ลักษณะทางกายภาพ | white solid |
จุดหลอมเหลว |
168-170 °C (441-443 K) |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | moderate |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
กรดอินโดล-3-แอซีติก (อังกฤษ: Indole-3-acetic acid: IAA) เป็นฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน เป็นของแข็ง ไม่มีสี และเป็นออกซินธรรมชาติที่สำคัญมาก เป็นอนุพันธ์ของ indoleที่มีหมู่ carboxymethyl group (หรือกรดน้ำส้ม)
การสังเคราะห์[แก้]
IAA สร้างจากเซลล์ที่ปลายยอดหรือตา และใบอ่อนของพืช โดยสังเคราะห์มาจาก tryptophan เป็นหลักแต่สร้างจากวิถีที่ไม่ใช้ tryptophan ได้เช่นกัน ในทางเคมี สังเคราะห์ IAA ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง indole กับ glycolic acid ที่อุณหภูมิ 250 °C:[1]
การออกฤทธิ์ทางชีวภาพและสารที่เกี่ยวข้อง[แก้]
IAA มีผลกระทบต่อพืชที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับฮอร์โมนพืชกลุ่มออกซิน เช่นกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์และการแบ่งเซลล์และการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและการพัฒนา ไอเอเอยังสามารถควบคุมการซึมผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์ ได้มีการสังเคราะห์สารคล้าย IAA ที่ราคาถูกกว่าและเสถียรภาพมากกว่าเพื่อใช้ในการเกษตร เช่น IBA NAA
การศึกษาผลของ IAA ในปี 1940 นำไปสู่การพัฒนาสารเคมีกำจัดวัชพืช 2,4-D และ 2,4,5-T ซึ่งมีความคงตัวในสิ่งแวดล้อมมากกว่า IAA แต่เมื่อฉีดพ่นบนใบพืชใบเลี้ยงคู่จะเหนี่ยวนำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ตายในที่สุด จึงนำมาใช้งานเป็นสารกำจัดวัชพืชในด้านการเกษตรตั้งแต่ ค.ศ.1950
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Herbert E. Johnson and Donald G. Crosby. Indole-3-acetic Acid. 5, 654,1973 CV5P0654
