ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Golden Jubilee of Queen Victoria)
พระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2430 (พ.ศ. 2430 - 2433) โดยวิลเลียม อีวาร์ต ล็อกฮาร์ต
Two sides of a coin, with head view of Victoria on one side and a design on the other
เหรียญเงินพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฯ มูลค่าสองฟลอริน (0.2 ปอนด์สเตอร์ลิง) พ.ศ. 2430

พระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (อังกฤษ: Golden Jubilee of Queen Victoria) จัดขึ้นในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2430 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียครองสิริราชสมบัติครบปีที่ 50 ซึ่งได้มีการทูลเชิญพระมหากษัตริย์และเจ้าชายจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจำนวน 50 พระองค์ เสด็จ ฯ มาร่วมเฉลิมฉลองในครั้งนี้ด้วย[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2430 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสวยพระกระยาหารเช้าใต้ต้นไม้ ณ สวนฟร็อกมอร์ อันเป็นที่ฝังพระศพของเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟพระที่นั่งจากพระราชวังวินด์เซอร์สู่เขตแพดดิงตันในกรุงลอนดอน จากนั้นจึงเสด็จ ฯ ต่อไปยังพระราชวังบักกิงแฮม เพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในช่วงเย็น ที่ซึ่งพระมหากษัตริย์และเจ้าชายจากประเทศในยุโรปกว่า 50 พระองค์ เสด็จ ฯ มาร่วมในงานเลี้ยงครั้งนี้ เช่นเดียวกับบรรดาผู้ปกครองดินแดนและอาณานิคมต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักร ทรงบันทึกไว้ในบันทึกประจำวันส่วนพระองค์ว่า :[2]

เสวยกระยาหารค่ำครั้งใหญ่ร่วมกับพระราชวงศ์ พระราชวงศ์เสด็จ ฯ มาถึงห้องโบว์ก่อน จากนั้นเราจึงร่วมเสวยกระยาหารที่ห้องซุปเปอร์ด้วยกัน ห้องนั้นแลดูโอ่โถงและวิเศษไปด้วยบุฟเฟต์บนจานทองคำ โต๊ะเสวยเป็นรูปเกือกม้าขนาดใหญ่ที่ประดับประดาไปด้วยเชิงเทียนมากมาย พระราชาธิบดีเดนมาร์กทรงนำข้าพเจ้าเข้าสู่ห้องเสวยและนั่งประทับข้างข้าพเจ้า ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นที่นั่งประทับของวิลลีแห่งกรีซ เจ้าชายแต่ละพระองค์ล้วนแต่ฉลองพระองค์กันอย่างเต็มอิสริยยศ เช่นเดียวกับบรรดาเจ้าหญิงที่ล้วนฉลองพระองค์กันอย่างงดงาม จากนั้นเราทั้งหมดจึงย้ายไปยังห้องเต้นรำ ที่ซึงวงดนตรีของข้าพเจ้าทำการบรรเลงเพลง

ในวันถัดมา ทรงเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถม้าพระที่นั่งแบบเปิดประทุนผ่านใจกลางกรุงลอนดอนสู่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ นำโดยกองทหารม้าอาณานิคมอินเดีย จากนั้นเสด็จ ฯ กลับสู่พระราชวังบักกิงแฮมและเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระบัญชร ที่ซึ่งฝูงชนเปล่งเสียงร้องด้วยความปีติยินดี ต่อมาเสด็จ ฯ มายังห้องเต้นรำภายในพระราชวัง ทรงแจกจ่ายเข็มกลัดที่ระลึกในงานพระราชพิธี พระราชทานแก่พระญาติและพระราชวงศ์ของพระองค์ ในช่วงเย็น ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดคลุมยาวประดับด้วยดอกกุหลาบเงิน ดอกทริสเติล และดอกแชมรอค เข้าร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ จากนั้นจึงทรงต้อนรับคณะทูตานุทูตและเช้าชายอินเดีย ก่อนจะเสด็จ ฯ ไปประทับบนเก้าอี้ในสวนของพระราชวังและทอดพระเนตรชมการแสดงพลุดอกไม้ไฟ[2]

ในช่วงพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงรับสั่งให้ติดตามรับใช้โดยชาวมุสลิมอินเดียทั้งสอง หนึ่งในนั้นคืออับดุล คาริม ผู้ซึ่งถูกเลื่อนขั้นให้เป็น มุนชี (เลขานุการ) ประจำพระองค์ในเวลาต่อมา ทั้งยังเป็นเสมียนและผู้ถวายความรู้ด้านภาษาอูรดูแก่พระองค์อีกด้วย[3] พระราชวงศ์และผู้ติดตามคนอื่น ๆ ของพระองค์ต่างรู้สึกประหลาดใจ และกล่าวหาว่าอับดุล คาริม ว่าเป็นสายลับของกลุ่มชาตินิยมมุสลิม รวมถึงสร้างอคติทางลบเกี่ยวกับศาสนาฮินดูให้แก่พระองค์[4] เฟรเดอริค พอนซอนบีย์ (บุตรชายของเซอร์เฮนรี) พบว่าอับดุล คาริม กล่าวเท็จเกี่ยวกับประวัติภูมิหลังของตน เขาจึงรายงานเรื่องนี้แก่ลอร์ดเอลกิน อุปราชแห่งอินเดีย ว่า "มุนชีมีสถานะเฉกเช่นเดียวกับอดีตข้าราชบริพาร จอห์น บราวน์"[5] แม้กระนั้นก็ตาม สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเพิกเฉยต่อเสียงพร่ำบ่นและอคติทางเชื้อชาติ[6] ส่งผลให้อับดุล คาริม ยังคงเป็นข้าราชบริพารคนสนิทของพระองค์จนกระทั่งเสด็จสวรรคตและเดินทางกลับสู่อินเดียพร้อมด้วยเงินบำนาญ[7]

เกร็ดสาระ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Victoria Marked Golden Jubilee With Fireworks". Oxford Review. June 1, 2002. สืบค้นเมื่อ 2011-01-24. After 50 years as ruler of the British Umpire, Queen Victoria celebrated her Golden Jubilee by inviting 50 foreign kings and ...
  2. 2.0 2.1 "History of Jubilees: Queen Victoria". British Royal Household. สืบค้นเมื่อ 2011-01-24. The longest-reigning British monarch, Queen Victoria celebrated Golden and Diamond Jubilees marking 50 and 60 years of her reign. Queen Victoria's Golden Jubilee was celebrated on 20 and 21 June 1887. On 20 June the day began quietly with breakfast under the trees at Frogmore, the resting place of her beloved late husband, Prince Albert. ...
  3. Hibbert, pp. 447–448; St Aubyn, p. 502; Waller, p. 441
  4. Hibbert, pp. 448–449
  5. Hibbert, pp. 449–451
  6. Hibbert, p. 447; St Aubyn, p. 503; Waller, p. 442
  7. Hibbert, p. 454
  8. 8.0 8.1 "Francis John Williamson". 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-03. สืบค้นเมื่อ 29 August 2013.
  9. "F.J. [Francis John] Williamson". The Elmbridge Hundred. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.
  10. 10.0 10.1 "Francis John Williamson (1833-1920)". The Victorian Web. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.

บรรณานุกรม

[แก้]