อังกาบหนู
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อังกาบหนู | |
---|---|
Barleria pronitis ในไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Acanthaceae |
สกุล: | Barleria |
สปีชีส์: | B. prionitis |
ชื่อทวินาม | |
Barleria prionitis L. |
อังกาบหนู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barleria prionitis)[1] เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) ที่เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย เป็นพืชสมุนไพรในตำรับยาอายุรเวท น้ำคั้นจากใบใช้ป้องกันเท้าเปื่อยและแตกในฤดูมรสุม [2] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้ใบบดแล้วพอกบริเวณที่อักเสบ[3]
อังกาบหนูมักเป็นอาศัยของหนอนของ en:Phalanta phalantha และ en:Junonia lemonias ในใบมี en:6-Hydroxyflavone ซึ่งเป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขันของcytochrome P450 2C9[4]
1. ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)
2. รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)
3. ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)
4. ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)
5. ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
6. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)
7. ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)
8. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)
9. ใช้แก้พิษงู (ใบ)
10.ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)
11.รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)
12.รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)
13.ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)
14. ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)
15. มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)
16. สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Various Indian names in Pharmacographia Indica. A history of the principal drugs of vegetable origin met with in British India, Willliam Dymock, C. J. H. Warden & David Hooper, 1893.
- ↑ Pharmacographia Indica. A history of the principal drugs of vegetable origin met with in British India, Willliam Dymock, C. J. H. Warden & David Hooper, 1893.
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
- ↑ Medicinal plants. Chemistry and properties, Dr. M. Daniel, 2005.
รวมภาพ
[แก้]-
Barleria prionitis ในไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
-
Barleria prionitis ในไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
-
Barleria prionitis ในไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
-
Barleria prionitis ในไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Barleria pronitis on the ITIS website