ข้ามไปเนื้อหา

เดวิด แอตเทนบะระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก David Attenborough)
เดวิด แอตเทนบะระ
(David Attenborough)
เดวิด แอตเทนบะระ, พฤษภาคม ค.ศ. 2003
เกิด (1926-05-08) 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 (98 ปี)
Isleworth,Middlesex,England
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพพิธีกรรายการโทรทัศน์
นักธรรมชาติวิทยา
ยุคสมัย1951–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสารคดีชุด ““Life”
ตำแหน่งพิธีกรรายการโทรทัศน์
นักธรรมชาติวิทยา

เซอร์เดวิด เฟรเดอริก แอตเทนบะระ (อังกฤษ: David Attenborough หรือ David Frederick Attenborough, OM, CH, CVO, CBE, FRS, FZS; เกิด: 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 - ปัจจุบัน) พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียง แอตเทนบะระเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางด้านธรรมชาติวิทยามาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี งานสำคัญคือการเขียนและการเสนอโปรแกรมชุด ““Life”” เก้าตอนร่วมกับแผนกธรรมชาติวิทยาของบีบีซี ซึ่งเป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลการสำรวจสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก

แอตเทนบะระ มีความสนใจในชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และวิวัฒนาการ จึงได้สร้างภาพยตร์สารคดีของตัวเองขึ้นมาและได้ออกเผยแพร่หนึ่งชุด ซึ่งสารคดีชุดนั้นยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ในเวลาอีกหนึ่งปีต่อมากลายเป็นผู้ค้นพบรหัสทางพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์[1]

แอตเทนบะระ จบการศึกษาด้านธรรมชาติวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นทหารเรือ ในกองทัพเรือ โดยประจำการที่ตอนเหนือของแคว้นเวลส์เป็นเวลานาน 2 ปี จากนั้นจึงเข้าทำงานที่สำนักพิมพ์หนังสือเด็ก จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 ได้เข้าสมัครเข้าทำงานที่บีบีซี โดยใบสมัครของเขาได้ถูกเมินในทีแรก แต่ต่อมาได้ถูกหยิบมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในเรื่องนี้แอตเทนบะระเปิดเผยว่า หากไม่ได้ทำงานที่นี่ คงจะตัดสินใจไปเป็นครู ในเบื้องต้นเขาทำงานอยู่เบื้องหลัง เนื่องจากถูกมองว่าไม่เหมาะที่จะเป็นพิธีกรเนื่องจากฟันหน้าของเขาที่ใหญ่และไม่สมส่วน แต่ได้ทำหน้าที่พิธีกรครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 ในรายการ "Zoo Quest" แทนพิธีกรตัวจริงที่ป่วยกระทันหัน[2]

เดวิด แอตเทนบะระ เป็นพิธีกรที่ดำเนินรายการด้วยตนเอง ด้วยการเดินทางไปถ่ายทำถึงในสถานที่จริงและได้เผชิญหน้ากับสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เช่น ว่ายน้ำคู่กับโลมากลางมหาสมุทร, วิ่งไล่จับมังกรโคโมโด, เป็นฝ่ายเปิดฉากพูดคุยทำความรู้จักกับชนเผ่ามนุษย์กินคนในปาปัวนิวกินี หรือนั่งเรือพายเข้าไปในถ้ำที่มืดมิดเพื่อตามหาค้างคาวชนิดที่หายากของโลก เป็นต้น

ทั้งนี้แอตเทนบะระยังเป็นน้องชายของผู้กำกับ, ผู้สร้าง และนักแสดงภาพยนตร์ ริชาร์ด แอตเทนบะระ ผู้ล่วงลับ[1]

ผลงานของ เดวิด แอตเทนบะระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หน้า 7 จุดประกาย, เปิดม่านผ่านกาลเวลา 60 ปี กับชีวิตนักสร้างสรรค์ เดวิด แอทเทนโบโรว์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10163: วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
  2. หน้า 7 จุดประกาย, เส้นทางสู่ 'นักสร้างสารคดี' . กรุงเทพธุรกิจ: วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]